การเตรียมตัวสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนการคลอด

PICT0031

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้ามาก่อน โดยมีการวางแผนตั้งแต่เริ่มจะมีบุตร ซึ่งเมื่อมีการให้ความรู้ถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะนำไปสู่การตัดสินใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การตัดสินใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เกิดก่อนการตั้งครรภ์หรือในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ โดยบ่อยครั้งเกิดก่อนการมาฝากครรภ์ครั้งแรก1 ดังนั้นการให้ความรู้เรื่องประโยชน์ของนมแม่จึงต้องมีการจัดในกลุ่มสตรีที่เตรียมตัวหรือมาปรึกษาเพื่อวางแผนการตั้งครรภ์ และอาจเพิ่มการให้ความรู้ในเรื่องนี้กับวัยรุ่นและสตรีวัยเจริญพันธุ์ทั่วไปเพื่อเตรียมพร้อมและยกระดับความรู้เรื่องประโยชน์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่พร้อมการรณรงค์ในครอบครัวและภาคส่วนสังคม การตัดสินใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาก2 โดยหากมารดามีความตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นาน พบว่าจะสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานกว่า3,4 ผลของการให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำให้เพิ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่5 นอกจากนี้ การให้คำแนะนำและให้กำลังใจจากแพทย์ผู้ดูแลยังมีอิทธิพลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย6 โดยพบว่าการสนับสนุนและให้กำลังใจให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากแพทย์ผู้ดูแลมีผลต่อการเพิ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรกถึง 3 เท่าในกลุ่มสตรีอายุน้อยที่มีเศรษฐานะและการศึกษาต่ำ เพิ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรกเกือบ 5 เท่าในกลุ่มสตรีผิวดำและเพิ่ม 11 เท่าในกลุ่มสตรีที่อยู่คนเดียว

 

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Earle S. Factors affecting the initiation of breastfeeding: implications for breastfeeding promotion. Health Promot Int 2002;17:205-14.

2.??????????? Henderson J, Redshaw M. Midwifery factors associated with successful breastfeeding. Child Care Health Dev 2011;37:744-53.

3.??????????? Forster DA, McLachlan HL, Lumley J. Factors associated with breastfeeding at six months postpartum in a group of Australian women. Int Breastfeed J 2006;1:18.

4.??????????? Blyth RJ, Creedy DK, Dennis CL, et al. Breastfeeding duration in an Australian population: the influence of modifiable antenatal factors. J Hum Lact 2004;20:30-8.

5.??????????? Guise JM, Palda V, Westhoff C, Chan BK, Helfand M, Lieu TA. The effectiveness of primary care-based interventions to promote breastfeeding: systematic evidence review and meta-analysis for the US Preventive Services Task Force. Ann Fam Med 2003;1:70-8.

6.??????????? Lu MC, Lange L, Slusser W, Hamilton J, Halfon N. Provider encouragement of breast-feeding: evidence from a national survey. Obstet Gynecol 2001;97:290-5.