คลังเก็บหมวดหมู่: การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การดูแลการคลอดโดยใช้ข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์

การให้ลูกกินนมบ่อยช่วยลดอาการตัวเหลือง

IMG_1226

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? อาการตัวเหลืองที่พบในทารกแรกมีสาเหตุได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ การที่หมู่เลือดของแม่ไม่เข้ากับลูก ภาวะขาดเอนไซม์ G6PD ภาวะติดเชื้อ และที่พบได้บ่อยคือ การที่ทารกกินนมแม่ไม่เพียงพอ ซึ่งในสาเหตุที่ทารกกินนมแม่ไม่เพียงพอนั้น หากมารดาได้รับการกระตุ้นให้ลูกดูดนมตั้งแต่ในระยะแรกภายในหนึ่งชั่วโมงหลังคลอดจะช่วยให้น้ำนมมาเร็ว การให้นมแม่บ่อย ๆ วันละ 8-12 ครั้ง จะป้องกันการเกิดภาวะน้ำหนักลดลงมากในทารกแรกเกิด ช่วยให้ทารกขับถ่ายได้ดี ซึ่งการขับถ่ายบ่อย ๆ จะช่วยลดสารที่ทำให้เกิดอาการเหลืองในทารกได้1 ดังนั้น การวางแผนการให้นมลูกหลังคลอด ควรดูแลให้มีการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เร็ว ให้นมลูกบ่อยและมีการติดตามตรวจน้ำหนักทารกเป็นระยะ ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดทารกแรกเกิดตัวเหลืองได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Boskabadi H, Zakerihamidi M. The correlation between Frequency and Duration of Breastfeeding and the Severity of Neonatal Hyperbilirubinemia. J Matern Fetal Neonatal Med 2017:1-14.

 

Case study 54

img_2187

Case study 54

การติดเชื้อไวรัสที่หัวนมในระหว่างการให้นมลูก

IMG_1078

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? การติดเชื้อไวรัสที่หัวนม อาจเป็นสาเหตุของการเจ็บหัวนมของมารดาที่พบระหว่างให้นมลูกได้ โดยการติดเชื้อที่พบคือ Herpes Simplex หรือในภาษาไทยเรียกว่า ?เริม? และ Herpes Zoster หรือในภาษาไทยมักใช้คำที่เรียกที่คุ้นเคยว่า ?งูสวัด? ทั้งสองชนิดนี้เกิดจากเชื้อในกลุ่มเดียวกันที่เมื่อเกิดการติดเชื้อไปแล้ว หลังจากอาการหาย เชื้อจะสามารถหลบซ่อนอยู่ที่ปลายประสาท เมื่อมารดาอ่อนแอหรือภูมิคุ้มกันลดลง เชื้อนี้จะก่อให้เกิดอาการกลับมาใหม่ โดยจะเป็นตุ่มใส คัน หรือมีการอักเสบแดง ตุ่มน้ำอาจจะแตก มีอาการแสบและปวดร้าวไปตามปลายประสาท เชื้อนี้อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในทารกและเกิดอันตรายต่อทารกได้ การติดเชื้อจะติดจากน้ำเหลืองหรือน้ำจากตุ่มใสที่แตกออกมา การหลีกเลี่ยงการให้นมลูกหากบริเวณหัวนมของมารดามีตุ่มหรือมีแผลมีความจำเป็น โดยทารกยังสามารถดูดนมจากเต้านมอีกข้างที่ไม่มีการติดเชื้อได้ และเมื่อแผลแห้ง มารดาสามารถกลับมาให้นมแม่ได้ตามเดิม ส่วนใหญ่อาการของโรคมักหายภายใน10-14 วัน ระหว่างที่หยุดให้ลูกดูดนมในเต้านมข้างที่มีอาการ อาจมีความจำเป็นต้องบีบน้ำนมหรือปั๊มนมออกเพื่อคงการสร้างน้ำนมให้มีอย่างต่อเนื่อง สำหรับการป้องกันการติดเชื้อนี้ สามารถป้องกันโดยการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้ออีสุกอีใสซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดงูสวัดที่ผิวหนังตามมา สำหรับการป้องกันการติดเชื้อเริม เนื่องจากเริมเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จึงควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์จากหลายคู่นอนที่จะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.

การติดเชื้อราที่หัวนมในระหว่างการให้นมลูก

IMG_1221

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การติดเชื้อราที่หัวนม อาจเป็นสาเหตุของการเจ็บหัวนมของมารดาที่พบระหว่างให้นมลูกได้ โดยการติดเชื้อที่พบคือ Candida นมแม่ไม่ได้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ดังนั้นการตรวจพบเชื้อราในกรณีที่มารดาไม่มีอาการใดๆ อาจไม่บ่งบอกถึงการติดเชื้อรา อย่างไรก็ตาม การเพาะเชื้อราตรวจยังคงใช้ในการวินิจฉัย แม้มีบางรายงานไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างอาการเจ็บหัวนมของมารดากับการเพาะเชื้อที่พบเชื้อรา

? ? ? ? ? ? ?การติดเชื้อราที่หัวนม มีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้

  • การที่มารดามีประวัติการติดเชื้อราที่เต้านมมาก่อน
  • ทารกมีฝ้าขาวในปากหรือมีการติดเชื้อราในปาก
  • ประวัติการใช้ยาปฏิชีวนะของมารดาหรือทารกในช่วงระยะเวลาใกล้ๆ กับการเกิดอาการ

? ? ? ? ? ?จากปัจจัยเสี่ยง การป้องกันการติดเชื้อรานั้น ควรหลีกเลี่ยงการยาใช้ปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสม ซึ่งจะไปรบกวนเชื้อแบคทีเรียประจำถิ่นที่อยู่บริเวณผิวหนังที่เต้านมที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อราได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Berens P, Eglash A, Malloy M, Steube AM. ABM Clinical Protocol #26: Persistent Pain with Breastfeeding. Breastfeed Med 2016;11:46-53.