คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

มารดากลับไปทำงาน อุปสรรคที่ยิ่งใหญ่สำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

bf53

รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การกลับไปทำงานของมารดา พบเป็นปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 แม้ในองค์การอนามัยโลกที่ดูแลในเรื่องสุขภาพ พนักงานสตรีร้อยละ 44 หยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เนื่องจากการกลับไปทำงาน2 การแก้ไขปัญหาในส่วนนี้จำเป็นต้องมีความร่วมมือของหลายภาคส่วน ได้แก่ ภาคการเมืองหรือภาครัฐ ควรมีการขับเคลื่อนผลักดันให้มี ?การลาพักหลังคลอดหรือการลาเพื่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่? ให้ได้หกเดือนหรือนานขึ้นโดยมารดายังคงได้รับค่าจ้างแรงงาน (อาจจะให้เต็มจำนวนหรือลดลงเป็นสัดส่วนตามระยะเวลา) ซึ่งกฎหมายควรมีการบังคับใช้ได้อย่างจริงจัง ภาคเอกชนควรเห็นประโยชน์ของการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในองค์กร เพื่อช่วยให้บุตรของพนักงานมีความสมบูรณ์และแข็งแรง ลดความวิตกกังวลของพนักงานและการลาพักเพื่อดูแลทารกที่ป่วย เพิ่มกำลังใจ ความจงรักภักดีและการรับรู้ว่าองค์กรให้ความสำคัญกับพนักงานและครอบครัว ซึ่งจะช่วยให้พนักงานมีความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อองค์การดีขึ้น ภาคส่วนของสังคม ควรมีค่านิยมสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ว่าเป็นสิ่งปกติ และเป็นอาหารทางเลือกแรกที่ดีที่สุดและเหมาะสมสำหรับลูก ซึ่งต้องมีการเผยแพร่เพิ่มเติมถึงประโยชน์ในการให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรก และให้ได้ต่อเนื่องพร้อมอาหารเสริมตามวัยไปจนถึงสองปีหรือนานกว่านั้น ซึ่งการจะสื่อให้ทั่วถึงมารดาและครอบครัวจำเป็นต้องใช้สื่อที่หลากหลายเหมาะสมกับจริตของมารดาและครอบครัวที่เข้าถึงได้ เช่น โทรทัศน์ สื่ออินเตอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ เพื่อสร้างการรับรู้และก่อให้เกิดกระแสทางสังคมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Manolerdthewan W, Raungrongmorakot K, Ketsuwan S, Wongin S. Factor effecting on breastfeeding success in infants up to 6 month of age in Nakhon Nayok province. J Med Health Sci 2009;16:116-23.
  2. Iellamo A, Sobel H, Engelhardt K. Working mothers of the World Health Organization Western Pacific offices: lessons and experiences to protect, promote, and support breastfeeding. J Hum Lact 2015;31:36-9.

 

 

ความสำคัญของระยะเวลาการให้การวินิจฉัยและรักษาภาวะลิ้นติด

bf17

รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ภาวะลิ้นติดเป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให้เกิดความยากลำบากในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทารกที่มีลิ้นติดขณะที่อ้าปากอมหัวนมและลานนม จะมีการจำกัดการเคลื่อนที่ของลิ้นที่จะเคลื่อนไปด้านหน้า ทำให้การช่วยกดและทำให้น้ำนมไหลเข้าปากทารกผิดปกติ กลไกการดูดนมเกิดได้ไม่ดี ซึ่งจะส่งเสริมให้ทารกออกแรงดูดและกดบีบเต้านมมากขึ้น เป็นผลให้มารดาเจ็บเต้านม? ปัญหานี้หากได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรกคลอด ซึ่งพบว่า ทารกที่มีภาวะลิ้นติดปานกลางถึงรุนแรง (จากเกณฑ์การวินิจฉัยของ Kotlow) มักมีความเสี่ยงในการเข้าเต้าและดูดนมมากขึ้น1 การให้การรักษาโดยการผ่าตัด frenotomy ซึ่งทำได้ง่าย สามารถทำได้ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก โดยไม่จำเป็นต้องใช้การดมยาสลบทารก จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ แต่หากมีการวินิจฉัยและรักษาที่ล่าช้าเกิน 4 สัปดาห์หลังคลอด มักจะสัมพันธ์กับการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปแล้ว2 การให้ความสำคัญในการตรวจช่องปากทารกดูปัญหาภาวะลิ้นติดของทารกตั้งแต่ระยะแรกหลังคลอดจึงควรทำเป็นประจำ หากไม่สามารถทำให้รักษาในสถานพยาบาลที่ตรวจวินิจฉัยได้ การส่งต่อไปสถานพยาบาลตติยภูมิที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้ ควรทำโดยรวดเร็ว

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.
  2. Donati-Bourne J, Batool Z, Hendrickse C, Bowley D. Tongue-tie assessment and division: a time-critical intervention to optimise breastfeeding. J Neonatal Surg 2015;4:3.

 

การตั้งครรภ์โดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์มีความเสี่ยงสูงในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

BUSIN198

รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในสตรีที่ตั้งครรภ์โดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ส่วนใหญ่สตรีจะมีความผิดปกติของการตกไข่หรือการยากลำยากในการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิ และในกระบวนการช่วยเหลือมักมีการกระตุ้นไข่ เก็บไข่ ฉีดน้ำอสุจิ หรือการช่วยปฏิสนธิในหลอดทดลอง และใส่เซลสืบพันธุ์หรือตัวอ่อนเข้าไปที่ท่อนำไข่หรือในโพรงมดลูก ในขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ มักสร้างความวิตกกังวลหรือความเครียดให้กับมารดาและครอบครัวได้ นอกจากนี้ในมารดาเหล่านี้ยังมีโอกาสที่จะพบโรคประจำตัวที่มีร่วมกับการมีบุตรยาก และมารดามักมีอายุที่มาก ทำให้มีความเสี่ยงที่จะคลอดโดยการผ่าตัดคลอดสูงกว่า ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาที่พบว่ามารดาที่ตั้งครรภ์มีความเสี่ยงในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรกสูงกว่ามารดาที่มีการตั้งครรภ์เองถึง 65.3 เท่า (95% confidence interval: 1.5-2889.3)1 ดังนั้น หากบุคลากรต้องดูแลมารดาที่ตั้งครรภ์โดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ นอกจากต้องระมัดระวังในความเสี่ยงจากการมีโรคประจำตัวต่างๆ แล้ว ยังต้องเอาใจใส่ดูแลและติดตามเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างใกล้ชิด โดยควรมีการนัดติดตามในสัปดาห์แรกเพื่อช่วยแก้ปัญหาที่พบบ่อย ลดความวิตกกังวลและสร้างความมั่นใจซึ่งจะเป็นปัจจัยเสริมที่ช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Cromi A, Serati M, Candeloro I, et al. Assisted reproductive technology and breastfeeding outcomes: a case-control study. Fertil Steril 2015;103:89-94.

 

 

ความอ้วนของมารดากับความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

bf23

รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? มีการศึกษาถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่อ้วนที่คลอดบุตรที่มีน้ำหนักมาก พบว่า ในมารดากลุ่มนี้จะมีการเริ่มต้นและความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้อยกว่ากลุ่มมารดาที่มีน้ำหนักปกติ1 ซึ่งเหตุผลในการที่มีการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่น้อยกว่ามารดากลุ่มที่มีน้ำหนักปกติน่าจะเกิดจากมารดาที่อ้วนและคลอดบุตรที่มีน้ำหนักมากจะมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคลอดและหลังคลอดได้มากกว่ากลุ่มมารดาและทารกที่มีน้ำหนักปกติ โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบได้แก่ การคลอดยาก การคลอดที่ยาวนาน การใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก การผ่าตัดคลอด การใช้หัตถการในการทำคลอด การตกเลือดหลังคลอด ทารกติดไหล่ ทารกเกิดภาวะขาดออกซิเจนระหว่างการคลอด และทารกมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำ ทำให้มารดาหรือทารกอ่อนเพลีย บาดเจ็บ เสียเลือดหรืออยู่ในภาวะที่ไม่มีความพร้อมจะเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อไม่มีความพร้อมความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงน้อยกว่าด้วย สิ่งนี้สื่อให้เห็นว่า ในการเตรียมตัวสำหรับการมีบุตรและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หากมารดาได้มีการวางแผน ควบคุมน้ำหนักให้ดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ นอกจากจะทำให้โอกาสมีการตั้งครรภ์สูงขึ้นแล้ว ผลของการตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะดีกว่า ซึ่งจะทำให้ได้ทารกที่มีคุณภาพที่จะสร้างสรรค์สังคมที่ดีต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Cordero L, Oza-Frank R, Landon MB, Nankervis CA. Breastfeeding Initiation Among Macrosomic Infants Born to Obese Nondiabetic Mothers. Breastfeed Med 2015;10:239-45.

 

 

พันธุกรรมกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

bf37

รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? มนุษย์เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ดังนั้นน้ำนมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับทารกแรกเกิด ข้อสงสัยจึงเกิดขึ้นว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมนุษย์นั้น ปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเลือกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่ และขนาดของเต้านมตามพันธุกรรมมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แตกต่างกันไหม มีการศึกษาถึงเรื่องนี้ในออสเตรเลีย โดยทำการศึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่เป็นแฝดที่เกิดจากไข่ฟองเดียวกันกับมารดาที่เป็นแฝดที่เกิดจากไข่คนละฟองพบว่า การเลือกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่มีความสัมพันธ์กับพันธุกรรม และขนาดของเต้านมไม่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1

? ? ? ? ? ? ? ? จะเห็นว่า แม้มนุษย์จะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่การเลือกเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สิ่งแวดล้อมน่าจะมีอิทธิพลมากกว่าพันธุกรรม และมารดาที่มีพันธุกรรมที่มีขนาดเต้านมใหญ่ไม่ได้มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่แตกต่างจากมารดาที่มีเต้านมเล็ก ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาทางกายวิภาค ซึ่งบ่งชี้ว่า เต้านมขนาดใหญ่มีเพียงไขมันในเนื้อเยื่อของเต้านมมากกว่าเต้านมขนาดเล็ก โดยปริมาณของต่อมน้ำนมไม่ได้แตกต่างกัน ดังนั้น การโฆษณา การให้ข้อมูล และสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ จึงส่งผลต่อความเชื่อและทัศนคติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ปัจจุบันจึงมีความจำเป็นต้องมีการกลั่นกรองข้อมูลที่ได้รับจากสื่อต่างๆ ซึ่งบางสื่อขาดข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ในการสนับสนุน นอกจากนี้ ควรมีการควบคุมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องให้มีมาตรฐานในการให้ข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสมกับบุคลากรทางการแพทย์ผู้ที่จะเป็นกลไกที่สำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Colodro-Conde L, Zhu G, Power RA, et al. A twin study of breastfeeding with a preliminary genome-wide association scan. Twin Res Hum Genet 2015;18:61-72.