ทารกที่มีมารดาอ้วนจะมีโอกาสอ้วนน้อยกว่าหากกินนมแม่

img_2114

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

  1. ? ? ? ? ? ? ? ?การที่มารดาอ้วนจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดทารกที่มีภาวะอ้วนเพิ่มขึ้น และระหว่างการตั้งครรภ์จะมีภาวะแทรกซ้อนได้บ่อยกว่ามารดาที่มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ ภาวะแทรกซ้อนที่พบเพิ่มขึ้นได้แก่ เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ การคลอดยาก ทารกตัวโต ทารกคลอดติดไหล่ ทารกมีภาวะน้ำตาลต่ำ การตกเลือดหลังคลอด การติดเชื้อหลังคลอด ซึ่งภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ อาจทำให้มารดาเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ช้า ร่วมกับการที่มารดามีภาวะอ้วนจะส่งผลต่อระดับของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งจะมีผลทำให้นมแม่มาช้า (delayed lactogenesis) จึงมักพบว่า มารดาที่มีภาวะอ้วนจะเริ่มให้นมลูกได้ช้าและมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำกว่ามารดาที่มีดัชนีมวลกายปกติ อย่างไรก็ตาม หากมารดาสามารถเริ่มต้นการกระตุ้นดูดนมได้เร็วคือ ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอดจะช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ และในมารดาที่มีภาวะอ้วนหากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ลูกที่กินนมแม่จะมีโอกาสที่จะเกิดภาวะอ้วนได้น้อยกว่ามารดาที่ให้ลูกกินนมผงดัดแปลงสำหรับทารก1

เอกสารอ้างอิง

  1. Yeung H, Leff M, Rhee KE. Effect of Exclusive Breastfeeding Among Overweight and Obese Mothers on Infant Weight-for-Length Percentile at 1 Year. Breastfeed Med 2016.