เรื่องทั้งหมดโดย OB-GYN

วิธีการจัดให้มารดาโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ

42

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

-ทำได้โดยอุ้มทารกมาไว้ที่หน้าอกมารดาทำโดยต้องไม่ห่อตัวทารก โดยมารดาต้องเปิดเสื้อผ้าในบริเวณที่สัมผัสหรือหน้าอกให้เพียงพอ สำหรับการที่จะคลุมผ้าเพื่อความอบอุ่น จะคลุมทั้งทารกและมารดาไปพร้อมกัน ให้สัมผัสมารดาและทารกเนื้อแนบเนื้อ ซึ่งคลุมผ้านี้จะคล้ายกับการให้ลูกอย่างในถุงหน้าท้องของจิงโจ้ที่เรียก Kangaroo care การที่ทารกได้สัมผัสผิวของมารดาจะช่วยในการพัฒนาการของระบบประสาทสัมผัสและช่วยกลไกออกซิโตซินได้ นอกจากนี้ หากสามารถให้การโอบกอดเนื้อแนบเนื้ออย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมงจะช่วยในการเจริญเติบโตและการกินนมแม่ของทารกที่คลอดก่อนกำหนดและน้ำหนักตัวน้อยได้1,2

-ในขั้นตอนนี้ให้ความสำคัญของการให้ทารกได้สัมผัสกับหน้าอกของมารดาพร้อมกับแนะนำให้มารดาสังเกตความพร้อมของทารกในการกินนมแม่ ซึ่งมารดาอาจสังเกตเห็นทารกคืบคลานเข้าหาเต้านม จนสามารถดูด อมหัวนมและลานนมได้

-ระยะเวลาของการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อในระยะแรกหลังคลอด แนะนำให้ ?วางทารกให้ผิวสัมผัสแนบชิดกับอกของมารดาหลังคลอดนานอย่างน้อย 1 ชั่วโมง? หรือนานกว่านั้น สำหรับแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ควรสังเกตมารดาและทารก ร่วมกับอาจเสนอความช่วยเหลือหากจำเป็น และควรหลีกเลี่ยงกระบวนการพยาบาลอื่นๆ ในระหว่างนี้เพื่อไม่เป็นการรบกวนมารดาและทารกในช่วงเวลาที่ส่งเสริมสายสัมพันธ์และสนับสนุนการให้ทารกได้กินนมแม่

-ในกรณีที่มารดาคลอดทารกแฝด หลังทารกคนแรกคลอด การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อของมารดาสามารถทำได้จนกระทั่งมารดาเบ่งคลอดทารกคนที่สอง ถัดจากนั้นทารกอาจอยู่กับสามีหรือสมาชิกในครอบครัว เมื่อคลอดทารกคนที่สองแล้ว ทารกทั้งสองคนสามารถทำการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อได้พร้อมกัน

-ควรทำแบบบันทึกและจดเวลาเริ่มของการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อและเวลาสิ้นสุดของงการให้การสัมผัสในแฟ้มการดูแลการคลอดจะเป็นประโยชน์ โดยจะแสดงถึงการให้ความสำคัญในกระบวนการปฏิบัตินี้เช่นเดียวกับการปฏิบัติอื่นที่ต้องบันทึกข้อมูลให้ครบถ้วน

เอกสารอ้างอิง

  1. Gathwala G, Singh B, Singh J. Effect of Kangaroo Mother Care on physical growth, breastfeeding and its acceptability. Trop Doct 2010;40:199-202.
  2. Flacking R, Ewald U, Wallin L. Positive effect of kangaroo mother care on long-term breastfeeding in very preterm infants. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2011;40:190-7.

 

ประโยชน์ของการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ

52

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อ (skin-to-skin contact) มีประโยชน์อย่างมากต่อทารกแรกเกิด ได้แก่

  • ทำให้ทารกและมารดารู้สึกสงบ และช่วยให้จังหวะการหายใจและการเต้นของหัวใจทารกสม่ำเสมอ
  • ช่วยให้ทารกได้รับความอบอุ่นจากความร้อนของร่างกายของมารดา ป้องกันการเกิดอาการตัวเย็น (hypothermia) ในทารกได้1
  • ช่วยในการปรับเมตาบอรึซึ่มของน้ำตาลในเลือดของทางทารกให้คงที่
  • ช่วยให้ก่อเกิดการมีกลุ่มของแบคทีเรียในลำไส้ทารกจากมารดาที่ให้การสัมผัสแรกกับทารก ไม่ใช่จากแพทย์หรือพยาบาล
  • ลดความเจ็บปวดของทารก การให้ทารกได้สัมผัสผิวกับมารดาช่วยลดความเจ็บปวดของทารกจากการเจาะเลือดที่ปลายเท้าได้2
  • ลดการร้องกวนของทารก ซึ่งจะลดความเครียดและการใช้พลังงานของทารกด้วย
  • ช่วยให้สายสัมพันธ์ของมารดาและทารกดีขึ้น3 ทำให้ทารกตื่นตัวในหนึ่งถึงสองชั่วโมงแรก จากนั้นโดยปกติทารกจะหลับนาน
  • ช่วยให้ทารกเริ่มการกินนมแม่ในระยะแรกดีขึ้น1,4 ให้โอกาสทารกได้เข้าหาเต้านมและดูดนมด้วยตนเอง ซึ่งทารกจะสามารถเข้าหาเต้านมได้จากสีของหัวนมและกลิ่นของน้ำนม โดยการเข้าเต้าลักษณะนี้จะมีประสิทธิภาพดีกว่าการแยกทารกออกไปในช่วงแรกหลังคลอด

? ? ? ? การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อหรือการให้ทารกได้สัมผัสผิวของมารดาสามารถทำได้ตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดทารก อาจจะทำก่อนการตัดสายสะดือหรือทันทีเมื่อพร้อมหลังการคลอดและเช็ดตัวทารกให้แห้ง ทารกไม่จำเป็นต้องอาบน้ำหลังการคลอด5 ควรชะลอการชั่งน้ำหนัก วัดขนาดตัวทารก การให้ยาฆ่าเชื้อป้ายตาทารก การฉีดวิตามินเคและวัคซีนให้กับทารกจนกระทั่งทารกเริ่มการดูดนมครั้งแรกเรียบร้อยแล้วเสียก่อน

เอกสารอ้างอิง

  1. Srivastava S, Gupta A, Bhatnagar A, Dutta S. Effect of very early skin to skin contact on success at breastfeeding and preventing early hypothermia in neonates. Indian J Public Health 2014;58:22-6.
  2. Marin Gabriel MA, del Rey Hurtado de Mendoza B, Jimenez Figueroa L, et al. Analgesia with breastfeeding in addition to skin-to-skin contact during heel prick. Arch Dis Child Fetal Neonatal Ed 2013;98:F499-503.
  3. Widstrom AM, Wahlberg V, Matthiesen AS, et al. Short-term effects of early suckling and touch of the nipple on maternal behaviour. Early Hum Dev 1990;21:153-63.
  4. Mahmood I, Jamal M, Khan N. Effect of mother-infant early skin-to-skin contact on breastfeeding status: a randomized controlled trial. J Coll Physicians Surg Pak 2011;21:601-5.
  5. Morton J, Hall JY, Pessl M. Five steps to improve bedside breastfeeding care. Nurs Womens Health 2013;17:478-88.

 

การส่งเสริมสายสัมพันธ์แม่ลูกในระยะแรกหลังคลอด (Early bonding)

59

? ? ? ? ? ? ? ?ตามธรรมชาติมารดาและทารกย่อมมีสายสัมพันธ์กันตั้งแต่รู้สึกว่ามีการตั้งครรภ์ ทารกเริ่มมีการดิ้นหรือเคลื่อนไหวภายในครรภ์มารดา การเปลี่ยนแปลงขนาดของหน้าท้องที่แสดงว่ามีการเจริญเติบโตของทารก การลูบท้องส่งสัมผัสจากมารดาสู่ทารก การพูดคุยของมารดากับทารกในครรภ์ จนกระทั่งถึงกระบวนการของการคลอดและการให้ทารกได้กินนมแม่ แต่การส่งเสริมสายสัมพันธ์แม่ลูกนั้นในปัจจุบันถือเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และลดปัญหาการทอดทิ้งลูกของมารดาวัยรุ่น

??????????? การส่งเสริมสายสัมพันธ์แม่ลูกควรเริ่มตั้งแต่ทราบว่ามารดามีการตั้งครรภ์ การให้ความรู้ความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในระยะฝากครรภ์ จะทำให้มารดาสังเกตการเปลี่ยนแปลงและรู้สึกรับรู้ถึงทารกมากขึ้น ดังนั้น แพทย์จึงไม่ควรละเลยกับการให้ความสนใจในการอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงในระยะต่างๆ ในระหว่างการตั้งครรภ์ขณะฝากครรภ์ และเตรียมแนะนำการเปลี่ยนแปลงที่มารดาต้องเผชิญพร้อมการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการคลอดบุตรและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างเหมาะสมในระยะหลังคลอด อย่างไรก็ตาม สำหรับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น ระยะที่มีความสำคัญมากคือ ระยะเริ่มต้นการให้ลูกได้กินนมแม่หรือระยะแรกหลังคลอดนั่นเอง

 

ทารกมีความเสี่ยงด้านสุขภาพหากไม่ได้กินนมแม่

img_2194

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ? ? ? นมแม่ให้ภูมิคุ้มกันแก่ทารก ซึ่งป้องกันการติดเชื้อที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วย1-3 โดยส่งผลให้ทารกมีพัฒนาการที่ล่าช้า เกิดความพิการ และลดการเสียชีวิตได้ สำหรับผลในระยะยาวเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น จะช่วยลดการเกิดภาวะอ้วน4 โรคเบาหวาน5,6 ไขมันในเลือดสูง7 ?ที่เป็นโรคที่มีความเสี่ยงจากพฤติกรรมการกิน จะเห็นว่า หากทารกขาดการเริ่มต้นการกินนมแม่ที่เป็นอาหารที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับทารกตั้งแต่แรกเกิดแล้ว? ทารกที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพในหลากหลายด้านที่พบเป็นปัญหาใหญ่ในวัยผู้ใหญ่ และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนทั่วโลก ดังนั้น คุณแม่ทุกท่านส่วนใหญ่ปรารถนาให้ลูกมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงที่จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการประสบความสำเร็จของชีวิตในอนาคต ควรส่งเสริมการให้ลูกได้กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด ?

เอกสารอ้างอิง

  1. Abrahams SW, Labbok MH. Breastfeeding and otitis media: a review of recent evidence. Curr Allergy Asthma Rep 2011;11:508-12.
  2. Vogazianos E, Vogazianos P, Fiala J, Janecek D, Slapak I. The effect of breastfeeding and its duration on acute otitis media in children in Brno, Czech Republic. Cent Eur J Public Health 2007;15:143-6.
  3. Dogaru CM, Nyffenegger D, Pescatore AM, Spycher BD, Kuehni CE. Breastfeeding and childhood asthma: systematic review and meta-analysis. Am J Epidemiol 2014;179:1153-67.
  4. Verstraete SG, Heyman MB, Wojcicki JM. Breastfeeding offers protection against obesity in children of recently immigrated Latina women. J Community Health 2014;39:480-6.
  5. Patelarou E, Girvalaki C, Brokalaki H, Patelarou A, Androulaki Z, Vardavas C. Current evidence on the associations of breastfeeding, infant formula, and cow’s milk introduction with type 1 diabetes mellitus: a systematic review. Nutr Rev 2012;70:509-19.
  6. Pereira PF, Alfenas Rde C, Araujo RM. Does breastfeeding influence the risk of developing diabetes mellitus in children? A review of current evidence. J Pediatr (Rio J) 2014;90:7-15.
  7. Owen CG, Whincup PH, Kaye SJ, et al. Does initial breastfeeding lead to lower blood cholesterol in adult life? A quantitative review of the evidence. Am J Clin Nutr 2008;88:305-14.

 

นมแม่ช่วยเพิ่มน้ำหนักทารกได้ดีในหกเดือนแรกหลังคลอด

img_2192

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?ทารกที่กินนมแม่จะได้รับภูมิคุ้มกันจากมารดาผ่านทางน้ำนม ซึ่งป้องกันการติดเชื้อและอาการท้องเสียที่พบได้บ่อยและอาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของทารกได้ ซึ่งการป้องกันการติดเชื้อและอาการท้องเสียในทารกมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักทารก และทำให้ทารกเจริญเติบโตได้ดี โดยจากการศึกษาพบว่า การให้ลูกได้กินนมแม่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักทารกในช่วงหกเดือนแรกหลังคลอด แต่ในช่วง 6-12 เดือนหลังคลอดการมีอาการท้องเสียของทารกจะมีความสัมพันธ์ที่สำคัญกับการลดลงของน้ำหนักของทารก1 ซึ่งสิ่งนี้บ่งบอกถึงคุณประโยชน์ของนมแม่ที่ช่วยในการป้องกันการติดเชื้อและอาการท้องเสียของทารกในช่วงหกเดือนแรกโดยเฉพาะในทารกที่ได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว แต่เมื่อมีการให้อาหารตามวัยสำหรับทารก การดูแลเรื่องความสะอาดของอาหารนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจเพื่อป้องกันการลดลงของน้ำหนักทารก ที่ส่วนใหญ่เกิดจากติดเชื้อและทำให้เกิดอาการท้องเสีย

เอกสารอ้างอิง

  1. Wright MJ, Mendez MA, Bentley ME, Adair LS. Breastfeeding modifies the impact of diarrhoeal disease on relative weight: a longitudinal analysis of 2-12 month-old Filipino infants. Matern Child Nutr 2016.