คลังเก็บป้ายกำกับ: ภาวะขาดสารอาหารที่ต้องการปริมาณน้อย: ธาตุสังกะสีและวิตามินดี

ภาวะขาดสารอาหารที่ต้องการปริมาณน้อย: ธาตุสังกะสีและวิตามินดี

รศ.พญ.กุสุมา ชูศิลป์

???????????? สารอาหารที่ต้องการปริมาณน้อย (Micronutrients) หมายถึงสารอาหาร ที่ร่างกายต้องการน้อยกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวัน สารอาหารที่ต้องการปริมาณน้อยประกอบด้วย กลุ่มแร่ธาตุ ได้แก่ เหล็ก โคบอลท์ โครเมียม ทองแดง ไอโอดีน แมงกานีส ซีลีเนียม สังกะสี และโมลิบดีนัม และกลุ่มวิตามิน ได้แก่ วิตามินที่ละลายน้ำและวิตามินที่ละลายในไขมัน แม้ร่างกายต้องกาสารอาหารเหล่านี้ในปริมาณน้อย แต่ภาวะขาดสารอาหารที่ต้องการปริมาณน้อย มีผลกระทบที่รุนแรงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในเด็กและหญิงตั้งครรภ์ การได้รับในปริมาณที่มากเกินไปก็มีผลเสียกับสุขภาพเช่นเดียวกัน

? ? ? ? ? ? ?ภาวะขาดสารอาหารที่ต้องการปริมาณน้อยที่พบบ่อยในทารกได้แก่ วิตามินดี วิตามินเค ธาตุเหล็ก วิตามินเอ แคลเซียม และธาตุสังกะสี สาเหตุการขาดสารอาหารที่ค้องการปริมาณน้อย ได้แก่ การได้รับจากอาหารไม่เพียงพอ การดูดซึมลดลงจากภาวะติดเชื้อ หรือโรคอื่น ๆ อาจพบได้บ้างในมารดาและทารกที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม

ภาวะขาดธาตุสังกะสีในทารก

? ? ? ? ? ? ? ?สังกะสีเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับทารกและเด็ก? ร่างกายต้องการอย่างเพียงพอในระยะเริ่มต้นของชีวิต? ธาตุสังกะสีอยู่ในเซลล์ทั่วร่างกาย เพื่อกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ประมาณ 100 ชนิด จำเป็นในการสร้างDNA ที่ใช้ในการแบ่งตัวของเซลล์ สร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย และจำเป็นในการรักษาแผล สังกะสีเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของทารกตั้งแต้ในครรภ์มารดาจนถึงวัยรุ่น แม้ว่าร่างกายต้องการไม่มากนัก แต่ภาวะขาดสังกะสีมีผลกระทบสูงมากต่อร่างกาย ?ร่างกายควรได้รับปริมาณสังกะสีเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น สังกะสีพบอยู่ในอาหารที่รับประทานเป็นประจำ แต่มีปริมาณแตกต่างกันในอาหารแต่ละชนิด? อาหารที่มีสังกะสีสูงมากๆ เช่น ?ข้าวสาลี ตับ เนื้อวัว เนื้อหมู หอยนางรม ไข่ ถั่วลิสง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และ เต้าหู้ ในนมผสมสูตรทารกมีสังกะสี 3.98?0.25 มิลลิกรัมต่อลิตร

? ? ? ? ? ? ? ?ร่างกายควรได้รับปริมาณสังกะสีเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น ทารกอายุ 0-6 เดือนต้องการสักะสี 2 มิลลิกรัมต่อวัน ทารกอายุ 7-12 เดือน และ เด็กอายุ 1-3 ปีต้องการเท่ากัน เพียง 3 มิลลิกรัมต่อวัน ปริมาณสังกะสีที่ได้รับจากอาหารจำกัดสูงสุด ที่? 4 มิลลิกรัมต่อวัน 5มิลลิกรัมต่อวัน และ 7 มิลลิกรัมต่อวัน เมื่ออายุ 0-6 เดือน 7-12 เดือน และ 1-3 ปีตามลำดับ

? ? ? ? ? ? ? ?ระดับสังกะสีในน้ำนมแม่ลดลงตามระยะการสร้างน้ำนมที่นานขึ้น? หัวน้ำนมวันแรกมีสังกะสีสูงสุด 11.0? 2.79 ไมโครกรัมต่อลิตร และลดลงเหลือประมาณ ?6.78? 1.64 มิลลิกรัมต่อลิตร และ 2.95?0.77 มิลลิกรัมต่อลิตร เมื่อทารกอายุ 1 เดือนและ 2 เดือนตามลำดับ เมื่อทารกอายุ 6 เดือนได้รับสังกะสีจากนมแม่ 1.0- 1.5 มิลลิกรัมต่อวัน ในช่วงอายุน้อยกว่า 6 เดือนปริมาณสังกะสีในนมแม่ยังเพียงพอกับความต้องการของทารก แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการตั้งแต่อายุ 7 เดือนขึ้นไป ทารกจึงจำเป็นต้องได้รับอาหารตามวัยที่มีสังกะสีอย่างเพียงพอ

? ? ? ? ? ? ? ? ?ทารกที่มีภาวะขาดสังกะสีส่วนใหญ่มักเกิดจากการได้รับประทานไม่เพียงพอ โดยเฉพาะทารกที่ได้รับนมแม่อย่างเดียว ในประเทศที่กำลังพัฒนา? ทารกตั้งแต่อายุ 4-6 เดือนที่ขาดสังกะสีอาจมีความผิดปกติของภูมิคุ้มกันโรคก่อนมีระดับสังกะสีในพลาสมาต่ำกว่าปกติ (66-83 ไมโครกรัม/เดซิลิตร) ควรสงสัยภาวะขาดสังกะสีในทารกที่มีการเจริญเติบโตช้า โดยเฉพาะทารกที่มีความยาวเทียบอายุต่ำกว่าเกณฑ์ ทารกที่มีการดูดซึมสารอาหารผิดปกติในลำไส้ เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นไขมัน ?ท้องเสียเรื้อรัง ทารกที่มีผื่นแพ้ผิวหนัง ?ทารกที่มีการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อรุนแรงและ/หรือเรื้อรัง ทารกที่มีโรคตับเรื้อรัง โรคไต โรคเลือด และทารกที่มาด้วย ?acrodermatitis enterohepatica ซี่งมักจะเกิดร่วมกับความผิดปกติทางด้านพันธุกรรม หรือความพิการแต่กำเนิด ทารกที่เกิดก่อนกำหนด น้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัมหรือทารกที่มีการเจริญเติบโตอย่างเร็วหลังเกิดจะต้องการสังกะสีเพิ่มขึ้นและเสี่ยงต่อภาวะขาดสังกะสีที่รุนแรงได้

? ? ? ? ? ? ? ? ทารกไทยมีความเสี่ยงสูงต่อภาวะขาดสังกะสี? การศึกษาในทารกอายุ 4-6 เดือน ของ อรพร ดำรงวงสิริและคณะ พบว่า กลุ่มทารกที่ได้รับนมแม่ กลุ่มทารกที่ได้นมผสม และได้ทั้งนมแม่และนมผสม? มีภาวะขาดสังกะสีร้อยละ 14.3 ร้อยละ 5.3 และ ร้อยละ 2.9 ตามลำดับ การศึกษาเดียวกันนี้สรุปว่าปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะขาดสังกะสีของทารกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระดับสังกะสีในเลือดของมารดา ภาวะขาดธาตุสังกะสีของมารดาและระดับสังกะสีในนมแม่1

ภาวะขาดวิตามินดีในทารก

??????????????? วิตามินดี เป็นสารอาหารทีมึในอาหารเพียง 2-3 ชนิด ร่างกายได้รับวิตามืนจาก 3 แหล่ง ได้แก่ การสังเคราะห์ที่ผิวหนังสัมผัสกับรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด จากการรับประทานอาหาร และการเสริมในรูปของสารอาหารโดยตรง วิตามินดีจะออกฤทธิ์โดยถูกเปลี่ยนในตับเป็น 25-hydroxyvitamin D [25(OH)D] หรือเรียกว่า calcidiol และถูกเปลี่ยนในไตเป็น 1,25-dihydroxyvitamin D [1,25(OH)2D] หรือเรียกว่า calcitriol วิตามินดีส่งเสริมการดูดซึมแคลเซียมจากทางเดินอาหาร และคงสภาพความสมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือด ช่วยสร้างเนื้อกระดูก และป้องกัน hypocalcemic tetany รวมทั้งโรคกระดูกอ่อน (rickets)ในเด็ก โรคกระดูกบาง (steomalacia) และโรคกระดูกพรุน (osteoporosis) ในผู้ใหญ่ วิตามินดีทำหน้าที่อื่น ๆ ได้แก่ การดัดแปลงการเจริญของเซลล์เพื่อทำหน้าที่ต่างๆ ช่วยการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ การสร้างภูมิคุ้มกันโรค แลtการลดการอักเสบ เซลล์บางตัวสามารถเปลี่ยน 25(OH)D เป็น 1,25(OH)2D

? ? ? ? ? ? ? ?Serum concentration of 25(OH) D เป็นตัวชี้วัดที่ดีที่สุดสำหรับสภาวะวิตามินดีในร่างกาย โดยเฉพาะวิตามินดีที่สังเคราห์จากแสงแดดและจากอาหาร ซึ่งสามารถหมุนเวียนในร่างกายนาน 15 วัน แต่ไม่สะท้อนระดับวิตามืนดีที่สะสมไว้ในร่างกาย ส่วน 1,25(OH)2D ไม่ช่วยชี้วัดสภาวะวิตามินดีในร่างกายเพราะมีอายุสั้นเพียง 15 ชั่วโมง ระดับของ 1,25(OH)2D ในซีรั่มถูกควบคุมโดย parathyroid hormone, calcium, และ phosphate และลดต่ำลงเมื่อร่างกายขาดวิตามินดีอย่างรุนแรงเท่านั้น

? ? ? ? ? ? ? ? ?ทารกอายุ 0-6 เดือนทั้งเพศชายและเพศหญิงต้องการวิตามินดี 400 IU/10 mcg เมื่ออายุเพิ่มขึ้นเป็น 7-12 เดือนต้องการวิตามินดี 600 IU/15 mcg จนถึงวัยรุ่นและเริ่มเป็นผู้ใหญ่? เด็กที่ไม่ได้รับแสงแดดและได้รับวิตามินดีจากอาหารไม่เพียงพอ จะทำ ให้กระดูกเจริญผิดปกติและเป็นโรคกระดูดอ่อน เด็กที่ขาดวิตามินดีจะเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคมะเร็งและโรคเบาหวานในวัยผู้ใหญ่

??????????????? ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่อย่างเดียวและไม่ได้รับวิตามินดีอย่างเพียงพอ จะเพิ่มความเสี่ยงของภาวะขาดวิตามินดีและโรคกระดูกอ่อน ทารกมีความผิดปกติได้ตั้งแต่แรกเกิด ถ้ามารดามีภาวะขาดวิตามินดีตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ และมีระดับวิตามินดีในน้ำนมน้อยกว่าความต้องการของทารก ?ระดับวิตามินดีในนมแม่จะเพิ่มขึ้นจากการเสริมวิตามินดีให้มารดา แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้ปริมาณวิตามินดีในนมแม่สูงถึงระดับที่เป็นอันตรายต่อลูกได้ การให้มารดาได้สัมผัสแสงแดดหรือรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีอย่างเพียงพอ ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์และระยะให้นมบุตร? จะช่วยให้ทารกที่ได้รับนมแม่อย่างเดียว ได้รับวิตามินดีจากนมแม่อย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตามทั้งมารดาและทารกที่มีผิวดำมากๆ ผิวหนังอาจสังเคราะห์วิตามินดีไม่ได้เต็มที่ การได้รับอาหารที่มีวิตามินดีอย่างเพียงพอจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก

? ? ? ? ? ? การศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าโอกาสเกิดภาวะขาดวิตามินดีอย่างรุนแรงมีน้อยมาก? แต่ทารกที่ได้รับนมแม่โดยไม่เสริมวิตามินดี มีภาวะขาดวิตามินดีในฤดูหนาว สูงถึงร้อยละ 78 โดยเฉพาะในชนเผ่าเชื้อชาติอาฟริกา จึงมีข้อแนะนำให้เสริมวิตามินดีในทารกที่ได้รับนมแม่อย่างเดียว

เอกสารอ้างอิง

  1. 1. Dumrongwongsiri O, Suthutvoravut U, Chatvutinun S, et al. Maternal zinc status is associated with breast milk zinc concentration and zinc status in breastfed infants aged 4-6 months. Asia Pac J Clin Nutr 2015;24:273-80.