คลังเก็บป้ายกำกับ: ภาวะลิ้นติด ปัญหาที่พบในคลินิกเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โรงพยาบาลศิริราช

ภาวะลิ้นติด ปัญหาที่พบในคลินิกเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โรงพยาบาลศิริราช

?ชญาดา? สามารถ

? ? ? ? ? ? ? ?จากการศึกษาทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลศิริราช พบว่ามีทารกแรกเกิดราวร้อยละ 15 ดูดนมมารดาได้ไม่ดีเนื่องจากภาวะลิ้นติด (Tongue tie)? และหากไม่ทำการแก้ไขโดยเร็ว จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทั้งตัวทารก เช่น ภาวะตัวเหลือง ได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ น้ำหนักไม่ขึ้น หงุดหงิด ร้องกวน เป็นต้น ส่วนในมารดา จะทำให้เกิดภาวะหัวนมเจ็บแตก เต้าคัด ท่อน้ำนมอุดตัน หากให้การรักษาช้า ไม่ถูกวิธีจะทำให้เกิดภาวะเต้าอักเสบหรือเป็นฝีตามมา? ซึ่งทำให้มารดาเกิดความทุกข์ทรมานอาจเลิกล้มความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โรงพยาบาลศิริราชเป็นโรงพยาบาลที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงให้ความสำคัญกับภาวะลิ้นติดกับการดูดนมมารดา และได้พัฒนาเครื่องมือชื่อว่า Siriraj Tongue ?Tie Score (STT score)? เพื่อการติดต่อสื่อสารส่งต่อผู้ป่วยในทีม จะได้เข้าใจกันอย่างถูกต้อง?? นอกจากนี้ยังพัฒนาวิธีการผ่าตัดรักษาพังผืดใต้ลิ้นโดยใช้ยาชาเฉพาะที่แทนการผ่าตัดจากการดมยาสลบ? เพื่อลดความยุ่งยาก และอัตราเสี่ยงจากการดมยาสลบ ที่สำคัญคือทารกสามารถดูดนมแม่ได้ทันทีและกลับบ้านได้ทันทีหลังผ่าตัดเสร็จ

? ? ? ? ? ? ? ? การประเมิน SIRIRAJ? TONGUE-TIE? SCORE (STT SCORE) ประกอบด้วยการให้คะแนนตัวชี้วัดที่สำคัญต่อการดูดนมแม่ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรุนแรงของพังผืดใต้ลิ้น (frenulum) ลักษณะหัวนมแม่ (function, Nipple character) และความรู้สึกของแม่ขณะที่ลูกดูดนม (Sensation) พร้อมกับมีการถามคำถามเรื่อง ?เจ็บหัวนมเวลาลูกดูดนมหรือไม่? เพื่อยืนยันความถูกต้องของข้อมูลที่ได้ เช่น

  1. ถ้าลูกดูดนมได้ดี ลิ้นยื่นมาถึงลานหัวนมได้ตลอดทุกครั้ง คุณแม่ต้องไม่เจ็บหัวนม (ยกเว้นตอนแรกที่เริ่มดูดนมใหม่ ๆ อาจเจ็บหัวนมเล็กน้อยเนื่องจากยัง form teat ได้ไม่ค่อยดี แต่สักพักเมื่อ form teat ดีแล้ว จะต้องไม่เจ็บที่หัวนมเลย)
  2. ถ้าลูกดูดนมได้ไม่ดี เช่นเหงือกงับที่หัวนมอย่างเดียว หรือลิ้นมาถึงแค่บริเวณหัวนม คุณแม่มักจะเจ็บที่หัวนมเสมอ
  3. ถ้าคำตอบเรื่องความเจ็บไม่ไปด้วยกันกับคำตอบเรื่อง Sensation ขอให้อธิบายให้คุณแม่เข้าใจก่อนเริ่มถามใหม่อีกครั้ง หรืออาจรอเมื่อดูดมื้อต่อไปค่อยมาประเมินใหม่ก็ได้เนื่องจากคุณแม่อาจยังเพลียจากการคลอด
  4. ลักษณะคำถาม
  • เริ่มถามว่า ?ตอนที่ลูกดูดนม คุณแม่เจ็บหัวนมหรือไม่?
  • ถามย้ำว่า ?เจ็บ (หรือไม่เจ็บ ตามที่คุณแม่ตอบมา) ตลอดเวลาที่ลูกดูดนมหรือไม่?

แนวทางในการดูแลมารดาและทารกที่มีปัญหาการดูดนมแม่เนื่องจากภาวะลิ้นติดในโรงพยาบาลศิริราช

??????????????? มารดาและทารกที่แข็งแรงดีทุกคู่จะได้รับการส่งเสริมให้ดูดนมแม่เร็วที่สุดตามหลักบันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และได้รับการประเมิน? STT SCORE ภายใน 72 ชั่วโมงหลังคลอดก่อนจำหน่ายกลับบ้าน ซึ่งมี care map ในการดูแลที่ชัดเจน มีการประสานงานระหว่างทีมสหสาขาวิชาชีพทำให้การดูแลรักษากลุ่มปัญหานี้ทำได้รวดเร็วและปลอดภัย?? ? ? ? ? ? ?การแก้ไขปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นเรื่องฉุกเฉิน เร่งด่วน ภาวะลิ้นติดเป็นสิ่งหนึ่งที่ทีมสุขภาพควรตระหนักและให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา? นอกจากนี้ในการให้การดูแลและแก้ไขปัญหาควรสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ? เพื่อให้มารดาผ่อนคลายลดความเครียดพร้อมเปิดใจรับข้อมูลและตัดสินใจรับความช่วยเหลือตามความต้องการ สามารถกลับมาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้เป็นปกติ ถูกวิธี มีความสุขและปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ สามารถดูแลตนเองได้ มีความรู้ และมีทักษะการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง สามารถให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือนและให้นมแม่ร่วมกับอาหารตามวัยจนลูกอายุ 2 ปีหรือนานกว่านั้นอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามนโยบายของประเทศไทยและองค์การอนามัยโลก

เอกสารอ้างอิง

  1. 1. Ballard JL, Auer CE, Khoury JC. Ankyloglossia : assessment, incidence, and effect of frenuloplasty on the breast feeding. Pediatrics 2002; 110: 63-5.
  2. 2. Messner AH, Lalakea ML, Aby J, Macmahon J, Bair E. Ankyloglossia: incidence and associated feeding difficulties. Arch Otolaryngol Head Neck Surg. 2000; 126: 36-9.
  3. 3. เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่:ปัญหาที่พบบ่อยในทารก. ใน.สันติ ปุณณะหิตานนท์, อัญชลี ลิ้มรังสิกุล, น้ำทิพย์ ทองสว่าง. บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: บริษัท แอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด; 406-9.
  4. 4. มงคล เลาหเพ็ญแสง และคณะ. บทคัดย่อเรื่อง การวิจัยเปรียบเทียบผลการรรักษาทารกที่มีปัญหาเรื่องการดูดนมมารดาด้วยการผ่าตัดพังผืดใต้ลิ้นกับการรักษาแบบประคับประคอง. ใน โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, ประชาธิป กะทา, นิลุบล คุณาวัฒน์ และสุภาภรณ์ แซ่ลิ่ม(บรรณาธิการ). การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากงานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research) R2R เสริมพลัง สร้างสรรค์และพัฒนา. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 288.
  5. โสภาพรรณ เงินฉ่ำ, ธิดารัตน์ วงศ์วิสุทธิ์. พังผืดใต้ลิ้น ดูดนมแม่ได้. ใน. พิมล วงศ์ศิริเดช (บรรณาธิการ), สารพัน Newborn Care สไตล์ศิริราช. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ยูเนี่ยนครีเอชั่น; 2553.174-91.

ที่มาจาก การบรรยายและหนังสือประกอบการประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติครั้งที่ 6 ในวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรมมณเฑียร ริเวิอร์ไซด์