การยืน การเดินและการปวดในอุ้งเชิงกรานที่สัมพันธ์กับสตรีตั้งครรภ์

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การเปลี่ยนแปลงทางรูปร่างและสรีรวิทยาของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ได้แก่ การมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นโดยตลอดการตั้งครรภ์จะเพิ่มประมาณ 12 กิโลกรัม หน้าท้องจะขยายขึ้นจากขนาดของมดลูกและทารกที่เจริญเติบโตขึ้นตามอายุครรภ์ มีการขยายขนาดของเต้านม สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายเปลี่ยนไปโดยค่อนมาทางด้านหน้า1 การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้นส่งผลต่อการเพิ่มการยืดหยุ่นของข้อต่างๆ ในร่างกาย สิ่งเหล่านี้ส่งผลการทรงตัว การยืนและการเดินของคุณแม่ในระหว่างการตั้งครรภ์ มีรายงานว่าพบคุณแม่มีอุบัติการณ์การล้มถึงร้อยละ 252 ในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งผลเสียจาการล้มจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อแม่และเด็ก หากรุนแรงจนเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนดจะทำให้เกิดการตกเลือดในท้อง ทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ และหากแก้ไขได้ไม่ทันคุณแม่จะเกิดภาวะช็อกและเสียชีวิตได้

จากการที่คุณแม่มีรูปร่างที่การเปลี่ยนแปลงไป ร่างกายจะต้องมีการปรับตัวเพื่อให้มีความสมดุลในการทรงตัว โดยท่าทางในการยืนจะมีการปรับให้ยืนแยกขาออกกว้างขึ้น สมดุลของร่างกายจะดีขึ้นซึ่งจะป้องกันการโอนเอนทางด้านข้าง1 สำหรับลักษณะในการเดินคุณแม่ควรเดินช้าลง แต่ลักษณะในการก้าวเดินยังคงเหมือนเดิม3 มีอาการปวดในอุ้งเชิงกรานที่สัมพันธ์กับการตั้งครรภ์ (pregnancy-related pain in the pelvis) ที่พบในคุณแม่ถึงร้อยละ 504 อาการปวดในอุ้งเชิงกรานจะมีลักษณะเป็นการปวดบริเวณกระเบนเหน็บ ปวดเวลาก้าวเดิน หรือปวดขณะพลิกตัวนอนตะแคง อาการเหล่านี้เกิดจากการปรับตัวของร่างกายในขณะตั้งครรภ์ในส่วนอกและอุ้งเชิงกราน (pelvic and thoracic rotations in the transverse plane) โดยร่างกายจะปรับตัวขณะเดินเพื่อลดอาการปวดนี้แตกต่างกันในคุณแม่แต่ละคน4 ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงและกลไกการเกิดอาการปวด จะทำให้สามารถคุณแม่ลดความวิตกกังวล ฝึกปฏิบัติในการยืนและการเดินให้เหมาะสม จะทำให้สตรีลดอาการปวดและลดความเสี่ยงในการเกิดการหกล้มที่ทำให้เกิดอันตรายแก่คุณแม่และทารกได้

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Jang J, Hsiao KT, Hsiao-Wecksler ET. Balance (perceived and actual) and preferred stance width during pregnancy. Clinical Biomechanics 2008;23:468-76.

2.???????????? Butler EE, Col?n I, Druzin M, Rose J. An investigation of gait and postural balance during pregnancy. Gait & Posture 2006;24, Supplement 2:S128-S9.

3.???????????? Wu W, Meijer OG, Lamoth CJC, et al. Gait coordination in pregnancy: transverse pelvic and thoracic rotations and their relative phase. Clinical Biomechanics 2004;19:480-8.

4.???????????? Wu W, Meijer OG, Jutte PC, et al. Gait in patients with pregnancy-related pain in the pelvis: an emphasis on the coordination of transverse pelvic and thoracic rotations. Clinical Biomechanics 2002;17:678-86.