คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

แพทย์ทั่วไปขาดความมั่นใจเมื่อต้องแนะนำแม่ให้นมลูก

S__38208149

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ปัจจุบัน การแพทย์หรือโรคต่างๆ มีความซับซ้อน และวิวัฒนาการทางการแพทย์ก็มีเพิ่มขึ้นจนการเรียนรู้ในขณะเป็นนักศึกษาแพทย์อาจได้รับไปเพียงบางส่วน โดยต้องมีการฝึกฝนทักษะเพิ่มเติมเมื่อไปปฏิบัติงานเป็นแพทย์ใช้ทุน เป็นที่ทราบกันดีว่า การพูดหรือคำแนะนำจากแพทย์จะช่วยส่งเสริมและช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ แต่ในเมื่อแพทย์ยังขาดความมั่นใจเมื่อต้องให้คำแนะนำในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากขาดความรู้และขาดทักษะ ซึ่งมีการศึกษาในประเทศนอรเวย์1 สำหรับในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาที่มีรายงานออกมา แต่ยังมีความหลากหลายในการจัดการเรียนการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในแต่ละสถาบัน จึงต้องมีการทบทวนกระบวนการจัดการเรียนการสอนว่า สิ่งใดที่แพทย์จำเป็นต้องมีความรู้และทักษะเมื่อเรียนจบเป็นแพทย์ทั่วไป โดยเฉพาะทางด้านส่งเสริมและป้องกันโรคที่จะช่วยสร้างสุขภาพมากกว่าที่จะติดตามซ่อมสุขภาพหลังจากที่มีการเจ็บป่วยแล้ว

เอกสารอ้างอิง

  1. Svendby HR, Loland BF, Omtvedt M, Holmsen ST, Lagerlov P. Norwegian general practitioners’ knowledge and beliefs about breastfeeding, and their self-rated ability as breastfeeding counsellor. Scand J Prim Health Care 2016;34:122-9.

เมื่อคุณเกิด คุณไม่ควรอยู่โดยปราศจากแม่ คำแนะนำที่ดีและน่านำไปใช้

IMG_1720

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีการช่วยกันส่งเสริมและสนับสนุนในหลายๆ ทาง แต่หลังคลอด คำแนะนำต่างๆ ที่หลากหลายจากหลายๆ ด้าน ครอบครัว เพื่อน และบุคลากรทางการแพทย์อาจทำให้มารดาสับสนและพลาดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปได้ มีการศึกษาการใช้การแนะนำที่บ่งบอกว่า ?เมื่อคุณเกิด คุณไม่ควรอยู่โดยปราศจากแม่” (When you give birth you will not be without your mother)1 ให้แก่มารดาที่คลอดลูกคนแรกโดยช่วยส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ สิ่งนี้บ่งบอกว่า การที่มารดาได้อยู่กับทารก ความสัมพันธ์ผูกพัน สายใยที่เชื่อมโยงจะนำไปสู่การให้นมแม่และความพยายามจะฝ่าฟันอุปสรรคที่จะขัดขวางการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การอยู่ด้วยกันกับลูกจะทำให้มารดาเข้าใจ ทราบถึงลักษณะอาการที่ลูกต้องการสื่อสาร ไม่ว่าจะหิว อิ่ม ปัสสาวะหรืออุจจาระ ซึ่งเป็นสายใยตามธรรมชาติที่เกิดผ่านฮอร์โมนแห่งความรัก (oxytocin) ที่เปิดโอกาสในการสร้างทารกที่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและจิตใจที่อ่อนโยนผ่านกระบวนการกินนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Talbert AW, Ngari M, Tsofa B, et al. “When you give birth you will not be without your mother” A mixed methods study of advice on breastfeeding for first-time mothers in rural coastal Kenya. Int Breastfeed J 2016;11:10.

สัปดาห์นมแม่โลก

IMG_1680

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ในเดือนกันยายนปี ค.ศ. 2015 ผู้นำด้านสุขภาพทั่วโลกมาประชุมกันและวางเป้าหมายการทำงาน ในการร่วมกันรณรงค์เพื่อพิชิตความยากจน สร้างความเจริญก้าวหน้าและปกป้องโลก ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการที่ยั่งยืนในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งทุกคนต่างเห็นร่วมกันว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นเสมือนกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่พัฒนาการที่ยั่งยืนตามเป้าหมายที่กำหนดในปี ค.ศ. 2030 ได้ สมาพันธ์เครือข่ายนมแม่โลก (World Alliances for Breastfeeding Action หรือ WABA) จึงได้กำหนด theme ของสัปดาห์นมแม่โลกในปี ค.ศ.2016 ว่า ?Breastfeeding: a key to sustainable development?1 สัปดาห์นมแม่โลกนั้นถือว่าสัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคมเป็นสัปดาห์นมแม่โลกของทุกปี ซึ่งจะสอดคล้องกับวันแม่ของไทยที่จะจัดในช่วงถัดมาคือในวันที่ 12 สิงหาคม โดยตั้งวัตถุประสงค์ของการรณรงค์เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาการที่ยั้งยืนนั้น ต้องสร้างให้เกิดความรู้ความเข้าใจโดยฝังเข้าไปในจิตใจในเรื่องประโยชน์ความสำคัญและความสัมพันธ์ของนมแม่กับการพัฒนาการที่ยั่งยืนด้วยการกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนทุกระดับร่วมกันทำงาน และเกิดวัฒนธรรมในการปกป้อง ส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่2 สิ่งนี้ชัดเจนในการที่ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกคนที่ต้องสร้างค่านิยมหรือวัฒนธรรมสุขภาพที่ดี เพื่อให้เกิดการพัฒนาการที่ยั่งยืนในปี ค.ศ. 2030 ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

เอกสารอ้างอิง

  1. Taylor J. World Breastfeeding Week 2016: The Academy of Breastfeeding Medicine’s Important Role in Sustainable Development. Breastfeed Med 2016.
  2. Taylor J. The Academy of Breastfeeding Medicine’s New 5-Year Strategic Plan (2016-2020). Breastfeed Med 2016.

ทารกที่กินนมแม่นานเสี่ยงต่อโรคอ้วนน้อยกว่า

IMG_1594

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ในปัจจุบัน พบแนวโน้มของความเสี่ยงการเกิดโรคอ้วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พฤติกรรมการกินและการออกกำลังกายแม้เป็นสิ่งสำคัญ แต่ลักษณะของการกินในวัยทารกก็เป็นสิ่งที่ทำนายเรื่องน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนได้เช่นกัน โดยองค์การอนามัยโลกพบว่า ทารกที่กินนมแม่ในระยะเวลาที่สั้นกว่า จะเสี่ยงต่อการมีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้นมากกว่า นอกจากนี้ มีการศึกษาในทารกแฝดที่กินนมแม่ในระยะเวลาที่ต่างกัน พบว่า ทารกแฝดที่กินนมแม่น้อยกว่า 4 เดือนมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนสูงกว่าทารกแฝดที่กินนมแม่นาน 4-6 เดือน1 ดังนั้น การสร้างสุขภาพที่ดีและลดโรคอ้วนอาจต้องเริ่มต้นที่การสนับสนุนให้ทารกกินนมแม่อย่างเดียวหกเดือนเพิ่มขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Temples HS, Willoughby D, Holaday B, et al. Breastfeeding and Growth of Children in the Peri/postnatal Epigenetic Twins Study (PETS): Theoretical Epigenetic Mechanisms. J Hum Lact 2016;32:481-8.

ทฤษฎีพฤติกรรมจากการวางแผนกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

S__38208166

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงหลังคลอดนั้น มีการอธิบายถึงพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่สามารถจะทำนายได้ด้วยทฤษฎีพฤติกรรมจากการวางแผน (Theory of planned behavior) โดยมารดาที่วางแผนตั้งใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะมีทัศนคติที่ดีและพฤติกรรมที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ความตั้งใจนั้นทำนายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวได้ถูกต้องได้เพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนมารดาทั้งหมด (ร้อยละ 51) การจะเพิ่มผลของการทำนายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว อาจต้องเพิ่มเติมปัจจัยด้านการสนับสนุนของบุคลากรทางการแพทย์และคนรอบข้างร่วมกับความสามารถทางด้านทักษะในการแก้ปัญหาเมื่อพบอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งจะช่วยผลการทำนายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 161 ดังนั้น สิ่งนี้แสดงถึงผลของการให้การสนับสนุน การสอนทักษะการแก้ปัญหาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และติดตามดูแลอย่างต่อเนื่องของบุคลากรทางการแพทย์มีความสำคัญในการช่วยให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนสำเร็จ ซึ่งการดูแลยังคงต้องมีความต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนให้ทารกมีโอกาสได้กินนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมตามวัยจนกระทั่งสองปีหรือนานกว่านั้นด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Tengku Ismail TA, Wan Muda WA, Bakar MI. The extended Theory of Planned Behavior in explaining exclusive breastfeeding intention and behavior among women in Kelantan, Malaysia. Nutr Res Pract 2016;10:49-55.