คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การดูแลสุขภาพหลังคลอด

การดูแลมารดาที่เป็นเบาหวานในระหว่างการตั้งครรภ์

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การดูแลผู้ป่วย Gestational diabetic mellitus

การดูแลระยะตั้งครรภ์

  • GDM class A1
    1. การดูแลระหว่างตั้งครรภ์: ถ้าควบคุมน้ำตาลได้ดี mortality rateไม่ต่างกับการตั้งครรภ์ทั่วๆไป สามารถให้การดูแลแบบกลุ่มความเสี่ยงต่ำได้ ไม่จำเป็นต้องทดสอบสุขภาพในครรภ์เป็นพิเศษ แต่ควรเริ่มทดสอบที่ GA 40 WK
    2. การพิจารณาให้คลอด: ไม่จำเป็นต้องรีบให้คลอดหรือเร่งคลอด ยกเว้นในรายที่ GA 40 WK ขึ้นไปหรือ GA 38 WK แต่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ โดยทั่วไปให้คลอดปกติทางช่องคลอด ยกเว้นการตรวจประเมินน้ำหนักทารกพบว่าทารกมีน้ำหนักตั้งแต่ 4500 g ขึ้นไป สามารถพิจารณาผ่าคลอดได้
  • GDM classA2
    1. พยายามคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนใหญ่สามารถใช้วิธี diet control ก็สามารถคุมระดับน้ำตาลได้
    2. พิจารณาให้ insulin ในรายที่ FBS มากกว่า 105 mg/dL ตั้งแต่แรกวินิจฉัย หรือในรายที่ diet control แล้ว FBS มากกว่า 95 mg/dL หรือระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหาร 1 ชั่วโมงและ 2 ชั่วโมง มากกว่า 140 และ 120 mg/dL ตามลำดับ
    3. ในรายที่ต้องรักษาด้วย insulin ให้ดูแลเหมือน overt DM เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนมากกว่าปกติ ควรตรวจสุขภาพทารกในครรภ์
  • Overt DM
    • First trimester
      1. ประเมินเพิ่มเติมเหมือนก่อนการตั้งครรภ์
      2. อัลตร้าซาวด์ยืนยัน GA และคัดกรองความผิดปกติช่วง GA 11-14 WK
      3. ตรวจคัดกรองกลุ่ม Down syndrome ช่วง GA 11-14 WK
    • Second trimester
      1. ตรวจครรภ์ทุก 1-2 WK ติดตามระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
      2. ติดตามการทำงานของไต การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ HbA1C
      3. ตรวจระดับ alpha-fetoprotein ที่GA 16-20 WK เพื่อคัดกรองneural tube defect
      4. อัลตร้าซาวด์คัดกรองความพิการของทารกและตรวจหัวใจทารกโดยละเอียดช่วง GA 18-20 WK
    • Third trimester
      1. ตรวจครรภ์ทุก 1 WK เฝ้าระวังภาวะ hypertension
      2. ติดตามการทำงานของไต การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ HbA1C
      3. อัลตร้าซาวด์ติดตาม fetal growth ช่วง GA 28-32 WK
      4. ตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ด้วยการนับลูกดิ้นตั้งแต่ GA 28 WKขึ้นไป และ NST 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ตั้งแต่ GA 32 WK ถึงคลอด
    • การการให้ insulin อาจให้วันละ 1-2 ครั้ง โดยใช้ human insulin ออกฤทธิ์นานปานกลางร่วมกับ human insulin ออกฤทธิ์สั้นหรือ insulin analog ออกฤทธิ์เร็วเกือบทุกรายไม่จำเป็นต้องได้รับอินซูลินในวันคลอดและระยะหลังคลอด หากจำเป็นอาจใช้ยาเม็ดลดน้ำตาล ในหญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โดยเลือกใช้ glibenclamide หรือ metformin หรือใช้ metformin ร่วมกับอินซูลินในกรณีที่ต้องใช้อินซูลินปริมาณสูงมากการดูแลระยะคลอด

การดูแลระยะคลอด

  • ผู้ป่วยที่คุมระดับน้ำตาลได้ดีสามารถรอให้เจ็บครรภ์คลอดเองได้หรือรอจนถึง GA 42 WK
  • ผู้ป่วยที่คุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีแนะนำให้เร่งคลอดเมื่อตรวจพบความสมบูรณ์ของปอดทารก
  • หากประเมินน้ำหนักทารกเท่ากับ 4500 กรัมหรือมากกว่า แนะนำให้ผ่าคลอดเพื่อเลี่ยงการบาดเจ็บจากการคลอด
  • รายที่ได้รับ insulin เมื่อเข้า active phase ให้ NPO และหยุดยาตอนเช้า ให้ฉีด intermediate-acting insulin ก่อนนอนและ
    1. ตรวจระดับน้ำตาลก่อนให้สารน้ำ
      • น้อยกว่า 70 mg/dL ให้5% dextrose rate 100-150 ml/hr
      • มากกว่า 70 mg/dL ให้ normal saline
    2. ตรวจติดตามระดับน้ำตาลทุก 1 ชั่วโมง ให้มีค่าประมาณ 100 mg/dL
      • ระดับน้ำตาลมากกว่า 100 mg/dL ให้ regular insulin 1.25 unit/hr ถ้ามากกว่า 140 mg/dLหรือน้อยกว่า 80 mg/dL ให้ปรับขึ้นลงครั้ง 1 unit/hr

การดูแลหลังคลอด

  • ตรวจซ้ำภายใน 6-8 WK หลังคลอดด้วย 75g OGTT
    • ผลปกติ ควรได้รับการติดตามทุก 1 ปี

ควรให้การแนะนำการควบคุมอาหารและออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคเบาหวานในอนาคต

  • ให้นมบุตรได้ตามปกติ แต่ควรเพิ่มปริมาณอาหารและพลังงานต่อวันเป็น 500 kcal/วัน
  • การคุมกำเนิด เลี่ยงชนิดที่มี estrogen?

มีลูกเพื่อชาติ

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????????? ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจกับนโยบายการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติที่มีชื่อเรียกกันในภาษาพูดว่า นโยบายมีลูกเพื่อชาติ วัตถุประสงค์ในการจัดทำนโยบายนี้ เพื่อประโยชน์ในการช่วยเรื่องฐานประชากรที่เหมาะสมในอนาคต ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งจะทำให้จำนวนผู้สูงอายุมีมากขึ้นเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่วัยทำงาน ซึ่งหากไม่มีการเตรียมการหรือการวางแผนที่เหมาะสม รูปแบบของฐานประชากรที่มีจำนวนผู้สูงอายุมากขณะที่ผู้ใหญ่ในวัยทำงานมีน้อยจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ อย่างไรก็ตาม การที่จะวางแผนการเพิ่มจำนวนประชากรต้องไม่เพียงแต่มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น ยังคงต้องมีคุณภาพควบคู่กันไปด้วย ซึ่งการลงทุนในเรื่องการพัฒนาคุณภาพของประชากรต้องเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์และการดูแลในระยะหลังคลอด

??????????????????? การดูแลตั้งแต่เกิดอยู่ในครรภ์ ต้องมีการส่งเสริมให้มีการฝากครรภ์ที่มีคุณภาพ โภชนาการของหญิงตั้งครรภ์จึงมีความสำคัญ ซึ่งต้องมีการดูแลให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างครบถ้วนรวมถึงสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุที่มีโอกาสจะขาดในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงที่จะมีการขาดแคลน นอกจากนี้ การดูแลให้สตรีได้มีการออกกำลังกายและมีอารมณ์ที่ดีก็มีบทบาทด้วย นั่นคือ การเน้นการดูแลสุขภาพตามหลัก 3 อ. ได้แก่ อาหาร ออกกำลังกาย และอารมณ์

??????????????????? สำหรับเมื่อแรกคลอด อาหารที่ดีและเหมาะสมที่สุดสำหรับทารกก็คือ นมแม่ ดังนั้น การส่งเสริมสนับสนุนให้ทารกได้กินนมแม่จึงเป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่คุ้มค่าที่จะช่วยในการพัฒนาทั้งความเฉลียวฉลาด ความสมบูรณ์ทางอารมณ์ และพร้อมไปด้วยสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง และมีภูมิคุ้มกันต่อต้านโรค เมื่อทารกเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งเมื่อเริ่มต้นด้วยต้นทุนที่ดี โอกาสที่จะประชากรที่ดีมีคุณภาพมาพัฒนาประเทศก็จะเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ดี ท้ายสุดของการสร้างคนดี ก็คือการทำตามพระราสดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 คือ สร้างคนดี สนับสนุนให้คนดีปกครองพัฒนาประเทศชาติ และควบคุมคนไม่ดี

ที่มาจาก การบรรยายของ นพ.บุญฤทธิ์ สุขรัตน์ รศ.นพ.สมศักดิ์ สุทัศน์วรวุฒิ และ? รศ.พญ.อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ จากการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์

 

ภาวะลิ้นติด ปัญหาที่พบในคลินิกเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โรงพยาบาลศิริราช

?ชญาดา? สามารถ

? ? ? ? ? ? ? ?จากการศึกษาทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลศิริราช พบว่ามีทารกแรกเกิดราวร้อยละ 15 ดูดนมมารดาได้ไม่ดีเนื่องจากภาวะลิ้นติด (Tongue tie)? และหากไม่ทำการแก้ไขโดยเร็ว จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งตัวทารก เช่น ภาวะตัวเหลือง ได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ น้ำหนักไม่ขึ้น หงุดหงิด ร้องกวน เป็นต้น ส่วนในมารดา จะทำให้เกิดภาวะหัวนมเจ็บแตก เต้าคัด ท่อน้ำนมอุดตัน หากให้การรักษาช้า ไม่ถูกวิธีจะทำให้เกิดภาวะเต้าอักเสบหรือเป็นฝีตามมา? ซึ่งทำให้มารดาเกิดความทุกข์ทรมานอาจเลิกล้มความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โรงพยาบาลศิริราชเป็นโรงพยาบาลที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงให้ความสำคัญกับภาวะลิ้นติดกับการดูดนมมารดา และได้พัฒนาเครื่องมือชื่อว่า Siriraj Tongue ?Tie Score (STT score)? เพื่อการติดต่อสื่อสารส่งต่อผู้ป่วยในทีม จะได้เข้าใจกันอย่างถูกต้อง?? นอกจากนี้ยังพัฒนาวิธีการผ่าตัดรักษาพังผืดใต้ลิ้นโดยใช้ยาชาเฉพาะที่แทนการผ่าตัดจากการดมยาสลบ? เพื่อลดความยุ่งยาก และอัตราเสี่ยงจากการดมยาสลบ ที่สำคัญคือทารกสามารถดูดนมแม่ได้ทันทีและกลับบ้านได้ทันทีหลังผ่าตัดเสร็จ

? ? ? ? ? ? ? ? การประเมิน SIRIRAJ? TONGUE-TIE? SCORE (STT SCORE) ประกอบด้วยการให้คะแนนตัวชี้วัดที่สำคัญต่อการดูดนมแม่ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรุนแรงของพังผืดใต้ลิ้น (frenulum) ลักษณะหัวนมแม่ (function, Nipple character) และความรู้สึกของแม่ขณะที่ลูกดูดนม (Sensation) พร้อมกับมีการถามคำถามเรื่อง ?เจ็บหัวนมเวลาลูกดูดนมหรือไม่? เพื่อยืนยันความถูกต้องของข้อมูลที่ได้ เช่น

  1. ถ้าลูกดูดนมได้ดี ลิ้นยื่นมาถึงลานหัวนมได้ตลอดทุกครั้ง คุณแม่ต้องไม่เจ็บหัวนม (ยกเว้นตอนแรกที่เริ่มดูดนมใหม่ ๆ อาจเจ็บหัวนมเล็กน้อยเนื่องจากยัง form teat ได้ไม่ค่อยดี แต่สักพักเมื่อ form teat ดีแล้ว จะต้องไม่เจ็บที่หัวนมเลย)
  2. ถ้าลูกดูดนมได้ไม่ดี เช่นเหงือกงับที่หัวนมอย่างเดียว หรือลิ้นมาถึงแค่บริเวณหัวนม คุณแม่มักจะเจ็บที่หัวนมเสมอ
  3. ถ้าคำตอบเรื่องความเจ็บไม่ไปด้วยกันกับคำตอบเรื่อง Sensation ขอให้อธิบายให้คุณแม่เข้าใจก่อนเริ่มถามใหม่อีกครั้ง หรืออาจรอเมื่อดูดมื้อต่อไปค่อยมาประเมินใหม่ก็ได้เนื่องจากคุณแม่อาจยังเพลียจากการคลอด
  4. ลักษณะคำถาม
  • เริ่มถามว่า ?ตอนที่ลูกดูดนม คุณแม่เจ็บหัวนมหรือไม่?
  • ถามย้ำว่า ?เจ็บ (หรือไม่เจ็บ ตามที่คุณแม่ตอบมา) ตลอดเวลาที่ลูกดูดนมหรือไม่?

แนวทางในการดูแลมารดาและทารกที่มีปัญหาการดูดนมแม่เนื่องจากภาวะลิ้นติดในโรงพยาบาลศิริราช

??????????????? มารดาและทารกที่แข็งแรงดีทุกคู่จะได้รับการส่งเสริมให้ดูดนมแม่เร็วที่สุดตามหลักบันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และได้รับการประเมิน? STT SCORE ภายใน 72 ชั่วโมงหลังคลอดก่อนจำหน่ายกลับบ้าน ซึ่งมี care map ในการดูแลที่ชัดเจน มีการประสานงานระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพทำให้การดูแลรักษากลุ่มปัญหานี้ทำได้รวดเร็วและปลอดภัย?? ? ? ? ? ? ?การแก้ไขปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นเรื่องฉุกเฉิน เร่งด่วน ภาวะลิ้นติดเป็นสิ่งหนึ่งที่ทีมสุขภาพควรตระหนักและให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา? นอกจากนี้ในการให้การดูแลและแก้ไขปัญหาควรสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ? เพื่อให้มารดาผ่อนคลายลดความเครียดพร้อมเปิดใจรับข้อมูลและตัดสินใจรับความช่วยเหลือตามความต้องการ สามารถกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้เป็นปกติ ถูกวิธี มีความสุขและปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ สามารถดูแลตนเองได้ มีความรู้ และมีทักษะการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง สามารถให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือนและให้นมแม่ร่วมกับอาหารตามวัยจนลูกอายุ 2 ปีหรือนานกว่านั้นอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามนโยบายของประเทศไทยและองค์การอนามัยโลก

เอกสารอ้างอิง

  1. 1. Ballard JL, Auer CE, Khoury JC. Ankyloglossia : assessment, incidence, and effect of frenuloplasty on the breast feeding. Pediatrics 2002; 110: 63-5.
  2. 2. Messner AH, Lalakea ML, Aby J, Macmahon J, Bair E. Ankyloglossia: incidence and associated feeding difficulties. Arch Otolaryngol Head Neck Surg. 2000; 126: 36-9.
  3. 3. เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่:ปัญหาที่พบบ่อยในทารก. ใน.สันติ ปุณณะหิตานนท์, อัญชลี ลิ้มรังสิกุล, น้ำทิพย์ ทองสว่าง. บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: บริษัท แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด; 406-9.
  4. 4. มงคล เลาหเพ็ญแสง และคณะ. บทคัดย่อเรื่อง การวิจัยเปรียบเทียบผลการรรักษาทารกที่มีปัญหาเรื่องการดูดนมมารดาด้วยการผ่าตัดพังผืดใต้ลิ้นกับการรักษาแบบประคับประคอง. ใน โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, ประชาธิป กะทา, นิลุบล คุณาวัฒน์ และสุภาภรณ์ แซ่ลิ่ม(บรรณาธิการ). การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากงานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research) R2R เสริมพลัง สร้างสรรค์และพัฒนา. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 288.
  5. โสภาพรรณ เงินฉ่ำ, ธิดารัตน์ วงศ์วิสุทธิ์. พังผืดใต้ลิ้น ดูดนมแม่ได้. ใน. พิมล วงศ์ศิริเดช (บรรณาธิการ), สารพัน Newborn Care สไตล์ศิริราช. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ยูเนี่ยนครีเอชั่น; 2553.174-91.

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวิอร์ไซด์

ภาวะขาดสารอาหารที่ต้องการปริมาณน้อย: ธาตุสังกะสีและวิตามินดี

รศ.พญ.กุสุมา ชูศิลป์

???????????? สารอาหารที่ต้องการปริมาณน้อย (Micronutrients) หมายถึงสารอาหาร ที่ร่างกายต้องการน้อยกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวัน สารอาหารที่ต้องการปริมาณน้อยประกอบด้วย กลุ่มแร่ธาตุ ได้แก่ เหล็ก โคบอลท์ โครเมียม ทองแดง ไอโอดีน แมงกานีส ซีลีเนียม สังกะสี และโมลิบดีนัม และกลุ่มวิตามิน ได้แก่ วิตามินที่ละลายน้ำและวิตามินที่ละลายในไขมัน แม้ร่างกายต้องกาสารอาหารเหล่านี้ในปริมาณน้อย แต่ภาวะขาดสารอาหารที่ต้องการปริมาณน้อย มีผลกระทบที่รุนแรงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในเด็กและหญิงตั้งครรภ์ การได้รับในปริมาณที่มากเกินไปก็มีผลเสียกับสุขภาพเช่นเดียวกัน

? ? ? ? ? ? ?ภาวะขาดสารอาหารที่ต้องการปริมาณน้อยที่พบบ่อยในทารกได้แก่ วิตามินดี วิตามินเค ธาตุเหล็ก วิตามินเอ แคลเซียม และธาตุสังกะสี สาเหตุการขาดสารอาหารที่ค้องการปริมาณน้อย ได้แก่ การได้รับจากอาหารไม่เพียงพอ การดูดซึมลดลงจากภาวะติดเชื้อ หรือโรคอื่น ๆ อาจพบได้บ้างในมารดาและทารกที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม

ภาวะขาดธาตุสังกะสีในทารก

? ? ? ? ? ? ? ?สังกะสีเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับทารกและเด็ก? ร่างกายต้องการอย่างเพียงพอในระยะเริ่มต้นของชีวิต? ธาตุสังกะสีอยู่ในเซลล์ทั่วร่างกาย เพื่อกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ประมาณ 100 ชนิด จำเป็นในการสร้างDNA ที่ใช้ในการแบ่งตัวของเซลล์ สร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย และจำเป็นในการรักษาแผล สังกะสีเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของทารกตั้งแต้ในครรภ์มารดาจนถึงวัยรุ่น แม้ว่าร่างกายต้องการไม่มากนัก แต่ภาวะขาดสังกะสีมีผลกระทบสูงมากต่อร่างกาย ?ร่างกายควรได้รับปริมาณสังกะสีเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น สังกะสีพบอยู่ในอาหารที่รับประทานเป็นประจำ แต่มีปริมาณแตกต่างกันในอาหารแต่ละชนิด? อาหารที่มีสังกะสีสูงมากๆ เช่น ?ข้าวสาลี ตับ เนื้อวัว เนื้อหมู หอยนางรม ไข่ ถั่วลิสง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และ เต้าหู้ ในนมผสมสูตรทารกมีสังกะสี 3.98?0.25 มิลลิกรัมต่อลิตร

? ? ? ? ? ? ? ?ร่างกายควรได้รับปริมาณสังกะสีเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น ทารกอายุ 0-6 เดือนต้องการสักะสี 2 มิลลิกรัมต่อวัน ทารกอายุ 7-12 เดือน และ เด็กอายุ 1-3 ปีต้องการเท่ากัน เพียง 3 มิลลิกรัมต่อวัน ปริมาณสังกะสีที่ได้รับจากอาหารจำกัดสูงสุด ที่? 4 มิลลิกรัมต่อวัน 5มิลลิกรัมต่อวัน และ 7 มิลลิกรัมต่อวัน เมื่ออายุ 0-6 เดือน 7-12 เดือน และ 1-3 ปีตามลำดับ

? ? ? ? ? ? ? ?ระดับสังกะสีในน้ำนมแม่ลดลงตามระยะการสร้างน้ำนมที่นานขึ้น? หัวน้ำนมวันแรกมีสังกะสีสูงสุด 11.0? 2.79 ไมโครกรัมต่อลิตร และลดลงเหลือประมาณ ?6.78? 1.64 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 2.95?0.77 มิลลิกรัมต่อลิตร เมื่อทารกอายุ 1 เดือนและ 2 เดือนตามลำดับ เมื่อทารกอายุ 6 เดือนได้รับสังกะสีจากนมแม่ 1.0- 1.5 มิลลิกรัมต่อวัน ในช่วงอายุน้อยกว่า 6 เดือนปริมาณสังกะสีในนมแม่ยังเพียงพอกับความต้องการของทารก แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการตั้งแต่อายุ 7 เดือนขึ้นไป ทารกจึงจำเป็นต้องได้รับอาหารตามวัยที่มีสังกะสีอย่างเพียงพอ

? ? ? ? ? ? ? ? ?ทารกที่มีภาวะขาดสังกะสีส่วนใหญ่มักเกิดจากการได้รับประทานไม่เพียงพอ โดยเฉพาะทารกที่ได้รับนมแม่อย่างเดียว ในประเทศที่กำลังพัฒนา? ทารกตั้งแต่อายุ 4-6 เดือนที่ขาดสังกะสีอาจมีความผิดปกติของภูมิคุ้มกันโรคก่อนมีระดับสังกะสีในพลาสมาต่ำกว่าปกติ (66-83 ไมโครกรัม/เดซิลิตร) ควรสงสัยภาวะขาดสังกะสีในทารกที่มีการเจริญเติบโตช้า โดยเฉพาะทารกที่มีความยาวเทียบอายุต่ำกว่าเกณฑ์ ทารกที่มีการดูดซึมสารอาหารผิดปกติในลำไส้ เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นไขมัน ?ท้องเสียเรื้อรัง ทารกที่มีผื่นแพ้ผิวหนัง ?ทารกที่มีการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อรุนแรงและ/หรือเรื้อรัง ทารกที่มีโรคตับเรื้อรัง โรคไต โรคเลือด และทารกที่มาด้วย ?acrodermatitis enterohepatica ซี่งมักจะเกิดร่วมกับความผิดปกติทางด้านพันธุกรรม หรือความพิการแต่กำเนิด ทารกที่เกิดก่อนกำหนด น้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัมหรือทารกที่มีการเจริญเติบโตอย่างเร็วหลังเกิดจะต้องการสังกะสีเพิ่มขึ้นและเสี่ยงต่อภาวะขาดสังกะสีที่รุนแรงได้

? ? ? ? ? ? ? ? ทารกไทยมีความเสี่ยงสูงต่อภาวะขาดสังกะสี? การศึกษาในทารกอายุ 4-6 เดือน ของ อรพร ดำรงวงสิริและคณะ พบว่า กลุ่มทารกที่ได้รับนมแม่ กลุ่มทารกที่ได้นมผสม และได้ทั้งนมแม่และนมผสม? มีภาวะขาดสังกะสีร้อยละ 14.3 ร้อยละ 5.3 และ ร้อยละ 2.9 ตามลำดับ การศึกษาเดียวกันนี้สรุปว่าปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะขาดสังกะสีของทารกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระดับสังกะสีในเลือดของมารดา ภาวะขาดธาตุสังกะสีของมารดาและระดับสังกะสีในนมแม่1

ภาวะขาดวิตามินดีในทารก

??????????????? วิตามินดี เป็นสารอาหารทีมึในอาหารเพียง 2-3 ชนิด ร่างกายได้รับวิตามืนจาก 3 แหล่ง ได้แก่ การสังเคราะห์ที่ผิวหนังสัมผัสกับรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด จากการรับประทานอาหาร และการเสริมในรูปของสารอาหารโดยตรง วิตามินดีจะออกฤทธิ์โดยถูกเปลี่ยนในตับเป็น 25-hydroxyvitamin D [25(OH)D] หรือเรียกว่า calcidiol และถูกเปลี่ยนในไตเป็น 1,25-dihydroxyvitamin D [1,25(OH)2D] หรือเรียกว่า calcitriol วิตามินดีส่งเสริมการดูดซึมแคลเซียมจากทางเดินอาหาร และคงสภาพความสมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือด ช่วยสร้างเนื้อกระดูก และป้องกัน hypocalcemic tetany รวมทั้งโรคกระดูกอ่อน (rickets)ในเด็ก โรคกระดูกบาง (steomalacia) และโรคกระดูกพรุน (osteoporosis) ในผู้ใหญ่ วิตามินดีทำหน้าที่อื่น ๆ ได้แก่ การดัดแปลงการเจริญของเซลล์เพื่อทำหน้าที่ต่างๆ ช่วยการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ การสร้างภูมิคุ้มกันโรค แลtการลดการอักเสบ เซลล์บางตัวสามารถเปลี่ยน 25(OH)D เป็น 1,25(OH)2D

? ? ? ? ? ? ? ?Serum concentration of 25(OH) D เป็นตัวชี้วัดที่ดีที่สุดสำหรับสภาวะวิตามินดีในร่างกาย โดยเฉพาะวิตามินดีที่สังเคราห์จากแสงแดดและจากอาหาร ซึ่งสามารถหมุนเวียนในร่างกายนาน 15 วัน แต่ไม่สะท้อนระดับวิตามืนดีที่สะสมไว้ในร่างกาย ส่วน 1,25(OH)2D ไม่ช่วยชี้วัดสภาวะวิตามินดีในร่างกายเพราะมีอายุสั้นเพียง 15 ชั่วโมง ระดับของ 1,25(OH)2D ในซีรั่มถูกควบคุมโดย parathyroid hormone, calcium, และ phosphate และลดต่ำลงเมื่อร่างกายขาดวิตามินดีอย่างรุนแรงเท่านั้น

? ? ? ? ? ? ? ? ?ทารกอายุ 0-6 เดือนทั้งเพศชายและเพศหญิงต้องการวิตามินดี 400 IU/10 mcg เมื่ออายุเพิ่มขึ้นเป็น 7-12 เดือนต้องการวิตามินดี 600 IU/15 mcg จนถึงวัยรุ่นและเริ่มเป็นผู้ใหญ่? เด็กที่ไม่ได้รับแสงแดดและได้รับวิตามินดีจากอาหารไม่เพียงพอ จะทำ ให้กระดูกเจริญผิดปกติและเป็นโรคกระดูดอ่อน เด็กที่ขาดวิตามินดีจะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็งและโรคเบาหวานในวัยผู้ใหญ่

??????????????? ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียวและไม่ได้รับวิตามินดีอย่างเพียงพอ จะเพิ่มความเสี่ยงของภาวะขาดวิตามินดีและโรคกระดูกอ่อน ทารกมีความผิดปกติได้ตั้งแต่แรกเกิด ถ้ามารดามีภาวะขาดวิตามินดีตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ และมีระดับวิตามินดีในน้ำนมน้อยกว่าความต้องการของทารก ?ระดับวิตามินดีในนมแม่จะเพิ่มขึ้นจากการเสริมวิตามินดีให้มารดา แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้ปริมาณวิตามินดีในนมแม่สูงถึงระดับที่เป็นอันตรายต่อลูกได้ การให้มารดาได้สัมผัสแสงแดดหรือรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีอย่างเพียงพอ ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์และระยะให้นมบุตร? จะช่วยให้ทารกที่ได้รับนมแม่อย่างเดียว ได้รับวิตามินดีจากนมแม่อย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตามทั้งมารดาและทารกที่มีผิวดำมากๆ ผิวหนังอาจสังเคราะห์วิตามินดีไม่ได้เต็มที่ การได้รับอาหารที่มีวิตามินดีอย่างเพียงพอจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก

? ? ? ? ? ? การศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าโอกาสเกิดภาวะขาดวิตามินดีอย่างรุนแรงมีน้อยมาก? แต่ทารกที่ได้รับนมแม่โดยไม่เสริมวิตามินดี มีภาวะขาดวิตามินดีในฤดูหนาว สูงถึงร้อยละ 78 โดยเฉพาะในชนเผ่าเชื้อชาติอาฟริกา จึงมีข้อแนะนำให้เสริมวิตามินดีในทารกที่ได้รับนมแม่อย่างเดียว

เอกสารอ้างอิง

  1. 1. Dumrongwongsiri O, Suthutvoravut U, Chatvutinun S, et al. Maternal zinc status is associated with breast milk zinc concentration and zinc status in breastfed infants aged 4-6 months. Asia Pac J Clin Nutr 2015;24:273-80.

 

พลังของสื่อทางสังคมในการขับเคลื่อนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? สื่อทางสังคมอาจส่งผลกระทบได้ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ ซึ่งในปัจจุบัน การสื่อสารยังไม่มีกำแพง ทุกคนสื่อถึงกันได้หมด แต่จะทำอย่างไรที่จะยืนยันว่าทุกคนได้รับรู้ ต้องมีกระบวนการตรวจสอบ ดังนั้น การสร้างระบบชลประทานของการสื่อสารที่ดี อยู่ที่นโยบายและการวางแผนที่เหมาะสม ?????????????

? ? ? ? ? ? ? ? การที่สื่อทางสังคมจะประสบความสำเร็จ มีคนเข้าชมมากนั้น ขึ้นอยู่กับรูปแบบการเขียนสารของผู้สื่อที่ตรงกับจริตของผู้รับสารนั้น ความน่าเชื่อถือของผู้สื่อ และผู้รับสารจะเชื่อถือมากขึ้น หากเป็นการสื่อที่มาจากประสบการณ์ตรงของผู้สื่อ นอกจากนี้ ความสม่ำเสมอ และวุฒิภาวะของผู้สื่อยังมีความสำคัญต่อการเลือกเสพสื่อของผู้รับสารด้วย

? ? ? ? ? ? ? ?ขั้นตอนของการทำสื่อทางสังคม ต้องมีการชี้ให้ชัดเจนถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้รับสาร โดยการจะสื่อสารกับใคร ต้องทำให้ตอบสนองความต้องการ (need) ของผู้รับสารได้ การเขียนหรือการพูดด้วยภาษาง่าย ๆ โดยการสื่อประเด็นเดียวอย่างเด่นชัด จะส่งผลให้ผู้รับสารจับประเด็นได้ชัดเจนและไม่พลาดหรือหลงประเด็น ส่วนแรงจูงใจที่จะทำให้คนสนใจเข้ามาเสพสื่อที่ส่งออกไปจะขึ้นอยู่กับ ลีลา จังหวะของการพูดหรือการเขียน อาจสื่อเป็นเรื่องเล่า หรือเป็นวิธีการทำ How to หรือเป็นเรื่องเม้าท์หรือเผือก ก็เป็นที่สนใจของผู้รับสารของสื่อทางสังคม อย่างไรก็ตาม ?สื่อที่สื่อสารออกไปต้องเป็นความจริง?

? ? ? ? ? ? หากจะนำพลังของสื่อทางสังคมมาใช้ในการขับเคลื่อนหรือรณรงค์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ต้องกำหนดเป้าหมายที่จะเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้รับสาร ได้แก่

  • ผู้กำหนดนโยบาย
  • เจ้าหน้าที่ของรัฐ
  • ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • มารดาและครอบครัว
  • ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
  • คนในสังคม

? ? ? ? ? ? ? การที่จะทำยุทธศาสตร์ที่สร้างจากพลังของสื่อทางสังคม ต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์และเนื้อหาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย สอดรับกับนโยบายและยุทธศาสตร์ใหญ่ ควรเลือกประเด็นเดียวที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนที่สุด โดยการตัดสินใจเลือกนั้นต้องอยู่บนฐานของข้อมูลและการศึกษาวิจัย พลังของการขับเคลื่อนอยู่ที่ความพร้อมเพรียงของทุกภาคส่วนที่สื่อในเรื่องเดียวกัน พร้อม ๆ กัน ในรูปแบบของตนเองที่จะสื่อกับกลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการตรงกับผู้สื่อ เมื่อคลื่นของการขับเคลื่อนกระจายไปในทุกกลุ่มเป้าหมาย นั่นคือจะสร้างผลกระทบต่อสังคม และส่งผลต่อพฤติกรรมของคนในสังคมได้

ที่มาจาก การบรรยายของ คุณช่อผกา วิริยานนท์ และ พญ.จิราภรณ์ อรุณากูล ในงานการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวอร์ไซด์