คลังเก็บหมวดหมู่: ความรู้สำหรับนักศึกษา

ความรู้สำหรับนักศึกษา

ประโยชน์ของนมแม่ในการป้องกันมะเร็ง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

            ประโยชน์ของนมแม่มีหลายอย่าง  ทั้งในเรื่องสารอาหารที่มีอยู่อย่างครบถ้วนและเหมาะสมรวมถึงช่วยในเรื่องภูมิคุ้มกันที่ดีและควบคุมระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานเป็นปกติ นอกจากนี้ ยังมีส่วนช่วยในการป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมในมารดา ซึ่งมะเร็งเต้านมในปัจจุบันเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของการตายของสตรีที่พบจากมะเร็ง ลดการเกิดมะเร็งรังไข่และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก สำหรับในทารก การที่ทารกกินนมแม่จะลดการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว (acute lymphocytic leukemia) และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Hodgkin’s lymphoma) ในวัยเด็ก และยังมีข้อมูลจากการวิจัยที่บ่งชี้ว่าการกินนมแม่อาจช่วยลดการเกิดมะเร็งไทรอยด์ด้วย1 ดังนั้น นอกจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยลดการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดแล้วยังน่าจะช่วยลดการเสียชีวิตจากมะเร็งเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น ดังนั้น หากมีดูแลตนเองและมีปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม ทารกยุคใหม่ที่กินนมแม่ก็น่าจะมีอายุที่ยืนยาวขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Kim H, Kim KY, Baek JH, Jung J. Are pregnancy, parity, menstruation and breastfeeding risk factors for thyroid cancer? Results from the Korea National Health and Nutrition Examination Survey, 2010-2015. Clin Endocrinol (Oxf) 2018.

เรื่องเล่าประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ไม่ว่าจะเป็นการจัดกลุ่มนมแม่หรือเป็นการสื่อสารในชุมชน เรื่องเล่าประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 การแบ่งปันประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นการให้ความรู้ด้วยเรื่องเล่าที่ฟังง่าย ใช้ภาษาที่สะดวกในการเข้าใจ ทำให้การสื่อสารหรือสิ่งที่ต้องการถ่ายทอดบรรลุผล มารดาและผู้ที่สนใจสามารถนำประสบการณ์จากเรื่องเล่านั้นมาปรับใช้กับปัญหาหรืออุปสรรคที่คล้ายกันโดยทำให้มารดาผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ไปได้ด้วยดี อย่างไรก็ตาม หลังการแบ่งปันประสบการณ์ ควรมีการสรุปประเด็นที่สามารถนำไปใช้ เพื่อให้มารดาที่อาจจะจับประเด็นที่สำคัญไม่ทัน สามารถฟังเนื้อหาที่สรุปเนื้อหาที่สำคัญอีกครั้ง ซึ่งจะช่วยทบทวนและส่งเสริมความเข้าใจของมารดาที่ถูกต้อง

เอกสารอ้างอิง

  1. Keitt SH, Reis-Reilly H, Fuller-Sankofa N, Carr M. Breastfeeding in the Community: Sharing Stories on Implementations That Work. J Hum Lact 2018;34:285-303.

มารดาที่มีความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำให้มีโอกาสที่สำเร็จมากขึ้น

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ทัศนคติของมารดามีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หากมารดามีทัศนคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะทำให้มารดามีความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อมารดามีความตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็จะส่งผลต่อการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เร็วและมีระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยาวนานกว่า1 การที่มารดาเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เร็วจะสัมพันธ์กับอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงขึ้น นอกจากนี้ การเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เร็วยังส่งผลดีต่อระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย ดังนั้น การสร้างให้มารดามีทัศนคติที่ดีรวมทั้งส่งเสริมให้มารดามีความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นบทบาทของบุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ที่จะช่วยส่งเสริมและสร้างโอกาสให้เด็กไทยได้กินนมแม่มากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Keddem S, Frasso R, Dichter M, Hanlon A. The Association Between Pregnancy Intention and Breastfeeding. J Hum Lact 2018;34:97-105.

การให้ความรู้แก่คนในครอบครัวช่วยเรื่องนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? คนในครอบครัวที่อยู่ด้วยกันจะมีส่วนร่วมในบทบาทของการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะหลังคลอด ซึ่งบางคนอาจทำหน้าช่วยในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ขณะที่บางคนอาจมีทัศนคติที่ไม่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำให้ตนเองเป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาพบว่า การให้ความรู้แก่คนในครอบครัวเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวสูงขึ้น1 ซึ่งเหตุผลของการเพิ่มของอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอาจจะเกิดจากการที่มารดาและครอบครัวได้รับความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทิศทางเดียวกันทั้งครอบครัว ซึ่งหากครอบครัวมีความเห็นหรือทัศนคติในทิศทางเดียวกัน แนวทางการปฏิบัติของมารดาในระยะหลังคลอดก็จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ปราศจากข้อขัดแย้งที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ?ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ความให้ความสำคัญกับการให้ความรู้และทัศนคติของคนในครอบครัวเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อช่วยให้เกิดการสนับสนุนของคนในครอบครัวที่มีความใกล้ชิดที่จะช่วยให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้นได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Ke J, Ouyang YQ, Redding SR. Family-Centered Breastfeeding Education to Promote Primiparas’ Exclusive Breastfeeding in China. J Hum Lact 2018;34:365-78.

 

ควรมีการให้ความรู้เรื่องการปั๊มนมแม่แก่มารดาตั้งแต่ระยะฝากครรภ์

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ??การที่มารดาได้กินนมแม่แม้ว่าจะเป็นการให้นมแม่ที่ได้จากการปั๊มนม น้ำนมแม่ที่ได้จากการปั๊มนมก็ยังมีประโยชน์มากกว่าการให้ทารกกินนมผงดัดแปลงสำหรับทารก การให้ความรู้เรื่องการปั๊มนมแม่แก่มารดาตั๊งแต่ในระยะฝากครรภ์จึงมีความจำเป็น1?เนื่องจากในมารดาบางคน อาจต้องการให้นมแม่ แต่ยังขาดความรู้ว่าทางเลือกหนึ่งของการให้ทารกได้รับนมแม่สามารถจะได้รับจากการปั๊มนมแม่ เพราะข้อมูลเหล่านี้อาจช่วยในการตัดสินใจในการเลือกที่จะให้ลูกได้กินนมแม่ในกรณีที่มีข้อจำกัดต่าง ๆ ทั้งในแง่การเจ็บป่วยของทารกและมารดา หรือมีความจำเป็นทางด้านการทำงานหรือครอบครัว นอกจากนี้ การให้ข้อมูลเหล่านี้ อาจลดความรู้สึกผิดของมารดาที่มีความรู้สึกผิดในการที่ไม่ได้ให้ลูกได้กินนมแม่ และลดความเครียดหรือความวิตกกังวลของมารดาในช่วงหลังคลอดได้ จากข้อมูลเหล่านี้ ความจำเป็นในการให้ข้อมูลเรื่องการปั๊มนมแม่ตั้งแต่ในระยะฝากครรภ์จึงเป็นสิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ควรใส่ใจ

เอกสารอ้างอิง

  1. Jardine FM. Breastfeeding Without Nursing: “If Only I’d Known More about Exclusively Pumping before Giving Birth”. J Hum Lact 2018:890334418784562.