ความสำคัญของระยะเวลาการให้การวินิจฉัยและรักษาภาวะลิ้นติด

bf17

รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ภาวะลิ้นติดเป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให้เกิดความยากลำบากในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทารกที่มีลิ้นติดขณะที่อ้าปากอมหัวนมและลานนม จะมีการจำกัดการเคลื่อนที่ของลิ้นที่จะเคลื่อนไปด้านหน้า ทำให้การช่วยกดและทำให้น้ำนมไหลเข้าปากทารกผิดปกติ กลไกการดูดนมเกิดได้ไม่ดี ซึ่งจะส่งเสริมให้ทารกออกแรงดูดและกดบีบเต้านมมากขึ้น เป็นผลให้มารดาเจ็บเต้านม? ปัญหานี้หากได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรกคลอด ซึ่งพบว่า ทารกที่มีภาวะลิ้นติดปานกลางถึงรุนแรง (จากเกณฑ์การวินิจฉัยของ Kotlow) มักมีความเสี่ยงในการเข้าเต้าและดูดนมมากขึ้น1 การให้การรักษาโดยการผ่าตัด frenotomy ซึ่งทำได้ง่าย สามารถทำได้ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก โดยไม่จำเป็นต้องใช้การดมยาสลบทารก จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ แต่หากมีการวินิจฉัยและรักษาที่ล่าช้าเกิน 4 สัปดาห์หลังคลอด มักจะสัมพันธ์กับการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปแล้ว2 การให้ความสำคัญในการตรวจช่องปากทารกดูปัญหาภาวะลิ้นติดของทารกตั้งแต่ระยะแรกหลังคลอดจึงควรทำเป็นประจำ หากไม่สามารถทำให้รักษาในสถานพยาบาลที่ตรวจวินิจฉัยได้ การส่งต่อไปสถานพยาบาลตติยภูมิที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้ ควรทำโดยรวดเร็ว

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.
  2. Donati-Bourne J, Batool Z, Hendrickse C, Bowley D. Tongue-tie assessment and division: a time-critical intervention to optimise breastfeeding. J Neonatal Surg 2015;4:3.