คลังเก็บป้ายกำกับ: pelvic mass

ก้อนในอุ้งเชิงกราน (Pelvic mass)

 

เขียนโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

การตรวจพบก้อนในอุ้งเชิงกรานจากการตรวจร่างกาย? การตรวจภายในหรือการตรวจสอบจากภาพจากการเอกซเรย์? หรือคลื่นเสียงความถี่สูง? จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนึกถึงอยู่เสมอว่า? ก้อนที่พบนั้นไม่ใช่ว่าจะเป็นก้อนจากสาเหตุทางนรีเวชเสมอไป?? อาจจะเป็นก้อนจากสาเหตุของลำไส้หรือทางเดินปัสสาวะก็ได้? อย่างไรก็ตาม? ในที่นี้จะเน้น? เรื่องของสาเหตุของก้อนทางนรีเวช? และสาเหตุที่พบบ่อยๆ? โดยการวิเคราะห์หรือวินิจฉัยแยกโรคจะอาศัยกลุ่มอายุของผู้ป่วยเป็นตัวช่วยในการคิด

pregnancy

รูปแสดงอวัยวะในอุ้งเชิงกราน

วัยเด็ก
ก้อนที่พบในอุ้งเชิงกราน? พบได้น้อย? สาเหตุที่พบมักเป็นก้อนของรังไข่ซึ่งในเด็กหญิงที่อายุน้อยกว่า? 9? ปี? เนื้องอกรังไข่ที่พบเป็นเนื้อร้ายถึงร้อยละ? 801,2? ?ในวัยเด็กก้อนในอุ้งเชิงกรานขณะที่โตขึ้นอาจจะลอยขึ้นมาและคลำได้บริเวณช่องท้อง? อาการที่พบบ่อยได้แก่? ปวดท้อง? หรือปวดบริเวณที่ท้องน้อยอันเป็นอาการที่ไม่จำเพาะซึ่งต้องแยกจากอาการไส้ติ่งอักเสบ? อย่างไรก็ตาม? การตรวจทางทวารหนักจะให้ข้อมูลการตรวจได้มาก? ดังนั้นไม่ควรจะละเลย? สำหรับก้อนของรังไข่ถ้าพบมีอาการปวดอย่างเฉียบพลันมักจะเป็นจากการบิดขั้ว? ซึ่งความเสี่ยงนี้ขึ้นอยู่กับความยาวของ? Ovarian? ligament? สำหรับก้อนของอวัยวะอื่นๆ? ที่พบบ่อยในวัยนี้ในช่องท้อง? ได้แก่? Wilms? tumor? และ? neuroblastoma3????

 

การให้การวินิจฉัยนอกจากประวัติและการตรวจร่างกายแล้ว? การตรวจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงมีบทบาทในการให้การวินิจฉัยแยกโรค? และวางแผนการรักษาเป็นอย่างมาก? ในก้อนที่เป็นถุงน้ำลักษณะเป็น? ?Unilocular? simple? cyst ส่วนใหญ่มักเป็น? benign? การรักษา? มักใช้การตรวจติดตามโดยก้อนมักจะยุบลงไปเองใน? 3 ? 6? เดือน ?สำหรับก้อนที่มีลักษณะเป็นเนื้อตัน? เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการเกิด? germ? cell? tumor? สูง? จึงควรทำการผ่าตัดเพื่อให้ได้ชิ้นเนื้อมายืนยัน? อย่างไรก็ดี? ควรคำนึงถึงเรื่องการเก็บรักษารังไข่ไว้เพื่อการสร้างฮอร์โมนและการเจริญพันธุ์เสมอ? เนื่องจากอายุผู้ป่วยน้อย? หากไม่แน่ใจว่าก้อนจะเป็นเนื้อร้ายหรือไม่
วัยรุ่น

ก้อนในอุ้งเชิงกราน? จะแยกตามสาเหตุของก้อนที่พบบ่อยตามอวัยวะในอุ้งเชิงกราน ดังนี้

 

? ? ? ? ? 1.การตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์? ควรจะต้องคำนึงถึงเสมอสำหรับก้อนในอุ้งเชิงกราน? เนื่องจากปัจจุบันการมีเพศสัมพันธ์พบในวัยรุ่นสูง? สำหรับการตั้งครรภ์นอกมดลูกก็ควรจะนึกถึงด้วยในกรณีที่มีประวัติปวดท้องน้อยและคลำได้ก้อนบริเวณปีกมดลูก? โดยเฉพาะเมื่อมีประวัติการมีเพศสัมพันธ์

 

pregnancy1

รูปแสดงมดลูกที่โตขึ้นจากการตั้งครรภ์และอาจตรวจพบเป็นก้อนในอุ้งเชิงกราน

??

pregnancy3

?รูปแสดงคลื่นเสียงความถี่สูงของมดลูกที่โตขึ้นจากการตั้งครรภ์พร้อมทารก

??

pregnancy4

รูปแสดงก้อนที่เกิดจากการตั้งครรภ์นอกมดลูก

 

 

? ? ? ? ? 2.ก้อนของรังไข่ ?ในวัยนี้จะพบว่าก้อนของรังไข่? จะเป็นเนื้อร้ายน้อยกว่าในวัยเด็ก? และพบว่ามีสัดส่วนของ? epithelial? ovarian? tumor สูงขึ้น? อย่างไรก็ตาม? mature? cystic? teratoma? เป็นก้อนที่พบบ่อยที่สุด? โดยพบมากกว่าครึ่งหนึ่งของก้อนเนื้องอกของรังไข่ในหญิงที่อายุน้อยกว่า? 20? ปี3,4

pregnancy5

รูปแสดง? mature? cystic? teratoma

? ? ? ? ? 3.ก้อนของมดลูก?? พบน้อย? เช่น? obstructive?? uterovaginal?? anormaly??? มักจะพบเมื่อเริ่มมีประจำเดือนหรือหลังประจำเดือนใหม่ๆ? โดยมากมักมาด้วยอาการปวดท้องน้อยตามรอบเดือน? โดยไม่มีประจำเดือนมา? และก้อนอาจจะมีการขยายขนาดและยุบลงเป็นพักๆ? ได้

 

? ? ? ? ? 4.สาเหตุอื่นๆ? ในวัยรุ่นที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว? ควรนึกถึงเรื่องของก้อนที่เกิดจากการอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน? (pelvic? inflammatory? disease? หรือ ?PID)?? ด้วย? เนื่องจากการมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นส่วนใหญ่ขาดการป้องกัน? จึงมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

 

pregnancy6

รูปแสดงก้อนที่เกิดจาก? pelvic? inflammatory? disease

? ? ? ? ? ??การวินิจฉัยสาเหตุของก้อนในวัยนี้? เริ่มจากการซักประวัติโดยละเอียด? ถามเรื่องเพศสัมพันธ์และการคุมกำเนิด? พร้อมตรวจร่างกายโดยพิจารณาการตรวจทางทวารหนักหรือตรวจภายในตามความจำเป็น? การตรวจปัสสาวะทดสอบการตั้งครรภ์ควรกระทำหากไม่สามารถแยกสาเหตุของการตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้อนออกไปได้?การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงยังมีความสำคัญและช่วยในการวางแผนการรักษาเช่นเดียวกับในวัยเด็ก? โดยพิจารณาเรื่องการสร้างฮอร์โมนและโอกาสในการเจริญพันธ์ในอนาคตร่วมด้วยเสมอ

 
วัยเจริญพันธุ์

สาเหตุของก้อนที่ควรคำนึงถึงในวัยนี้? ได้แก่

? ? ? ? ? 1. การตั้งครรภ์และภาวะแทรกซ้อน? ดังได้กล่าวไว้แล้ว? ซึ่งควรจะต้องนึกถึงและแยกโรคเหล่านี้ออกไปก่อนเสมอ

? ? ? ? ? ?2. ก้อนของมดลูก? สาเหตุที่พบบ่อย? คือ? leiomyoma? ประมาณว่าพบอย่างน้อย? 20%? ในหญิงวัยเจริญพันธุ์??? และพบ? 40 ? 50%? ในหญิงที่มีอายุ? 40? ปีขึ้นไป3 ??ส่วนใหญ่ของ? leiomyoma? มักมีหลายก้อน? โดยมากกว่าครึ่งไม่แสดงอาการ?? การเปลี่ยนแปลงไปเป็นมะเร็งพบน้อยกว่า? 0.5%5?? อาการของ? leiomyoma? ที่พบได้แก่

– ?เลือดประจำเดือนมามาก? (menorrhagia)

– ปวดท้องน้อย? อาจจะเป็นลักษณะ? ปวดประจำเดือน? ปวดหน่วง? หรือปวดเฉียบพลันจากการ

บิดขั้ว? (torsion)? ขาดเลือด? (infarction)? หรือ? degeneration

– อาการทางทางเดินปัสสาวะ? เช่น? ปัสสาวะบ่อย? ลำบาก? หรือมีอาการกดทับท่อไต

(มักเกิดบริเวณท่อไตด้านขวามากกว่าซ้าย)

– ท้องผูก? จากการกดทับลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย

– ก้อนยื่นจากปากช่องคลอดในกรณี? prolapse? ของ? pedunculated? submucous? myoma

– ขาบวม? จากการที่ก้อนกดทับเส้นเลือดบริเวณขาทำให้การไหลเวียนของเส้นเลือดผิดปกติ? และ

อาจพบภาวะ? thrombophlebitis??? ได้

– ภาวะมีบุตรยากพบน้อยกว่า? 3%? ที่เป็นสาเหตุจาก? leiomyoma6?

– Polycythemia

– Ascites

? ? ? ? ? 3. ก้อนของรังไข่? ส่วนใหญ่เป็น benign?? โอกาสที่จะเป็นเนื้อร้ายในหญิงที่อายุน้อยกว่า?? 45?? ปีน้อยกว่า? 7 %3 ?functional? cyst? เป็นก้อนของรังไข่ที่พบบ่อยที่สุด? โดยในกลุ่มนี้ที่พบมากที่สุด? คือ? follicular? cyst ?รองลงมาได้แก่? corpus luteum? cyst? (ในกรณีที่เป็นถุงน้ำควรมีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า? 3? เซนติเมตร)? โดยปกติแล้วก้อน? functional? cyst? มักจะโตไม่เกิน? 8? เซนติเมตร? และมักจะหายไปเองใน? 6 ? 8? สัปดาห์

สำหรับเนื้องอกที่เป็นสาเหตุของก้อนที่รังไข่? ที่พบบ่อยยังได้แก่? mature? cystic? teratoma? ซึ่งพบว่ามีโอกาสบิดขั้วถึง? 15%? โอกาสเป็นที่รังไข่ทั้งสองขั้นถึง? 10%? และโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงเป็น? malignant? น้อยกว่า? 2%3?ดังนั้น? การรักษาของ? mature? cystic? teratoma? จึงมักเลือกทำ? ovarian? cystectomy? โดยพยายามเก็บรักษาเนื้อรังไข่ไว้หากทำได้? สำหรับ? epithelial? ovarian? tumor? พบเพิ่มขึ้นโดยชนิด? serous? มากกว่า ?mucinous? การวินิจฉัยคลื่นเสียงความถี่สูง? จะช่วยบ่งบอกความน่าจะเป็นของชนิดของเนื้องอกและลักษณะ? benign? และ? ?malignant? ได้

 

?pregnancy7

รูปแสดงก้อน mature cystic teratoma ที่มีการบิดขั้ว

? ? ? ? ?4. สาเหตุอื่นๆ? ได้แก่? ก้อนบริเวณท่อนำไข่? พบน้อย? เช่น? parovarian cyst

 

หมายเหตุ??? ก้อนจากสาเหตุของอวัยวะอื่นๆ? ในอุ้งเชิงกรานที่ควรคำนึงถึงเสมอ? ได้แก่? ภาวะ? full ?bladder

การวินิจฉัย? ควรเป็นที่ประวัติโดยดูลักษณะอาการ? การตรวจร่างกายที่บ่งชี้ว่าเป็นก้อนของอวัยวะใด? จากนั้นตรวจยืนยันโดยคลื่นเสียงความถี่สูง? โดยพิจารณาแยกโรค? เรื่องของการตั้งครรภ์ก่อนเสมอ? การรักษาขึ้นอยู่กับความจำเพาะของแต่ละโรค

 

วัยหลังหมดประจำเดือน
วัยหลังหมดประจำเดือน? ไม่ควรจะพบ? functional? cyst? ของรังไข่? ดังนั้น? ในกรณีที่ตรวจสอบพบก้อนในอุ้งเชิงกราน? ควรพิจารณาด้วยความระมัดระวัง? ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งของสตรีวัยหมดประจำเดือน? หรืออายุมากกว่า? 50? ปี? ที่ตรวจพบก้อนในอุ้งเชิงกรานขณะผ่าตัดสูงถึง? 50%3,7 ?สำหรับก้อนจากสาเหตุของมดลูกในวัยหลังหมดประจำเดือนพบน้อย

การวินิจฉัยส่วนใหญ่อาศัยจากประวัติ? การตรวจร่างกาย? การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง? ร่วมกับการตรวจ? CA 125? ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในกรณีเฝ้าระวังและติดตามการรักษาในกรณีที่ก้อนที่ได้รับการผ่าตัดรักษาเป็นมะเร็ง? การดูแลรักษาส่วนใหญ่มักลงท้ายด้วยการผ่าตัด? หากไม่แน่ใจในความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งของก้อนในอุ้งเชิงกราน

 

 

หนังสืออ้างอิง

 

  1. Lampkin? BC, Wong KY, Kalinyak KA, Carter D, Heckel J, Zaboy KA, et al. Solid malignancies in children? and? adolescents.? Surg? Clin? North? AM 1985; 65: 1351 ? 86.
  2. Norris HJ, Jensen RD.? Relative? freguency of ovarian neoplasms? in? children and adolescents.? Cencer? 1972; 30: 713 ? 9.
  3. Hillard PA.? Benign diseases of the female reproductive tract: symptoms and signs. In: Berek JS,? Adashi EY,? Hillard TA, eds. Novak?s gynecology.? 12th ed. Maryland: William & Wilkins,? 1996: 331 ? 97.
  4. Breen JL, Maxson WS. Ovarian tumors in children and adolescents. Clin? Obstet? Gynecol? 1977; 20: 607 ? 23.
  5. Leibsohn S, d?Ablaing G, Mishell DR Jr, Schlaerth JB. Leiomyosarcoma in a series of hysterectomies? performed for presumed uterine leiomyomas.? Am J Obstet? Gynecol?1990; 162: 968 ? 74.
  6. Buttram? VC, Reiter RC. Uterine leiomyomata: etiology, symptomatology, and management. Fertil Steril? 1981; 36: 433 ? 45.
  7. Koonings PP, Campbell K, Mishell DR Jr, Grime DA. Relative frequency of primary ovarian neoplasms: a 10 year review. Obstet? Gynecol? 1989; 74: 921 ? 6.

โจทย์ปัญหาเรื่อง Abnormal vaginal bleeding 5

obgyn

5. ให้กลุ่มนิสิตร่วมกันกำหนดแนวทางการรักษา แนวทางการติดตามป้องกัน การฟื้นฟูสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยรายนี้

Management

  1. 1.????? Specific treatment
    1. Non-Surgical treatment: แบ่งเป็นการใช้ฮอร์โมนในการรักษา และการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ

-????????? Hormone therapy

  1. Androgenic steroid: เพื่อทำให้เกิดการขาดประจำเดือน ในรายที่มีเลือดออกผิดปกติ และแก้ไขภาวะซีดจากการเสียเลือด ผลแทรกซ้อนอาจพบว่ามีเสียงแหบ สิว หน้ามัน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  2. GnRH agonist: จะใช้การรักษาวิธีนี้ก่อนการผ่าตัด โดยให้เพื่อลดขนาดก้อนเนื้องอก และเพิ่มความเข้มข้นของเลือดก่อนการผ่าตัด ซึ่งอาจทำให้เกิดผลแทรกซ้อนได้ในผู้ป่วยที่ใช้ยานานกว่า 6 เดือน จากภาวะEstrogen ต่ำ จึงมีการรักษาGnRH agonist ร่วมกับ Estrogen เพื่อลดผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น แต่วิธีนี้มีราคาค่อนข้างแพงต้องคำนึงถึงเศรษฐานะของผู้ป่วยด้วย
  3. Conjugated Estrogen: เพื่อหยุดเลือดที่ออกผิดปกติและลดขนาดของก้อนเนื้องอกที่เกิดขึ้น

-????????? Symptomatic treatment

  1. NSAIDs: เพื่อช่วยระงับอาการ dysmenorrhea แต่ไม่ได้ช่วยลดอาการ hypermenorrhea
  2. Surgical treatment: หลัง follow up แล้วอาการไม่ดีขึ้น จึงพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด มีข้อบ่งชี้คือ มีระดูออกมากผิดปกติจนทำให้ซีด ก้อนโตเร็ว มีอาการอื่นร่วมเช่น ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก ปวดท้องเรื้อรัง แยกไม่ได้ว่าก้อนเป็นเนื้องอกหรือมะเร็ง มีประวัติมีบุตรยาก แท้งบ่อยโดยไม่พบสาเหตุ

การผ่าตัดมีได้หลายวิธี คือ

-????????? Myomectomy: ตัดเฉพาะก้อนเนื้องอกออก โดยยังคงมดลูกไว้ จะทำในผู้ป่วยที่ยังคงต้องการมีบุตรต่อ แต่วิธีนี้การนี้จะสามารถผ่าตัดเอาก้อนออกได้เฉพาะในตำแหน่งที่มองเห็นได้ง่ายและเข้าถึงได้ง่ายเท่านั้น ซึ่งมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ภายใน 5 ปี

-????????? Hysterectomy: เพิ่มคุณภาพชีวิตได้ภายหลังการรักษา เนื่องจากตัดมดลูกออกไปทั้งหมด ทำให้ไม่มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อีก และไม่มีอาการแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดอีก

-????????? Myolysis: ใช้ไฟฟ้าผ่านเข็มหรือ Laser

-????????? Uterine Arteries Embolization: ฉีดสารเพื่ออุดตันเส้นเลือดแดงที่มาเลี้ยงมดลูก ซึ่งก้อนเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกจะมีความไวต่อการขาดเลือดเฉียบพลัน จึงเกิดเนื้อตายโดยไม่มีการเกิดเส้นเลือดใหม่มาเลี้ยง และยังสามารถตั้งครรภ์ได้หลังการรักษา แต่มีข้อจำกัดและภาวะแทรกซ้อนได้แก่ ต้องใช้แพทย์ผู้ชำนาญในการทำ อาจเกิดภาวะ Post-embolization syndrome, sepsis,bowel necrosis, ovarian failure, prolapse fibroid และอาจพบว่าการรักษาไม่ได้ผลถึง 10%

  1. 2.????? Follow up plan
    1. นัด 2 weeks OPD gynecology เพื่อฟังผล endometrial sampling

-????????? ผล???? secretory phase ไม่พบความผิดปกติ

และทำ hysteroscopy เพื่อวินิจฉัยหรือผ่าตัดก็ได้ถ้าหากว่าก้อนขนาดไม่ใหญ่มาก

  1. ติดตามผลว่ายังมีเลือดออกอยู่หรือไม่หลังจากรับประทานยาที่ให้ไปแล้ว 2 สัปดาห์

-????????? ผล???? เลือดหยุดไหลแล้ว

  1. ในผู้ป่วยรายนี้พิจารณาการรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งการเลือกวิธีผ่าตัดนั้นต้องมีการคุยกับผู้ป่วยเกี่ยวกับแผนในอนาคตของผู้ป่วย ว่ายังต้องการมีบุตรอีกหรือไม่ หากผู้ป่วยยังมีความต้องการในการมีลูกอยู่จะเลือกวิธีผ่าตัดเป็น Myomectomy แต่หากผู้ป่วยไม่มีความต้องการจะมีบุตรแล้ว ก็อาจจะเลือกวิธี Hysterectomy เนื่องจากผู้ป่วยมีก้อนขนาดใหญ่และจะช่วยลดโอกาสที่จะเกิดเป็นซ้ำได้อีก
  2. 3.????? การฟื้นฟูสุขภาพหลังผ่าตัด

หลังจากผู้ป่วยออกจากห้องผ่าตัดมาพักฟื้นในห้องผู้ป่วยแล้ว ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นรับประทานอาหารได้ไม่มีไข้ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ สามารถปัสสาวะ ถ่ายอุจจาระได้ปกติ สามารถให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้ และให้คำแนะนำให้ผู้ป่วยงดการยกของหนักมากกว่าภายใน 6 สัปดาห์ หลังผ่าตัดเพื่อป้องกันการฉีกขาดของแผล งดการมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก คอยสังเกตความผิดปกติต่างๆที่เกิดขึ้น สังเกตความผิดปกติของแผลว่ามีเลือดออกผิดปกติ หรือมีอาการปวด บวม แดง ขึ้นหรือไม่ หรือมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด หรือคลำได้ก้อนอีก มีไข้ หรือปวดท้องมากขึ้น ให้รีบกลับมาพบแพทย์ หากไม่มีความผิดปกติใดๆ ก็ให้มาตามนัดเพื่อฟังผลการตรวจชิ้นเนื้อ

นอกจากนี้ควรแนะนำให้ผู้ป่วยตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือนเพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านม และตรวจมะเร็งปากมดลูกทุกปี

 

โจทย์ปัญหาเรื่อง Abnormal vaginal bleeding 4

obgyn

4. ให้กลุ่มนิสิตร่วมวิเคราะห์เลือกใช้วิธีการตรวจสืบค้น เช่นการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจเพิ่มเติมอื่นๆเฉพาะที่เหมาสมเพื่อวินิจฉัยโรค

Investigation

  1. 1.????? Ultrasonography

การทำ ultrasonography? เนื่องจากผลการตรวจร่างกายพบก้อนร่วมกับอาการอื่น ๆ ได้แก่ dysmenorrhea, hypermenorrhea การทำ ultrasonography เป็นการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ไม่ invasive ค่าใช้จ่ายไม่สูงนัก อีกทั้งในกรณีที่พบก้อนในมดลูก ก็สามารถ มองเห็นขนาดและลักษณะของก้อนได้ชัดเจนและยืนยันว่าก้อนเป็นของอวัยวะใด มีลักษณะเป็นมะเร็งหรือไม่ นำมาประกอบการวินิจฉัยได้และสามารถใช้ติดตามขนาดของก้อนในเวลาต่อมาได้อีกด้วย ดังนั้นจึงต้องทำ ultrasonography เพื่อหารายละเอียดของก้อน ถึงขนาด ตำแหน่ง และ ลักษณะของก้อนเพื่อเป็นข้อมูลในการวินิจฉัยโรคต่อไป

ultrasonography เป็นวิธีการที่ทำได้สะดวก ได้ผลรวดเร็ว และประหยัดโดยจะมีการทำ 2 แบบ? คือ transabdominal ultrasonography (TAS) จะใช้ 3-5 mHz transducer และ ?transvaginal ultrasonography (TVS) จะใช้ 5-10 mHz transducer โดยสอด probe เข้าทาง vagina บริเวณ posterior fornix ซึ่งวิธีนี้เหมาะกับ lesion ที่อยู่ใน pelvic ซึ่งในผู้ป่วยรายนี้เลือกใช้วิธีการตรวจแบบ TVS เนื่องจากผู้ป่วยมีรูปร่างอ้วนท้วม หน้าท้องหนา ซึ่งการตรวจทาง TAS อาจได้ภาพไม่ชัดเจน และการตรวจทาง TVS จะได้ภาพชัดเจนกว่าการตรวจวิธี TAS

ผล??????? – ขนาดมดลูก 8x5x4 cm.

-มี intrauterine mass ขนาด 3 cm. ข้างใน

– endometrial thickness 1 cm.

– ovary ทั้ง 2 ข้างปกติ

– no free fluid in cal de sac

แปลผล มดลูกมีขนาดโตขึ้นเล็กน้อย พบก้อนโตขึ้นภายในมดลูก ขนาด 3 cm ทำให้นึกถึงโรค Myoma Uteri มากที่สุด ส่วนโรค Adenomyosis ก็ยังคงคิดถึงอยู่ endometrial polyps ก็นึกถึงได้

  1. 2.????? endometrial sampling

มี indication ในการส่งตรวจนี้คือ พบว่ามี abnormal bleeding, bleeding after menopause, bleeding from hormone therapy, endometrial thickness in ultrasound

ซึ่งการส่งตรวจนี้สามารถทำได้ที่ห้องตรวจ OPD เลย แต่ต้องรอผลการตรวจซึ่งจะต้องนัดผู้ป่วยมาฟังผลทีหลัง

ผล??????? รอผลการตรวจ

  1. 3.????? Hysteroscopy

Indication ที่จะส่งตรวจวิธีนี้ คือ premenopause bleeding, amenorrhea, postmenopause bleeding, abnormal hysterosalpingogram, infertility, recurrent abortion, lost intrauterine device

และในผู้ป่วยรายนี้ควรส่งตรวจวิธีนี้เนื่องจากสงสัย Endometrial polyps, submucous myoma แต่การตรวจวิธีนี้มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง และไม่ได้มีตรวจทุกโรงพยาบาล ต้องเป็นโรงพยาบาลใหญ่เท่านั้น อีกทั้งต้องทำได้ในห้องผ่าตัดเท่านั้น ไม่สามารถทำการตรวจได้เลยที่ห้องตรวจ OPD แต่การตรวจวิธีนี้สามารทำการตรวจอื่นทดแทนได้ เช่น endometrial sampling หรือ TVS ในผู้ป่วยที่สงสัย endometrial polyps

การทำ Hysteroscopy นั้นมีความแตกต่างจากการส่งตรวจอื่นๆคือ เมื่อทำการตรวจแล้วพบว่ามี polyps ในมดลูก สามารถทำการรักษาได้ในทันที

ผล??????? รอนัดตรวจเพิ่ม

  1. 4.????? urine pregnancy test

เนื่องจากสงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการนี้จาก ectopic pregnancy, abortion และการส่งตรวจบางอย่างมีข้อห้ามในผู้ป่วยที่ท้องอยู่

ผล??????? negative

แปลผล ผู้ป่วยอาจจะตั้งครรภ์อยู่น้อยกว่า 3 อาทิตย์ หรือไม่ได้อยู่ในช่วงการตั้งครรภ์