เรื่องทั้งหมดโดย OB-GYN

มะเร็งไทรอยด์ป้องกันได้โดยให้ลูกกินนมแม่

img_2198

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?มะเร็งไทรอยด์เป็นมะเร็งที่พบมากขึ้นในช่วงสิบปีที่ผ่านมาโดยเฉพาะในสตรี โดยขณะตั้งครรภ์ ต่อมไทรอยด์ทำงานเพิ่มขึ้น และฮอร์โมนเอสโตรเจนมีผลต่อเซลล์มะเร็งไทรอยด์ ดังนั้น จึงมีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับมะเร็งไทรอยด์ ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ข้อมูลจากหลายงานวิจัย (meta-analysis) พบว่า มารดาที่เคยให้ลูกกินนมแม่จะมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งไทรอยด์ลดลงร้อยละ 9?โดยหากมารดาให้ลูกกินนมแม่เพิ่มขึ้นทุกหนึ่งเดือนจะลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งไทรอยด์ลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 1 จะเห็นว่า การให้ลูกกินนมแม่นั้น ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหลายอย่างในมารดา ได้แก่ มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม และรวมถึงมะเร็งไทรอยด์ด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Yi X, Zhu J, Zhu X, Liu GJ, Wu L. Breastfeeding and thyroid cancer risk in women: A dose-response meta-analysis of epidemiological studies. Clin Nutr 2016;35:1039-46.

การเยี่ยมบ้านติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน

S__45850763

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?ความใกล้ชิดและการดูแลอย่างต่อเนื่องหลังคลอดในชุมชน โดยเฉพาะการเยี่ยมบ้าน หากสามารถทำได้ในสัปดาห์แรกหลังคลอดจะช่วยในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากหลังจากการที่มารดาออกจากโรงพยาบาล เมื่อกลับมาที่บ้าน สิ่งแวดล้อมที่บ้าน บางส่วนอาจจะสนับสนุนการให้ลูกได้กินนมแม่ แต่บางส่วนอาจเป็นปัญหาหรืออุปสรรคในการที่มารดาจะดูแลให้ลูกได้กินนมแม่ ซึ่งการที่บุคลากรทางการแพทย์ได้เข้าไปเยี่ยมบ้านของมารดา ทราบบรรยากาศ ข้อจำกัด ปัญหาและอุปสรรคของมารดาที่ต้องเผชิญเมื่ออยู่ที่บ้าน จะทำให้สามารถให้คำแนะนำและให้คำปรึกษา รวมทั้งทางเลือกต่างๆ ในการดูแลทารกได้อย่างเหมาะสมกว่า มีการศึกษาเปรียบเทียบการดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการเจริญเติบโตของทารกที่ติดตามดูแลที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลกับที่ติดตามดูแลในศูนย์สุขภาพในชุมชน พบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในการติดตามดูแลที่ศูนย์สุขภาพชุมชนมีอัตราที่สูงกว่า1 สิ่งนี้แสดงถึง ความใกล้ชิดและความเข้าใจในสิ่งแวดล้อม การแก้ปัญหาและลดอุปสรรคที่อาจจะเข้าถึงได้มากกว่าในศูนย์สุขภาพชุมชน ซึ่งส่งผลต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ดีกว่า

เอกสารอ้างอิง

  1. Yu C, Binns CW, Lee AH. Comparison of breastfeeding rates and health outcomes for infants receiving care from hospital outpatient clinic and community health centres in China. J Child Health Care 2016;20:286-93.

การกำหนดตัวชี้วัดเรื่องนมแม่ในหอทารกแรกเกิดวิกฤต

IMG_1548

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การให้ความสนใจกับทารกแรกเกิดที่ป่วยหรือต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดที่หอทารกแรกเกิดวิกฤต (newborn intensive care unit หรือ NICU) เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องมีการให้ความสำคัญเพิ่มขึ้นในการดูแลสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในปัจจุบัน เพื่อเป็นส่วนช่วยในการเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เกิดมากขึ้นในการดูแลทารกแรกเกิด โดยเฉพาะภาวะทารกคลอดก่อนกำหนด จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนเพื่อกำหนดตัวชี้วัดที่จะใช้ติดตามการดำเนินงาน เพื่อการประเมินและพัฒนากระบวนการหรือรูปแบบการให้บริการรวมทั้งเพื่อสร้างมาตรฐานในการเป็นหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤตที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาการใช้กลุ่มของตัวชี้วัดจากการบริหารจัดการการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของหอทารกแรกเกิดวิกฤต ตัวชี้วัดจากพฤติกรรมของทารกในการกินนมแม่ที่หอทารกแรกเกิดวิกฤต และการเตรียมความพร้อมและทักษะของมารดาในการให้นมแม่แก่ทารกที่หอทารกแรกเกิดวิกฤต1 นำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินงานสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่หอทารกแรกเกิดวิกฤต นอกจากความพร้อมและความตั้งใจของมารดาและครอบครัวแล้ว การให้การสนับสนุนห้องให้นมแม่ในบริเวณหอทารกแรกเกิดวิกฤต การสนับสนุนในเรื่องที่พักให้มารดาสามารถอยู่ร่วมกับทารกตลอด 24 ชั่วโมง และการมีทีมงานที่มีทักษะที่จะช่วยเหลือมารดาให้สามารถให้นมแม่แก่ทารกได้มีความจำเป็น ซึ่งสิ่งเหล่าต้องการการเห็นความสำคัญของผู้บริหารที่จะจัดสรรทรัพยากร รวมทั้งพัฒนาทีมบุคลากรให้มีสมรรถนะที่เหมาะสมและมีจำนวนพอเพียงในการช่วยเหลือมารดา ติดตามและดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในความสำเร็จในการให้ลูกได้กินนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Yu X, Sun H, Lin X, Liu X. Breastfeeding Evaluation Indicators System is a Promising Evaluation Tool for Preterm Infants in Neonatal Intensive Care Units (NICU). Med Sci Monit 2016;22:4009-16.

การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อช่วยลดความเครียดของมารดา

56

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?ประโยชน์ของการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อทันทีหลังการคลอดบุตรมีประโยชน์หลายอย่างต่อทารกที่เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว คือ การสัมผัสผิวระหว่างมารดากับทารกจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของระบบประสาท ช่วยให้ทารกควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้ดีลดปัญหาเรื่องทารกตัวเย็น ลดภาวะเครียดให้กับทารกจากการปรับตัวจากสิ่งแวดล้อมในครรภ์มาเผชิญกับสิ่งแวดล้อมนอกมดลูก ซึ่งการลดภาวะเครียดของทารกจะทำให้ทารกไม่มีการใช้พลังงานสูง ระดับน้ำตาลที่จะใช้สร้างพลังงานจึงไม่ได้ใช้ไปมาก จึงช่วยลดการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำในทารกแรกเกิดด้วย นอกจากนี้ การโอบกอดเนื้อแนบเนื้อยังช่วยสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารก ทำให้เกิดความรักความผูกผันซึ่งกันและกัน โดยผ่านฮอร์โมนแห่งความรัก ได้แก่ ออกซิโตซิน ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันของทารกให้ดีขึ้นจากการแลกเปลี่ยนแบคทีเรียที่ผิวหนังของมารดากับทารก ซึ่งจะเป็นการสร้างแบคทีเรียถิ่นที่ผิวหนังของทารกที่จะช่วยป้องกันแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรค สำหรับประโยชน์แก่มารดา มีการศึกษาพบว่า มารดาที่โอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อและให้ทารกได้เริ่มกินนมหลังการผ่าตัดคลอดช่วยในลดความเครียดให้กับมารดาได้1 ซึ่งสิ่งนี้แสดงถึงประโยชน์ของการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อที่นอกจากมีประโยชน์แก่ทารกแล้ว ยังให้ประโยชน์กับมารดาด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Yuksel B, Ital I, Balaban O, et al. Immediate breastfeeding and skin-to-skin contact during cesarean section decreases maternal oxidative stress, a prospective randomized case-controlled study. J Matern Fetal Neonatal Med 2016;29:2691-6.

 

การแพทย์ทางเลือกช่วยส่งเสริมนมแม่

IMG_1696

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?การเลือกการดูแลรักษาด้วยการแพทย์สนับสนุน (complementary medicine) หรือการแพทย์ทางเลือก (alternative medicine) มีเพิ่มขึ้นในการดูแลรักษาโรคและส่งเสริมสุขภาพรวมทั้งการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย แนวโน้มของกระแสการดูแลด้วยการใช้การแพทย์ผสมผสานที่ใช้ทั้งศาสตร์ของการแพทย์แผนปัจจุบันร่วมกับการใช้สมุนไพร การผ่อนคลาย ก็มีมากขึ้น ร่วมกับมีการใช้การแพทย์ทางเลือก เช่น การฝังเข็ม ให้เป็นทางเลือกในการดูแลรักษาก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเช่นกัน มีการศึกษาว่า การใช้การแพทย์สนับสนุนและการแพทย์ทางเลือกช่วยในการกระตุ้นนมแม่ในมารดาที่คลอดใกล้ครบกำหนดหรือเพิ่งเริ่มครบกำหนดว่ามีความปลอดภัยและอาจช่วยกระตุ้นนมแม่ได้

? ? ? ? ? ? ? สำหรับสมุนไพรไทย ได้แก่ ขิง ก็พบว่าเป็นสิ่งดีๆ ที่มีคุณค่า โดยพบว่าสามารถช่วยกระตุ้นนมแม่ได้ในระยะแรกหลังคลอดได้1 นอกจากนี้ การประคบเต้านมด้วยลูกประคบ การนวดเต้านมและ/หรือการบีบน้ำนมด้วยมือยังช่วยในการลดการตึงคัดเต้านมได้2 ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ไม่ควรละเลยการให้ความสนใจในศาสตร์ของการแพทย์สนับสนุนและการแพทย์ทางเลือก ที่อาจเป็นหนทางหนึ่งในการช่วยเหลือมารดาให้สามารถให้นมแม่ได้ และควรส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยให้เกิดองค์ความรู้และหลักฐานเชิงประจักษ์ในศาสตร์เหล่านี้เพิ่มขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Paritakul P, Ruangrongmorakot K, Laosooksathit W, Suksamarnwong M, Puapornpong P. The Effect of Ginger on Breast Milk Volume in the Early Postpartum Period: A Randomized, Double-Blind Controlled Trial. Breastfeed Med 2016;11:361-5.
  2. Witt AM, Bolman M, Kredit S. Mothers Value and Utilize Early Outpatient Education on Breast Massage and Hand Expression in Their Self-Management of Engorgement. Breastfeed Med 2016;11:433-9.