คลังเก็บหมวดหมู่: การเตรียมตัวเมื่อตั้งครรภ์

การเตรียมตัวเมื่อตั้งครรภ์

การแก้ไขอาการที่เกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์ด้วยการแพทย์ทางเลือก (ตอนที่ 3)

กินยาขับน้ำคาวปลา ยาดองเหล้าให้มดลูกเข้าอู่เร็วจริงหรือไม่?

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????อาการคลื่นไส้อาเจียน การให้สตรีตั้งครรภ์ดื่มน้ำให้เพียงพอ รับประทานอาหารแต่ละมื้อในปริมาณที่น้อย แต่รับประทานบ่อยขึ้น การรับประทานขนมปังหรือขนมปังกรอบในปริมาณเล็กน้อยก่อนจะลุกจากที่นอนในตอนเช้าอาจจะช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ในบางคน การดื่มชาเปปเปอร์มินต์ช่วยลดการคลื่นไส้อาเจียนแต่อาจทำให้ท้องผูกมากขึ้น การดื่มน้ำขิงช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน3,4 สำหรับขนาดของขิงผงที่ใช้คือ 250 มิลลิกรัมวันละสี่ครั้ง ไม่ควรให้เกินวันละ 2 กรัม การเสริมวิตามินบีหกและบีสิบสองก็ช่วยอาการคลื่นไส้อาเจียน โดยใช้ขนาด 25 มิลลิกรัมวันละสามครั้ง การฝังเข็ม (acupuncture) มีประสิทธิภาพในการลดการคลื่นไส้ด้วย5,6 โดยการกระตุ้นที่จุดฝังเข็มจุดที่ P6 บริเวณข้อมือ การกำหนดตำแหน่งจากการกำมือให้แน่น จะเห็นเส้นเอ็นสองเส้นอย่างชัดเจนที่บริเวณข้อมือด้านหน้า คือ Palmaris longus และ Flexor carpi radialis จุดที่ฝังเข็มจะอยู่เหนือรอยพับข้อมือ 3 ความกว้างของนิ้วมือ และลึก 1 เซนติเมตร ระหว่างเส้นเอ็นทั้งสอง การกดจุด (acupressure) จะอาศัยจุดตามแบบเดียวกับการฝังเข็ม เพียงแต่ไม่ใช้เข็ม แต่ใช้นิ้วมือเป็นเครื่องมือในการกดนวดแทน โดยมีเทคนิคการกดจุดหลายแบบ แต่มีวัตถุประสงค์เดียวกับการฝังเข็มจะช่วยลดการคลื่นไส้อาเจียน ทำโดยใช้นิ้วมือกดหรือแถบรัดข้อมือ (wrist band) กระตุ้นที่จุด P6 เช่นกัน7-9 การฝังเข็มกระตุ้นไฟฟ้า (electro acupuncture) เหมือนการฝังเข็มทุกประการ แต่การกระตุ้นเข็มจะใช้ไฟฟ้ากระตุ้น มีการศึกษาว่าช่วยทำให้อาการคลื่นไส้อาเจียนดีขึ้นเช่นกัน10

การแก้ไขอาการที่เกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์ด้วยการแพทย์ทางเลือก (ตอนที่ 2)

กินยาขับน้ำคาวปลา ยาดองเหล้าให้มดลูกเข้าอู่เร็วจริงหรือไม่?

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????? อาการปวดตึงกล้ามเนื้อ การนวดจะช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ได้ อย่างไรก็ตาม ควรระมัดระวังในการนวดเนื่องจากการนวดในบางจุดอาจกระตุ้นให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูกและอาจเป็นอันตรายได้1 การทาน้ำมันประคบสมุนไพร เป็นการใช้ยาภายนอก ส่วนใหญ่จะใช้ได้ แต่เนื่องจากมีลักษณะของน้ำมันและสมุนไพรที่หลากหลาย การทาหรือใช้ประคบเป็นจำนวนมากอาจมีการดูดซึมของน้ำมันและสมุนไพรที่ใช้เข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่สูง ดังนั้น การใช้ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง

การแก้ไขอาการที่เกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์ด้วยการแพทย์ทางเลือก (ตอนที่ 1)

กินยาขับน้ำคาวปลา ยาดองเหล้าให้มดลูกเข้าอู่เร็วจริงหรือไม่?

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ในสตรีที่ตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงของร่ายกายทางกายภาพและสรีรวิทยาที่ทำให้เกิดอาการจากการเปลี่ยนแปลงนี้ได้หลายอย่าง ได้แก่ การปวดบริเวณหัวหน่าวจากการตึงตัวของเส้นเอ็นที่ยึดมดลูก (round ligament pain) การปวดหลัง อาการคลื่นไส้อาเจียน อาการแสบร้อนท้อง และท้องผูก อาการเหล่านี้บางอาการอาจใช้การปฏิบัติตัวช่วยลดอาการได้ หากยังไม่ได้ผลอาจใช้ยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการ แต่การแพทย์ทางเลือกก็เป็นการแก้ปัญหาอาการเหล่านี้ได้วิธีหนึ่งซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ควรมีความรู้ในแนวกว้างเพื่อให้คำแนะนำกับสตรีที่ตั้งครรภ์ได้อย่างเหมาะสม

การปวดบริเวณหัวหน่าวจากการตึงตัวของเส้นเอ็นที่ยึดมดลูก (round ligament pain) และการปวดหลัง การใช้โยคะสามารถบรรเทาอาการเหล่านี้ได้ การขยับกระดูกอุ้งเชิงกรานไปทางด้านหน้าสลับกับด้านหลังจะลดอาการปวดบริเวณหัวหน่าวจากการตึงตัวของเส้นเอ็นที่ยึดมดลูก การคลุกเข่าและใช้มือทั้งสองข้างวางกับพื้นจากนั้นโก่งตัว คลายกล้ามเนื้อหลังเป็นจังหวะจะลดอาการปวดหลังได้1 และการฝังเข็มช่วยในเรื่องการปวดหลังในระหว่างการตั้งครรภ์ได้2

 

การยืน การเดินและการปวดในอุ้งเชิงกรานที่สัมพันธ์กับสตรีตั้งครรภ์

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การเปลี่ยนแปลงทางรูปร่างและสรีรวิทยาของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ได้แก่ การมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นโดยตลอดการตั้งครรภ์จะเพิ่มประมาณ 12 กิโลกรัม หน้าท้องจะขยายขึ้นจากขนาดของมดลูกและทารกที่เจริญเติบโตขึ้นตามอายุครรภ์ มีการขยายขนาดของเต้านม สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายเปลี่ยนไปโดยค่อนมาทางด้านหน้า1 การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อการเพิ่มการยืดหยุ่นของข้อต่างๆ ในร่างกาย สิ่งเหล่านี้ส่งผลการทรงตัว การยืนและการเดินของคุณแม่ในระหว่างการตั้งครรภ์ มีรายงานว่าพบคุณแม่มีอุบัติการณ์การล้มถึงร้อยละ 252 ในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งผลเสียจาการล้มจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อแม่และเด็ก หากรุนแรงจนเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดจะทำให้เกิดการตกเลือดในท้อง ทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ และหากแก้ไขได้ไม่ทันคุณแม่จะเกิดภาวะช็อกและเสียชีวิตได้

จากการที่คุณแม่มีรูปร่างที่การเปลี่ยนแปลงไป ร่างกายจะต้องมีการปรับตัวเพื่อให้มีความสมดุลในการทรงตัว โดยท่าทางในการยืนจะมีการปรับให้ยืนแยกขาออกกว้างขึ้น สมดุลของร่างกายจะดีขึ้นซึ่งจะป้องกันการโอนเอนทางด้านข้าง1 สำหรับลักษณะในการเดินคุณแม่ควรเดินช้าลง แต่ลักษณะในการก้าวเดินยังคงเหมือนเดิม3 มีอาการปวดในอุ้งเชิงกรานที่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ (pregnancy-related pain in the pelvis) ที่พบในคุณแม่ถึงร้อยละ 504 อาการปวดในอุ้งเชิงกรานจะมีลักษณะเป็นการปวดบริเวณกระเบนเหน็บ ปวดเวลาก้าวเดิน หรือปวดขณะพลิกตัวนอนตะแคง อาการเหล่านี้เกิดจากการปรับตัวของร่างกายในขณะตั้งครรภ์ในส่วนอกและอุ้งเชิงกราน (pelvic and thoracic rotations in the transverse plane) โดยร่างกายจะปรับตัวขณะเดินเพื่อลดอาการปวดนี้แตกต่างกันในคุณแม่แต่ละคน4 ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงและกลไกการเกิดอาการปวด จะทำให้สามารถคุณแม่ลดความวิตกกังวล ฝึกปฏิบัติในการยืนและการเดินให้เหมาะสม จะทำให้สตรีลดอาการปวดและลดความเสี่ยงในการเกิดการหกล้มที่ทำให้เกิดอันตรายแก่คุณแม่และทารกได้

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Jang J, Hsiao KT, Hsiao-Wecksler ET. Balance (perceived and actual) and preferred stance width during pregnancy. Clinical Biomechanics 2008;23:468-76.

2.???????????? Butler EE, Col?n I, Druzin M, Rose J. An investigation of gait and postural balance during pregnancy. Gait & Posture 2006;24, Supplement 2:S128-S9.

3.???????????? Wu W, Meijer OG, Lamoth CJC, et al. Gait coordination in pregnancy: transverse pelvic and thoracic rotations and their relative phase. Clinical Biomechanics 2004;19:480-8.

4.???????????? Wu W, Meijer OG, Jutte PC, et al. Gait in patients with pregnancy-related pain in the pelvis: an emphasis on the coordination of transverse pelvic and thoracic rotations. Clinical Biomechanics 2002;17:678-86.

 

 

เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์แล้ว ควรปฏิบัติตัวอย่างไร?

เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์แล้ว ควรปฏิบัติตัวอย่างไร?

? ? ? ? ? ??หลังจากมีการตรวจยืนยันการตั้งครรภ์แล้ว ?คุณแม่พร้อมสามีควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อฝากครรภ์ทันที เพื่อแพทย์จะได้ ซักประวิติ ตรวจร่ายกายและตรวจสอบเพิ่มเติม (โดยแพทย์อาจจะแนะนำการเจาะเลือดสามีเพื่อคัดกรองโรคธาลัสซีเมีย) สำหรับการวางแผนดูแลครรภ์ และแนะนำการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในครรภ์โดยการเปลี่ยนแปลงระหว่างตั้งครรภ์มักแบ่งเป็นสามช่วงเพื่ออธิบายการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างง่ายๆ คือ ช่วงสามเดือนแรกหรือไตรมาสแรกได้แก่เริ่มตั้งครรภ์ถึงอายุครรภ์ 14 สัปดาห์ ช่วงสามเดือนที่สองหรือไตรมาสที่สองได้แก่อายุครรภ์ 14 ถึง 28 สัปดาห์ และช่วงสามเดือนที่สามหรือไตรมาสที่สามได้แก่อายุครรภ์ 28 ถึง 42 สัปดาห์ โดยช่วงเวลาตั้งแต่อายุครรภ์ 37 ถึง 42 สัปดาห์ ถือว่าเป็นช่วงเวลาเหมาะสมหรือให้คลอดได้โดยเรียกการคลอดในช่วงระยะนี้ว่าเป็น ?การคลอดครบกำหนด? ซึ่งเป็นช่วงก่อนวันกำหนดคลอด 3 สัปดาห์และหลังกำหนดคลอด 2 สัปดาห์

บทความโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์