คุณแม่รู้จักภาวะลิ้นติดไหม

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?ตามปกติแล้ว ใต้ลิ้นของคนเรา หากทำการกระดกลิ้นขึ้น จะมองเห็นแผ่นพังผืดที่ยึดติดตามความยาวของลิ้น แต่จะมีช่วงที่เว้นระยะไม่มีพังผืดยึดอยู่ช่วงหนึ่งถึงปลายลิ้น การที่มีช่วงที่เว้นระยะปราศจากพังผืดจะทำให้ลิ้นมีการเคลื่อนไหวได้โดยสามารถยื่นลิ้นไปทางด้านหน้าและด้านข้างได้สะดวก ซึ่งการที่สามารถยื่นลิ้นหรือแลบลิ้นออกไปทางด้านหน้าได้ จะช่วยในการดูดนมจากเต้านมแม่ของทารก เนื่องจากขณะที่ทารกดูดนมจากเต้า ลิ้นของทารกจะต้องยื่นออกมาอยู่ที่ลานนม โดยลิ้นจะทำหน้าที่ช่วยกดระบายน้ำนมจากท่อน้ำนมที่อยู่ใต้ลานนมและไล่น้ำนมให้ออกมาที่บริเวณหัวนม ดังนั้น หากมีพังผืดยึดยาวออกมาทางปลายลิ้น จะทำให้มีโอกาสที่จะจำกัดการเคลื่อนไหวของลิ้นและมีผลกระทบต่อการดูดนมจากเต้านมของแม่ได้ ?ซึ่งภาวะที่มีพังผืดยึดมากจนรบกวนการเคลื่อนไหวของลิ้นนี้เราเรียกว่ามี ?ภาวะลิ้นติด?

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Paritakul P, Suksamarnwong M, Srisuwan S, Ketsuwan S. Nipple Pain Incidence, the Predisposing Factors, the Recovery Period After Care Management, and the Exclusive Breastfeeding Outcome. Breastfeed Med 2017;12:169-73.
  2. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.