เรื่องทั้งหมดโดย OB-GYN

การที่แม่ทำงานน้อยในช่วงให้นมบุตรจะช่วยเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

img_2109

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? การกลับไปทำงานหลังคลอดเป็นปัญหาที่สำคัญและเป็นปัญหาใหญ่ที่กระทบต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน เนื่องจากการที่มารดาต้องกลับไปทำงานต้องมีการวางแผนที่จะให้ลูกได้กินนมแม่ โดยเฉพาะหากต้องการที่จะให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว ยิ่งต้องมีการวางแผนที่ดี ซึ่งมารดาอาจพบอุปสรรคต่างๆ ที่ต้องแก้ปัญหา เช่น การเดินทางกลับมาให้นมลูก การบีบน้ำนมหรือการปั๊มนมเก็บไว้ให้ลูก การฝึกผู้ที่ดูแลให้สามารถให้นมแม่ที่เก็บแช่แข็งไว้ได้อย่างเหมาะสม มีการศึกษาถึงชั่วโมงการทำงานของมารดาหลังการกลับไปทำงานและความสัมพันธ์กับการเลี้ยงลุกด้วยนมแม่ พบว่า หากมารดาหลังการกลับไปทำงานแล้ว ชั่วโมงของการทำงานน้อยกว่า 19 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จะไม่ส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แม้มารดาต้องกลับไปทำงาน1 นั่นคือ หากทำงาน 5 วันจะทำงานประมาณวันละ 4 ชั่วโมงหรือครึ่งวัน ซึ่งเป็นเรื่องน่าสนใจและท้าทายที่หากสามารถลดเวลาทำงานของมารดาในช่วงที่มารดาให้นมบุตรได้ จะช่วยในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้เป็นการศึกษาในประเทศออสเตรเลีย การนำมาปรับใช้ในประเทศไทยเป็นเรื่องที่ต้องการการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป? เนื่องจากอาจมีบริบทหลายอย่างที่แตกต่างกัน รัฐบาลหรือผู้ที่มีบทบาทในการส่งเสริมหรือสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงอาจมองเห็นแนวทางในการลดอุปสรรคของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากการกลับไปทำงานของมารดา ซึ่งหากสามารถมีนโยบายสาธารณะที่ลดการทำงานของมารดาในช่วงให้นมบุตรได้ เด็กไทยจะมีโอกาสได้กินนมแม่มากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Xiang N, Zadoroznyj M, Tomaszewski W, Martin B. Timing of Return to Work and Breastfeeding in Australia. Pediatrics 2016;137.

แม่ที่เป็นแม่บ้านถุงพลาสติกอาจเสี่ยงต่อการมีลูกที่มีบุตรยาก

img_2126

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?แม่ที่เป็นแม่บ้านในยุคปัจจุบันมักซื้ออาหารรับประทานโดยเป็นอาหารที่ใส่ในถุงพลาสติก ซึ่งจะมีความเสี่ยงในการได้รับสารพิษที่มักใช้ในการทำละลายพลาสติกได้แก่ di-n-butyl phthalate หรือ DBP ซึ่งหากได้รับสารนี้ในปริมาณที่มากที่จะผลเสียต่อร่างกายมารดาขณะตั้งครรภ์อาจมีความเสี่ยงในการเกิดความพิการหรือความผิดปกติของทารก และยังเป็นสารก่อมะเร็งด้วย นอกจากนี้ ในมารดาที่ได้รับสาร DBP ขณะให้นมลูก สารเหล่านี้จะผ่านไปยังทารก มีรายงานว่าทำให้เกิดความผิดปกติในฮอร์โมนเพศของทารกเพศหญิงในสัตว์ทดลอง ซึ่งอาจทำให้มีผลต่อการมีลูกยากในอนาคต1 ดังนั้น การที่สภาพสังคมในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป การใช้ชีวิตเพิ่งพาถุงพลาสติกมากขึ้น อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราพบปัญหาของการมีบุตรยากเพิ่มขึ้นกว่าในสมัยก่อนได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Xie Z, Wang J, Dai F, et al. Effects of maternal exposure to di-n-butyl phthalate during pregnancy and breastfeeding on ovarian development and function of F1 female rats. Environ Toxicol Pharmacol 2016;43:38-43.

ขยะอิเลคทรอนิคส์ส่งผลกระทบต่อนมแม่

img_2188

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ในความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน มีการใช้เครื่องไฟฟ้า อุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ที่หลากหลายมากมายในชีวิตประจำวัน ซึ่งในอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์เหล่านี้อาจส่งผ่านสารพิษที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมรวมทั้งมีผลกระทบต่อสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยในอุปกรณ์ไฟฟ้าหรืออิเลคทรอนิคส์ที่มีสาร Polybrominated diphenyl ethers หรือ PBDE จะมีการกระจายของสารเหล่านี้ออกจากอุปกรณ์ไฟฟ้าหรืออิเคลทรอนิคส์เมื่ออุปกรณ์เหล่านี้มีอุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้พบสารพิษเหล่านี้ในสิ่งแวดล้อมต่างๆ เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนม รวมถึงในนมแม่ ซึ่งสารพิษเหล่านี้มีผลกระทบต่อการทำงานของฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกาย ได้แก่ ไทรอยด์ฮอร์โมน และเอสโตรเจน ซึ่งอาจมีผลต่อการเจริญเติบโต พฤติกรรม และการแสดงออกทางเพศที่พบมีการเบี่ยงเบนทางเพศที่หลากหลายในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นสารที่กระตุ้นเกิดความผิดปกติของโครโมโซม ทำให้เกิดมะเร็ง ดังนั้นในปัจจุบัน จึงพยายามหลีกเลี่ยงการใช้สารเหล่านี้ในอุปกรณ์ไฟฟ้าหรืออิเลคโทรนิคส์ อย่างไรก็ตาม มีการสำรวจสารเหล่านี้ในนมแม่ของมารดาในประเทศจีน และพบว่ามารดาที่รับประทานเนื้อสัตว์สูงอาจมีแนวโน้มจะพบสารพิษเหล่านี้สูงด้วย1 การให้ความสนใจใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมจึงมีความจำเป็นนอกเหนือจากการดูแลส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Yang L, Lu Y, Wang L, Chang F, Zhang J, Liu Y. Levels and Profiles of Polybrominated Diphenyl Ethers in Breast Milk During Different Nursing Durations. Bull Environ Contam Toxicol 2016;97:510-6.

 

นมแม่มีสารที่ช่วยในการเจริญเติบโตของหลอดเลือด

img_2132

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? นมแม่มีสารต่างๆ มากมายกว่า 200 ชนิด ทั้งที่ทราบว่าเป็นประโยชน์ต่อทารกและยังไม่ทราบว่ามีประโยชน์อย่างไร เมื่อเร็วๆ นี้มีการศึกษาพบว่าในนมแม่มีสารที่ช่วยในการเจริญเติบโตของหลอดเลือด (angiogenesis) ซึ่งกระตุ้นการเจริญเติบโตของหลอดเลือด โดยจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งในด้านการเจริญเติบโต พัฒนาการและการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และพบว่านมแม่ของมารดาที่คลอดก่อนกำหนดจะมีโปรตีนที่ช่วยในการเจริญเติบโตของหลอดเลือด (angioproteins) ชนิดที่ 1 ต่ำกว่าในนมแม่ของมารดาที่คลอดครบกำหนด ขณะที่โปรตีนที่ช่วยในการเจริญเติบโตของหลอดเลือดชนิดที่ 2 ไม่พบว่ามีความแตกต่างกัน1 อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบถึงเหตุผลของระดับของโปรตีนที่ช่วยในการเจริญเติบโตของหลอดเลือดที่มีระดับแตกต่างกันในมารดาที่คลอดก่อนกำหนดและมารดาที่คลอดครบกำหนด ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Yesildal F, Koc E, Tas A, Ozgurtas T. Angiopoietins in Human Breast Milk. Breastfeed Med 2016;11:366-9.

ทารกที่มีมารดาอ้วนจะมีโอกาสอ้วนน้อยกว่าหากกินนมแม่

img_2114

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

  1. ? ? ? ? ? ? ? ?การที่มารดาอ้วนจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดทารกที่มีภาวะอ้วนเพิ่มขึ้น และระหว่างการตั้งครรภ์จะมีภาวะแทรกซ้อนได้บ่อยกว่ามารดาที่มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ ภาวะแทรกซ้อนที่พบเพิ่มขึ้นได้แก่ เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ การคลอดยาก ทารกตัวโต ทารกคลอดติดไหล่ ทารกมีภาวะน้ำตาลต่ำ การตกเลือดหลังคลอด การติดเชื้อหลังคลอด ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ อาจทำให้มารดาเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ช้า ร่วมกับการที่มารดามีภาวะอ้วนจะส่งผลต่อระดับของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งจะมีผลทำให้นมแม่มาช้า (delayed lactogenesis) จึงมักพบว่า มารดาที่มีภาวะอ้วนจะเริ่มให้นมลูกได้ช้าและมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำกว่ามารดาที่มีดัชนีมวลกายปกติ อย่างไรก็ตาม หากมารดาสามารถเริ่มต้นการกระตุ้นดูดนมได้เร็วคือ ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดจะช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ และในมารดาที่มีภาวะอ้วนหากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ลูกที่กินนมแม่จะมีโอกาสที่จะเกิดภาวะอ้วนได้น้อยกว่ามารดาที่ให้ลูกกินนมผงดัดแปลงสำหรับทารก1

เอกสารอ้างอิง

  1. Yeung H, Leff M, Rhee KE. Effect of Exclusive Breastfeeding Among Overweight and Obese Mothers on Infant Weight-for-Length Percentile at 1 Year. Breastfeed Med 2016.