คลังเก็บหมวดหมู่: ความรู้สำหรับนักศึกษา

ความรู้สำหรับนักศึกษา

ต้องรักษาอย่างไร หากลูกมีภาวะลิ้นติด

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?การที่ลูกมีภาวะลิ้นติด ส่วนใหญ่มักแบ่งความรุนแรงของภาวะลิ้นติดเป็นภาวะลิ้นติดเล็กน้อย ภาวะลิ้นติดปานกลาง และภาวะลิ้นติดรุนแรงตามระยะที่เว้นไม่มีพังผืดและการจำกัดการเคลื่อนไหวของลิ้น ภาวะลิ้นติดเล็กน้อยส่วนใหญ่มักไม่เป็นปัญหา ทารกยังสามารถดูดนมได้ การช่วยจัดท่าให้ทารกอมหัวนมและลานนมได้ลึก ทารกจะกินนมจากเต้านมมารดาได้ สำหรับทารกที่มีภาวะลิ้นติดปานกลางและรุนแรงจะมีโอกาสที่จะทำให้การเข้าเต้าไม่เหมาะสมและมารดาเจ็บหัวนมขณะทารกดูดนม แม้ว่าจะพยายามปรับการจัดท่าให้นมลูกแล้ว ซึ่งหากช่วยปรับท่าแล้วมารดายังมีอาการเจ็บหัวนมหรือทารกยังเข้าได้ไม่เหมาะสม การผ่าตัดรักษาก็เป็นทางเลือกที่เหมาะสมและช่วยให้มารดาไม่ทุกข์ทรมานจากอาการเจ็บหัวนมและทารกดูดนมจากเต้าได้ดีขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Paritakul P, Suksamarnwong M, Srisuwan S, Ketsuwan S. Nipple Pain Incidence, the Predisposing Factors, the Recovery Period After Care Management, and the Exclusive Breastfeeding Outcome. Breastfeed Med 2017;12:169-73.
  2. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.

หากลูกมีภาวะลิ้นติดจะเป็นอะไรไหม

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? หากตรวจพบว่าทารกแรกเกิดมีภาวะลิ้นติดอาจทำให้ทารกมีการจำกัดในการเคลื่อนไหวของลิ้น ซึ่งหากทำให้ทารกไม่สามารถแลบลิ้นออกไปวางอยู่ใต้ลานนม จะทำให้กลไกที่จะช่วยให้เกิดการระบายน้ำนมจากท่อน้ำนมที่อยู่ใต้ลานนมไม่สามารถเกิดได้ ทารกจึงต้องออกแรงในการดูดนมมากขึ้น เมื่อออกแรงในการดูดนมมากขึ้นแล้วยังไม่ช่วยให้น้ำนมไหลดี ทารกจะใช้เหงือกงับกดหัวนม ทำให้มารดาที่มีทารกมีภาวะลิ้นติดเกิดอาการเจ็บหัวนมขณะทารกดูดนมได้ ซึ่งลักษณะนี้แสดงถึงการเข้าเต้าที่ไม่เหมาะสม ทารกจะร้องไห้งอแงขณะกินนมเพราะดูดนมได้ไม่ดี เป็นผลทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวขึ้นน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ มารดาจึงอาจแก้ปัญหาโดยการให้ลูกกินนงผงดัดแปลงสำหรับทารกจากขวด ซึ่งการดูดนมจากขวดนั้นไม่ต้องการการยื่นลิ้นหรือแลบลิ้นออกมากดที่จุกนม น้ำนมจะไหลได้สะดวกและง่ายอยู่แล้วตามแรงโน้มถ่วงของโลกโดยทารกแทบจะไม่ต้องออกแรงดูด ทารกจึงติดการดูดนมจากจุกนม และทำให้หยุดการกินนมแม่ก่อนระยะเวลาอันควรได้ อีกกรณีหนึ่งคือ หากมารดาให้นมลูกไปทั้ง ๆ ที่มีอาการเจ็บหัวนม อาจทำให้เกิดหัวนมแตก เต้านมอักเสบ และฝีที่เต้านมตามมาได้ หากไม่ได้รับการดูแลที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาการเจ็บหัวนมและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นนี้ทำให้มารดามีความเสี่ยงในการหยุดการให้นมลูกก่อนเวลาอันควรเช่นกัน

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Paritakul P, Suksamarnwong M, Srisuwan S, Ketsuwan S. Nipple Pain Incidence, the Predisposing Factors, the Recovery Period After Care Management, and the Exclusive Breastfeeding Outcome. Breastfeed Med 2017;12:169-73.
  2. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.

คุณแม่รู้จักภาวะลิ้นติดไหม

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?ตามปกติแล้ว ใต้ลิ้นของคนเรา หากทำการกระดกลิ้นขึ้น จะมองเห็นแผ่นพังผืดที่ยึดติดตามความยาวของลิ้น แต่จะมีช่วงที่เว้นระยะไม่มีพังผืดยึดอยู่ช่วงหนึ่งถึงปลายลิ้น การที่มีช่วงที่เว้นระยะปราศจากพังผืดจะทำให้ลิ้นมีการเคลื่อนไหวได้โดยสามารถยื่นลิ้นไปทางด้านหน้าและด้านข้างได้สะดวก ซึ่งการที่สามารถยื่นลิ้นหรือแลบลิ้นออกไปทางด้านหน้าได้ จะช่วยในการดูดนมจากเต้านมแม่ของทารก เนื่องจากขณะที่ทารกดูดนมจากเต้า ลิ้นของทารกจะต้องยื่นออกมาอยู่ที่ลานนม โดยลิ้นจะทำหน้าที่ช่วยกดระบายน้ำนมจากท่อน้ำนมที่อยู่ใต้ลานนมและไล่น้ำนมให้ออกมาที่บริเวณหัวนม ดังนั้น หากมีพังผืดยึดยาวออกมาทางปลายลิ้น จะทำให้มีโอกาสที่จะจำกัดการเคลื่อนไหวของลิ้นและมีผลกระทบต่อการดูดนมจากเต้านมของแม่ได้ ?ซึ่งภาวะที่มีพังผืดยึดมากจนรบกวนการเคลื่อนไหวของลิ้นนี้เราเรียกว่ามี ?ภาวะลิ้นติด?

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Paritakul P, Suksamarnwong M, Srisuwan S, Ketsuwan S. Nipple Pain Incidence, the Predisposing Factors, the Recovery Period After Care Management, and the Exclusive Breastfeeding Outcome. Breastfeed Med 2017;12:169-73.
  2. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.

คำแนะนำสำหรับการดูแลทารกหลังคลอด ตอนที่ 7

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ทารกต้องการการพักผ่อนและมารดาก็ต้องการด้วย

หลังจากการคลอด ทารกต้องการการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ขณะเดียวกันก็ต้องการการพักผ่อนเพื่อสะสมพลังงาน สร้างความเจริญเติบโต ช่วยจัดระเบียบข้อมูลการรับรู้และพัฒนาการระบบการทำงานของร่างกายให้มีความพร้อมสำหรับการพัฒนาสู่ระยะที่มีการเจริญวัยขึ้น ในช่วงสองสามสัปดาห์แรกของชีวิต รูปแบบการนอนของทารกอาจไม่เป็นเวลา ทารกจะนอนมาก และเวลาตื่นส่วนใหญ่ก็จะกินนมหรือไม่ก็ไม่สบายตัวจากการถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ ทารกจะยังไม่ใส่ใจหรือสนใจว่า เป็นเวลากลางวันหรือกลางคืน แม้ว่าในเวลากลางวันจะมีสิ่งเร้าหรือเสียงรบกวนมากกว่า ดังนั้น เมื่อทารกนอนหลับพักผ่อน มารดาจึงควรนอนหลับพักผ่อนด้วย เพื่อพักฟื้นร่างกายที่ต้องผ่านการเจ็บครรภ์ การคลอด และเตรียมพร้อมสะสมพลังงานเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการสร้างอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับลูกก็คือนมแม่

คำแนะนำสำหรับการดูแลทารกหลังคลอด ตอนที่ 6

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ทำไมทารกต้องร้องไห้

?การร้องไห้เป็นการสื่อสารอย่างหนึ่งของทารก และไม่ใช่ว่าการที่ทารกร้องไห้เกิดจากอาการหิวของทารกแต่เพียงอย่างเดียว สาเหตุที่ทารกร้องไห้อาจเกิดจากการที่ทารกง่วงนอน หงุดหงิด เจ็บป่วย ไม่สบายตัว ต้องการการเปลี่ยนผ้าอ้อม หรือต้องการให้อุ้มก็เป็นได้ ดังนั้น การช่างสังเกตของมารดาร่วมกับการที่มารดาได้มีโอกาสที่จะอยู่กับทารกตลอด 24 ชั่วโมงในระยะหลังคลอด จะทำให้มารดาเป็นผู้ที่สามารถเข้าใจและแยกความแตกต่างจากที่จะบอกถึงสาเหตุที่ทำให้ทารกร้องไห้ได้ โดยที่มารดาและครอบครัวไม่ควรคิดหรือเข้าใจว่าการที่ทารกร้องไห้เป็นจากการที่ทารกหิว และให้ทารกกินนมทุกครั้งเมื่อทารกร้องไห้ แม้ว่าบางครั้งการร้องไห้จะแสดงว่าทารกมีอาการหิว แต่การร้องไห้ก็บ่งถึงว่าความล่าช้าในการรับรู้และขาดป้อนนมให้แก่ทารกจนทำให้ทารกหงุดหงิดจนกระทั่งร้องไห้ได้