คลังเก็บป้ายกำกับ: breastfeeding

การกินนมแม่ช่วยป้องกันการเกิดไขมันในเลือดสูง

                รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                     ไขมันในเลือดสูงเป็นได้ทั้งในส่วนของโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ที่สูง การให้ทารกจะช่วยป้องกันการเกิดไขมันในเลือดจากโคเลสเตอรอลที่สูงเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น โดยมีการศึกษาพบว่า การกินนมแม่จะมีความสัมพันธ์กับระดับโคเลสเตอรอลที่ต่ำกว่าเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกินนมแม่อย่างเดียว1 กลไกที่อธิบายเรื่องนี้เชื่อว่าเกิดจากการที่ในนมแม่มีโคเลสเตอรอลที่สูง ทำให้ร่างกายทารกถูกตั้งระบบการเผาพลาญหรือเมตาบอลิซึมที่ดีของไขมันนี้ไว้ตั้งแต่ในระยะทารก เพื่อควบคุมให้ระดับโคเลสเตอรอลมีระดับที่เหมาะสม และระบบนี้ทำงานอย่างต่อเนื่องเมื่อทารกเจริญเติบโตขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Owen CG, Whincup PH, Kaye SJ, et al. Does initial breastfeeding lead to lower blood cholesterol in adult life? A quantitative review of the evidence. Am J Clin Nutr 2008;88:305-14.

 

การเตรียมตัวสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังคลอด

breastfeeding3

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกระบวนการหลังคลอด จะเริ่มตั้งแต่การให้ผิวสัมผัสของทารกสัมผัสหน้าอกมารดาในระยะแรกคลอด ในกระบวนการนี้มีผลต่อการปรับตัวทางสรีรวิทยาของทารกแรกเกิด เพิ่มความสำเร็จในการดูดนมแม่ครั้งแรกและมีโอกาสที่ทารกจะได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นานถึงอายุ 1-4 เดือนสูงกว่า1 มีการศึกษาในทารกที่คลอดก่อนกำหนดพบว่าการให้ผิวทารกสัมผัสกับมารดาในระยะแรกคลอดทำให้การดูดนมของทารกที่คลอดก่อนกำหนดดีขึ้น2

การดูดนมแม่ครั้งแรกมีผลต่อการเพิ่มปริมาณน้ำนมในวันแรกมากขึ้น การถ่ายขี้เทาของทารกดีขึ้นและระยะเวลาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยาวนานขึ้น2 แต่หากเริ่มให้นมลูกช้ากว่า 6 ชั่วโมงแรกหลังคลอดมีผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยมีโอกาสหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงขึ้น3

หลังการเริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาต้องพยายามนำทารกเข้าเต้าด้วยตนเองให้ได้ โดยในช่วงแรกอาจทำโดยความช่วยเหลือของบุคลากรทางการแพทย์ ในกระบวนการเข้าเต้าเริ่มตั้งแต่ สังเกตลักษณะความพร้อมของทารกในการดูดนม ได้แก่ การจ้องมอง การตื่นตัว การตอบสนองต่อการกระตุ้น การดูด การนำมือหรือนิ้วเข้าปาก ลักษณะการส่งเสียงและการร้อง การตอบสนองต่อการกระตุ้นจากเต้านมของทารกโดยการอ้าปากกว้าง ลิ้นอยู่ในลักษณะรูปถ้วย และวางอยู่บริเวณเหงือกด้านล่าง ทารกจะอมหัวนมและส่วนของลานนมยาว 2 เซนติเมตรเข้าไปในปาก จากนั้นดูด ซึ่งจะดูดและหยุดสลับเป็นจังหวะต่อเนื่องกัน ได้ยินเสียงการกลืน สังเกตเห็นนมในปากทารก ทารกอาจจะปลิ้นน้ำนมออกมาขณะเรอ มีการเปลี่ยนแปลงจังหวะการดูดจาก 2 ครั้งต่อวินาทีเป็น 1 ครั้งต่อวินาที เมื่อทารกกินนมอิ่มแล้วจะปล่อยเต้านมออกมาเอง ไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้น หน้า แขนและมือผ่อนคลาย โดยอาจจะหลับ การจัดท่าทารกและแนวการวางตัวของทารกขณะเข้าเต้า ศีรษะทารกและลำตัวอยู่ระดับเต้านม และอยู่แนวเดียวกับลำตัว ไม่หันไปทางด้านข้าง ก้มหรือเงยจนเกินไป แนวการวางตัวของทารกที่ถูกต้องจะอยู่ในแนวของเส้นสมมุติจากหู ไปไหล่และขอบกระดูกอุ้งเชิงกราน (iliac crest) เมื่อเข้าเต้าได้เหมาะสม ควรดำเนินการให้นมตามปริมาณหรือความถี่ในแต่ละวัน4-9 ดังนี้

ปริมาณน้ำนมในวันแรกหลังคลอดบุตร ปกติเท่ากับ 3-17 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อวัน คิดเป็นปริมาณน้ำนมในการป้อนนมแต่ละครั้งสำหรับทารกหนัก 3 กิโลกรัมเท่ากับ 2-10 มิลลิลิตร โดยจำนวนครั้งต่อวันคือ 4-5 ครั้งต่อวัน สังเกตการขับถ่ายพบว่าปัสสาวะ 1 ครั้ง อุจจาระ 1 ครั้ง ในวันแรกหลังคลอดหลัง 1-2 ชั่วโมงแรกส่วนใหญ่ทารกจะหลับนาน10 น้ำนมแม่ยังมาน้อย จำนวนครั้งของการกินนมยังห่าง

ปริมาณน้ำนมในวันที่สองหลังคลอดบุตร ปกติเท่ากับ 10-50 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อวัน คิดเป็นปริมาณน้ำนมในการป้อนนมแต่ละครั้งสำหรับทารกหนัก 3 กิโลกรัมเท่ากับ 5-15 มิลลิลิตร โดยจำนวนครั้งต่อวันคือ 6-10 ครั้งต่อวัน สังเกตการขับถ่ายพบว่าปัสสาวะ 2 ครั้ง อุจจาระ 2 ครั้ง ในช่วงแรกหลังคลอดทารกจะมีน้ำหนักลดลงหากน้ำหนักลดน้อยกว่าร้อยละ 7 โดยไม่มีปัญหาเรื่องการกินนมแม่แล้วไม่จำเป็นต้องเสริมนมผสมหรืออาหารอื่น11

ปริมาณน้ำนมในวันที่สามหลังคลอดบุตร ปกติเท่ากับ 40-120 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อวัน คิดเป็นปริมาณน้ำนมในการป้อนนมแต่ละครั้งสำหรับทารกหนัก 3 กิโลกรัมเท่ากับ 15-30 มิลลิลิตร โดยจำนวนครั้งต่อวันคือ 8-12 ครั้งต่อวัน สังเกตการขับถ่ายพบว่าปัสสาวะ 3 ครั้ง อุจจาระ 3 ครั้ง

ปริมาณน้ำนมในวันที่สี่ถึงวันที่เจ็ดหลังคลอดบุตร ปกติเท่ากับ 80-170 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัมต่อวัน คิดเป็นปริมาณน้ำนมในการป้อนนมแต่ละครั้งสำหรับทารกหนัก 3 กิโลกรัมเท่ากับ 30-65 มิลลิลิตร โดยจำนวนครั้งต่อวันคือ 8-12 ครั้งต่อวัน สังเกตการขับถ่ายพบว่าปัสสาวะ 4-8 ครั้ง อุจจาระ 4-8 ครั้ง ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงของน้ำนมจากหัวน้ำนม (colostrum) จะเปลี่ยนเป็นน้ำนมปกติภายในวันที่ห้าหลังคลอดและมีปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้น

การพักนอนโรงพยาบาลหลังคลอด ปัจจุบันมารดาจะพักอยู่ในโรงพยาบาลหลังคลอดประมาณ 2 วัน โดยหากไม่มีภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารกจะได้รับอนุญาตให้กลับบ้านได้ ฉะนั้นในระหว่างที่อยู่ในโรงพยาบาล มารดาควรได้รับการดูแลให้เข้าเต้าได้อย่างถูกต้องและควรทำได้ด้วยตนเอง เพื่อจะสามารถดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขณะกลับไปอยู่ที่บ้านได้ การติดตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แนะนำให้ติดตามในช่วง 5-7 วันหลังคลอดเพื่อสอบถามถึงปัญหา12 ให้การสนับสนุนและกำลังใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยการติดตามอาจใช้โทรศัพท์ การนัดติดตามที่คลินิกนมแม่หรือการเยี่ยมบ้าน ซึ่งจะช่วยเพิ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่13,14

 

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Moore ER, Anderson GC, Bergman N, Dowswell T. Early skin-to-skin contact for mothers and their healthy newborn infants. Cochrane Database Syst Rev 2012;5:CD003519.

2.??????????? Raimbault C, Saliba E, Porter RH. The effect of the odour of mother’s milk on breastfeeding behaviour of premature neonates. Acta Paediatr 2007;96:368-71.

3.??????????? Chaves RG, Lamounier JA, Cesar CC. Factors associated with duration of breastfeeding. J Pediatr (Rio J) 2007;83:241-6.

4.??????????? Saint L, Smith M, Hartmann PE. The yield and nutrient content of colostrum and milk of women from giving birth to 1 month post-partum. Br J Nutr 1984;52:87-95.

5.??????????? Casey CE, Neifert MR, Seacat JM, Neville MC. Nutrient intake by breast-fed infants during the first five days after birth. Am J Dis Child 1986;140:933-6.

6.??????????? Yamauchi Y, Yamanouchi I. Breast-feeding frequency during the first 24 hours after birth in full-term neonates. Pediatrics 1990;86:171-5.

7.??????????? Dollberg S, Lahav S, Mimouni FB. A comparison of intakes of breast-fed and bottle-fed infants during the first two days of life. J Am Coll Nutr 2001;20:209-11.

8.??????????? Tunc VT, Camurdan AD, Ilhan MN, Sahin F, Beyazova U. Factors associated with defecation patterns in 0-24-month-old children. Eur J Pediatr 2008;167:1357-62.

9.??????????? McNeilly AS, Robinson IC, Houston MJ, Howie PW. Release of oxytocin and prolactin in response to suckling. Br Med J (Clin Res Ed) 1983;286:257-9.

10.????????? Stern E, Parmelee AH, Akiyama Y, Schultz MA, Wenner WH. Sleep cycle characteristics in infants. Pediatrics 1969;43:65-70.

11.????????? Miracle DJ, Szucs KA, Torke AM, Helft PR. Contemporary ethical issues in human milk-banking in the United States. Pediatrics 2011;128:1186-91.

12.????????? Hospital stay for healthy term newborns. Pediatrics 2010;125:405-9.

13.????????? Tahir NM, Al-Sadat N. Does telephone lactation counselling improve breastfeeding practices?: A randomised controlled trial. Int J Nurs Stud 2013;50:16-25.

14.????????? Feldens CA, Ardenghi TM, Cruz LN, Cunha Scalco GP, Vitolo MR. Advising mothers about breastfeeding and weaning reduced pacifier use in the first year of life: a randomized trial. Community Dent Oral Epidemiol 2012.

 

 

การเตรียมตัวสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนการคลอด

PICT0031

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้ามาก่อน โดยมีการวางแผนตั้งแต่เริ่มจะมีบุตร ซึ่งเมื่อมีการให้ความรู้ถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะนำไปสู่การตัดสินใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การตัดสินใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เกิดก่อนการตั้งครรภ์หรือในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ โดยบ่อยครั้งเกิดก่อนการมาฝากครรภ์ครั้งแรก1 ดังนั้นการให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของนมแม่จึงต้องมีการจัดในกลุ่มสตรีที่เตรียมตัวหรือมาปรึกษาเพื่อวางแผนการตั้งครรภ์ และอาจเพิ่มการให้ความรู้ในเรื่องนี้กับวัยรุ่นและสตรีวัยเจริญพันธุ์ทั่วไปเพื่อเตรียมพร้อมและยกระดับความรู้เรื่องประโยชน์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่พร้อมการรณรงค์ในครอบครัวและภาคส่วนสังคม การตัดสินใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาก2 โดยหากมารดามีความตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นาน พบว่าจะสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานกว่า3,4 ผลของการให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำให้เพิ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่5 นอกจากนี้ การให้คำแนะนำและให้กำลังใจจากแพทย์ผู้ดูแลยังมีอิทธิพลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย6 โดยพบว่าการสนับสนุนและให้กำลังใจให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากแพทย์ผู้ดูแลมีผลต่อการเพิ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรกถึง 3 เท่าในกลุ่มสตรีอายุน้อยที่มีเศรษฐานะและการศึกษาต่ำ เพิ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรกเกือบ 5 เท่าในกลุ่มสตรีผิวดำและเพิ่ม 11 เท่าในกลุ่มสตรีที่อยู่คนเดียว

 

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Earle S. Factors affecting the initiation of breastfeeding: implications for breastfeeding promotion. Health Promot Int 2002;17:205-14.

2.??????????? Henderson J, Redshaw M. Midwifery factors associated with successful breastfeeding. Child Care Health Dev 2011;37:744-53.

3.??????????? Forster DA, McLachlan HL, Lumley J. Factors associated with breastfeeding at six months postpartum in a group of Australian women. Int Breastfeed J 2006;1:18.

4.??????????? Blyth RJ, Creedy DK, Dennis CL, et al. Breastfeeding duration in an Australian population: the influence of modifiable antenatal factors. J Hum Lact 2004;20:30-8.

5.??????????? Guise JM, Palda V, Westhoff C, Chan BK, Helfand M, Lieu TA. The effectiveness of primary care-based interventions to promote breastfeeding: systematic evidence review and meta-analysis for the US Preventive Services Task Force. Ann Fam Med 2003;1:70-8.

6.??????????? Lu MC, Lange L, Slusser W, Hamilton J, Halfon N. Provider encouragement of breast-feeding: evidence from a national survey. Obstet Gynecol 2001;97:290-5.

 

 

10 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 5)

obgyn

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

  • ไม่ให้จุกนมหรือหัวนมหลอกกับทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่ มีการศึกษาการให้จุกนมหรือหัวนมหลอกกับทารกหลังคลอดที่อายุมากกว่า 4 สัปดาห์พบว่าระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สั้นลง1 แต่จากการศึกษาที่เป็นการทบทวนอย่างเป็นระบบ (systematic review) ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างจุกนมหรือหัวนมหลอกกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหรือระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่2 อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนนี้ยังยึดเป็นส่วนหนึ่งของสิบขั้นตอนสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ส่งเสริมให้เกิดกลุ่มที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และส่งต่อการดูแลมารดาและทารกเมื่อได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน บทบาทของกลุ่มที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่การติดตาม สอบถาม ให้ความรู้ ให้คำปรึกษาและแก้ปัญหาในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การติดตามอาจใช้การโทรศัพท์สอบถามหรือการเยี่ยมบ้าน ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ส่งผลทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้น3,4

การนำสิบขั้นตอนในการสร้างความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปใช้มีนานกว่า 20 ปี ซึ่งส่งผลให้เพิ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวและระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่5,6

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Howard CR, Howard FM, Lanphear B, et al. Randomized clinical trial of pacifier use and bottle-feeding or cupfeeding and their effect on breastfeeding. Pediatrics 2003;111:511-8.

2.??????????? O’Connor NR, Tanabe KO, Siadaty MS, Hauck FR. Pacifiers and breastfeeding: a systematic review. Arch Pediatr Adolesc Med 2009;163:378-82.

3.??????????? Kronborg H, Vaeth M, Olsen J, Iversen L, Harder I. Effect of early postnatal breastfeeding support: a cluster-randomized community based trial. Acta Paediatr 2007;96:1064-70.

4.??????????? Dennis CL, Kingston D. A systematic review of telephone support for women during pregnancy and the early postpartum period. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2008;37:301-14.

5.??????????? Abrahams SW, Labbok MH. Exploring the impact of the Baby-Friendly Hospital Initiative on trends in exclusive breastfeeding. Int Breastfeed J 2009;4:11.

6.??????????? Kramer MS, Chalmers B, Hodnett ED, et al. Promotion of Breastfeeding Intervention Trial (PROBIT): a randomized trial in the Republic of Belarus. JAMA 2001;285:413-20.

 

 

10 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 4)

obgyn

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

  • มารดาและทารกควรอยู่ด้วยกันตลอด 24 ชั่วโมงหลังคลอด (rooming in) การที่มารดาและทารกอยู่ด้วยกันตลอด 24 ชั่วโมงจะเพิ่มระยะเวลา และโอกาสในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารก กระตุ้นให้เกิดเพิ่มการสร้างน้ำนมและทำให้มารดามีความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น1
  • กระตุ้นให้มีป้อนนมแม่ตามความต้องการ ไม่มีข้อจำกัดในความถี่และระยะเวลาการให้นมแม่ แต่ควรให้ทุก 2-3 ชั่วโมง วันละอย่างน้อย 8-12 ครั้ง เมื่อให้การกระตุ้นด้วยความถี่ที่เพียงพอ น้ำนมจะมาเพิ่มขึ้น และหากให้จนเกลี้ยงเต้าจะช่วยป้องกันและลดอาการตึงคัดเต้านมได้2

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Bystrova K, Widstrom AM, Matthiesen AS, et al. Early lactation performance in primiparous and multiparous women in relation to different maternity home practices. A randomised trial in St. Petersburg. Int Breastfeed J 2007;2:9.

2.??????????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.