คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การจำแนกกลุ่มยาตามประเภทของยาที่ใช้ระหว่างการตั้งครรภ์

w52

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การจำแนกกลุ่มยาตามประเภท ส่วนใหญ่อ้างอิงตามองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา โดยองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้จำแนกกลุ่มยาที่ใช้ระหว่างการตั้งครรภ์ตามความเสี่ยงน้อยไปมาก1 ดังนี้

Category A มีการศึกษาที่ได้รับการควบคุมพบว่าไม่มีความเสี่ยง

Category B ไม่พบหลักฐานว่ามีความเสี่ยงในมนุษย์

Category C ไม่สามารถจะตัดสินได้ว่าไม่มีความเสี่ยง

Category D มีหลักฐานว่ามีความเสี่ยงต่อทารก

Category X ห้ามใช้ในระหว่างการตั้งครรภ์

ในการสืบค้นยา หากบุคลากรทางการแพทย์ได้สืบค้นและได้ประเภทของยาที่ใช้ระหว่างการตั้งครรภ์ ประเภทของยาจะช่วยบอกถึงความเสี่ยงของการใช้ยาระหว่างการตั้งครรภ์ได้ร่วมกับการค้นหาข้อมูลเรื่องความปลอดภัยของยาเพิ่มเติมจะช่วยในการตัดสินใจในการเลือกใช้ยามากขึ้น

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Mehta N, Larson L. Pharmacotherapy in pregnancy and lactation. Clin Chest Med 2011;32:43-52, viii.

?

 

ข้อมูลความปลอดภัยของยาระหว่างการตั้งครรภ์

w52

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ข้อมูลความปลอดภัยของยาระหว่างการตั้งครรภ์ ข้อมูลเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในสัตว์ทดลอง การรายงานจากกรณีศึกษา ส่วนข้อมูลในมนุษย์ยังมีข้อมูลน้อย และยังมีข้อจำกัดว่า ความผิดปกติของทารกที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการใช้ยาหรือเป็นผลมาจากตัวโรคที่เป็นของสตรีตั้งครรภ์1 ดังนั้น แพทย์ผู้ใช้ยาจำเป็นต้องทบทวนข้อมูลความปลอดภัยของยาระหว่างการตั้งครรภ์อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ข้อมูลที่จะนำไปใช้ในการให้คำปรึกษาและวางแผนในการรักษาผู้ป่วยมีความทันสมัยและให้ประโยชน์กับผู้ป่วยสูงสุด

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Mehta N, Larson L. Pharmacotherapy in pregnancy and lactation. Clin Chest Med 2011;32:43-52, viii.

?

 

เภสัชกลศาสตร์ของยาระหว่างการตั้งครรภ์

w52

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เภสัชกลศาสตร์ของยาระหว่างการตั้งครรภ์จะมีความแตกต่างจากสตรีก่อนตั้งครรภ์ โดยในสตรีตั้งครรภ์จะมีภาวะน้ำเลือดเพิ่มขึ้น การกรองของหน่วยไตเพิ่มขึ้น และภาวะอัลบูมินต่ำจากการเจือจาง การดูดซึมของยาชนิดรับประทานจะมีผลเปลี่ยนแปลงจากการที่มีการบีบตัวไล่อาหารในกระเพาะอาหารช้าลง แม้ว่าโดยทั่วไปไม่มีการปรับเปลี่ยนขนาดของยา แต่ยาที่บริหารโดยรับประทานวันละหลายครั้งจะมีช่วงระยะของผลของยายืดออกมากกว่ายาที่รับประทานวันหนึ่งครั้ง1

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Mehta N, Larson L. Pharmacotherapy in pregnancy and lactation. Clin Chest Med 2011;32:43-52, viii.

?

 

ช่วงเวลาที่ปลอดภัยในการให้ยาระหว่างการตั้งครรภ์

w52

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ช่วงเวลาที่ปลอดภัย ทารกจะมีความเสี่ยงเรื่องความผิดปกติทางร่างกายและอวัยวะสูงในช่วงของการตั้งครรภ์ในไตรมาสที่หนึ่ง สำหรับการพัฒนาระบบประสาท พฤติกรรม และอวัยวะบางอย่างอาจจะยังได้รับผลกระทบแม้หลังผ่านไตรมาสที่หนึ่งไปแล้ว มักจะแบ่งช่วงระยะของทารกในครรภ์ขณะที่ได้รับยาเป็นสามระยะ1 คือ

ระยะที่หนึ่งตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึง 14 วัน ระยะนี้หากเซลล์ตัวอ่อนได้รับยาผลจะเป็นตามกฎ all or none คือแท้งหรือไม่มีผลต่อเซลล์ตัวอ่อน

ระยะที่สองตั้งแต่ 14 วันจนถึง 60 วันหลังปฏิสนธิ ระยะนี้จะเป็นช่วงที่ตัวอ่อนพัฒนาและสร้างอวัยวะ ความผิดปกติจะขึ้นอยู่กับยาเฉพาะแต่ละตัวที่จะมีผลเฉพาะในแต่ละช่วงเวลาของการพัฒนาการ เช่น ยา Thalidomide จะมีผลต่อทารกเฉพาะในช่วงตั้งแต่วันที่ 21-36 หลังการปฏิสนธิ Vaproic acid มีผลต่อ neural tube ในช่วงวันที่ 14-27 หลังการปฏิสนธิ

ระยะที่สามตั้งแต่วันที่ 60 หลังปฏิสนธิจนกระทั่งคลอด จะเป็นช่วงที่ทารกมีพัฒนาการในครรภ์ การได้รับยาในช่วงนี้จะมีผลต่อความผิดปกติของร่างกายและอวัยวะน้อยกว่า เช่น การได้รับ angiotension converting enzyme inhibitor ในระหว่างช่วงการตั้งครรภ์ไตรมาสที่สองและสาม จะทำให้เกิดภาวะน้ำคร่ำน้อย ทารกไม่ปัสสาวะ pulmonary hypoplasia ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า และทารกเสียชีวิตได้

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Mehta N, Larson L. Pharmacotherapy in pregnancy and lactation. Clin Chest Med 2011;32:43-52, viii.

?

?

 

การผ่านของยาผ่านรกในระหว่างตั้งครรภ์

w52

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

รกเป็นส่วนที่เชื่อมต่อของสารอาหาร น้ำ รวมทั้งยาที่มารดาได้รับสู่ทารกในครรภ์ โดยทั่วไปยาที่ให้จะผ่านรกด้วยปริมาณที่แตกต่างกัน การที่ทารกจะได้รับยาขึ้นอยู่กับลักษณะของยาในระบบร่างกายมารดา ขนาดโมเลกุล ชนิดของประจุไฟฟ้า และการละลายในไขมันของยา ยาที่จะผ่านรกได้ดีจะมีลักษณะที่จับกับไขมันได้ดี ขนาดโมเลกุลเล็ก และไม่มีประจุในช่วงความเป็นกรดด่างปกติของร่างกาย1

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Mehta N, Larson L. Pharmacotherapy in pregnancy and lactation. Clin Chest Med 2011;32:43-52, viii.

?