มารดากลับไปทำงาน อุปสรรคที่ยิ่งใหญ่สำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

bf53

รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การกลับไปทำงานของมารดา พบเป็นปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 แม้ในองค์การอนามัยโลกที่ดูแลในเรื่องสุขภาพ พนักงานสตรีร้อยละ 44 หยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เนื่องจากการกลับไปทำงาน2 การแก้ไขปัญหาในส่วนนี้จำเป็นต้องมีความร่วมมือของหลายภาคส่วน ได้แก่ ภาคการเมืองหรือภาครัฐ ควรมีการขับเคลื่อนผลักดันให้มี ?การลาพักหลังคลอดหรือการลาเพื่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่? ให้ได้หกเดือนหรือนานขึ้นโดยมารดายังคงได้รับค่าจ้างแรงงาน (อาจจะให้เต็มจำนวนหรือลดลงเป็นสัดส่วนตามระยะเวลา) ซึ่งกฎหมายควรมีการบังคับใช้ได้อย่างจริงจัง ภาคเอกชนควรเห็นประโยชน์ของการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในองค์กร เพื่อช่วยให้บุตรของพนักงานมีความสมบูรณ์และแข็งแรง ลดความวิตกกังวลของพนักงานและการลาพักเพื่อดูแลทารกที่ป่วย เพิ่มกำลังใจ ความจงรักภักดีและการรับรู้ว่าองค์กรให้ความสำคัญกับพนักงานและครอบครัว ซึ่งจะช่วยให้พนักงานมีความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อองค์การดีขึ้น ภาคส่วนของสังคม ควรมีค่านิยมสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ว่าเป็นสิ่งปกติ และเป็นอาหารทางเลือกแรกที่ดีที่สุดและเหมาะสมสำหรับลูก ซึ่งต้องมีการเผยแพร่เพิ่มเติมถึงประโยชน์ในการให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรก และให้ได้ต่อเนื่องพร้อมอาหารเสริมตามวัยไปจนถึงสองปีหรือนานกว่านั้น ซึ่งการจะสื่อให้ทั่วถึงมารดาและครอบครัวจำเป็นต้องใช้สื่อที่หลากหลายเหมาะสมกับจริตของมารดาและครอบครัวที่เข้าถึงได้ เช่น โทรทัศน์ สื่ออินเตอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ เพื่อสร้างการรับรู้และก่อให้เกิดกระแสทางสังคมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Manolerdthewan W, Raungrongmorakot K, Ketsuwan S, Wongin S. Factor effecting on breastfeeding success in infants up to 6 month of age in Nakhon Nayok province. J Med Health Sci 2009;16:116-23.
  2. Iellamo A, Sobel H, Engelhardt K. Working mothers of the World Health Organization Western Pacific offices: lessons and experiences to protect, promote, and support breastfeeding. J Hum Lact 2015;31:36-9.