รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
บันไดขั้นที่ 9: ห้ามใช้หัวนมเทียมหรือจุกนมหลอกในทารกที่กินนมแม่ 1
*
การใช้อุปกรณ์เหล่านี้มีความเป็นไปได้ที่จะทำให้ทารกมีเทคนิคการดูดนมที่ไม่เหมาะสม
และอาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อเพิ่มขึ้น การให้ทารกกินนมจากเต้าจะช่วยให้ทารกได้ทั้งสารอาหารที่ครบถ้วนและยังช่วยในการปลอบประโลมทารกอยู่แล้ว
จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เหล่านี้
* หมายเหตุ :
ข้อมูลจากส่วนงานกุมารเวชศาสตร์ปริกำเนิดของสมาคมกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (American
Academy of Pediatrics) เชื่อว่ามีหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงข้อบ่งชี้ทางการแพทย์สำหรับการใช้จุกนมหลอกซึ่งได้แก่
การช่วยลดอาการปวดและช่วยให้ทารกที่ได้รับยาที่ทำให้ทารกตื่นตัวสงบ
บันไดขั้นที่ 10 :
ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และส่งต่อมารดาให้แก่กลุ่มสนับสนุนเมื่อมารดาได้รับอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาล 1
กลุ่มสนับสนุนจะช่วยให้ข้อมูลความรู้และให้สังคมของมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยชี้และจัดหาพี่เลี้ยงในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชนที่อยู่ใกล้ชิดกับมารดา
(เช่น สมาชิกในครอบครัว เพื่อน หรือกลุ่มสนับสนุนที่อยู่ในชุมชนใกล้กับมารดา) สนับสนุนให้มารดาได้รับความช่วยเหลือจากครอบครัวและเพื่อนในช่วงระยะแรกหลังคลอด
ซึ่งการที่มารดาได้พักผ่อนและรู้สึกผ่อนคลาย จะมีประโยชน์ต่อทั้งการช่วยการฟื้นตัวของมารดาจากการคลอดและการช่วยให้มารดาประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกได้มีการเผยแพร่โดยกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติและองค์การอนามัยโลกผ่านทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน
เอกสารอ้างอิง
1. Naylor AJ, Wester RA. Lactation
management self-study modules, level 1, fourth edition. In: International W,
ed.2014.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
บันไดขั้นที่
7: จัดให้มารดาและทารกได้ฝึกอยู่ด้วยกันตลอด 24 ชั่วโมง 1
ช่วยลดการทอดทิ้งทารก ช่วยให้มารดาได้มีการฝึกทักษะการให้นมลูก ช่วยให้มารดาสามารถตอบสนองความต้องการของทารกได้ทันทีและมีการสร้างน้ำนมตามความต้องการของทารก เป็นข้อจำเป็นเบื้องต้นที่ต้องมีสำหรับการดำเนินการในลักษณะของการให้นมตามความต้องการของทารก
บันไดขั้นที่
8 : ส่งเสริมให้มารดาให้นมทารกตามความต้องการ 1
การที่ทารกดูดนมบ่อยจะเป็นตัวกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมแม่ที่เพียงพอสำหรับความต้องการของทารก
การที่ทารกดูดและกินนมได้อย่างมีประสิทธิภาพบ่อยจะช่วยกระตุ้นการขับถ่ายขี้เทา
(meconium)
และช่วยลดอาการตัวเหลืองของทารก
เอกสารอ้างอิง
1. Naylor AJ, Wester RA. Lactation
management self-study modules, level 1, fourth edition. In: International W,
ed.2014.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
บันไดขั้นที่
6: ไม่ให้อาหารหรือเครื่องดื่มอื่นใดแก่ทารก นอกเหนือจากนมแม่
โดยปราศจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ 1
การเสริมอาหารทดแทนนมแม่ควรให้เฉพาะในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เท่านั้น*
โดยหากจำเป็นต้องให้อาหารเพิ่มแก่ทารก การให้นมจากมารดาของทารกเองหรือนมจากผู้บริจาคผ่านธนาคารนมแม่จะดีที่สุด ในกรณีที่มีความเสี่ยงในการเกิดการแพ้
การให้นมสูตรที่ผลิตจากถั่วเหลืองไม่ได้เกิดผลดีไปกว่านมสูตรที่ผลิตจากนมวัว โดยหากจำเป็นต้องให้อาหารเสริมที่ไม่ใช่นมแม่
การใช้นมสูตรที่ผลิตจากนมวัวที่ผ่านการไฮโดรไลซ์
(hydrolyzed)
จะดีที่สุดที่จะลดความเสี่ยงในการเกิดการแพ้ แม้ในสภาพอากาศร้อนและแห้ง
นมแม่ก็มีปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับความต้องการของทารก โดยไม่มีความจำเป็นต้องให้น้ำ เครื่องดื่มที่มีรสหวาน
หรือชาเพิ่มเติม หากมีการให้อาหารเสริมแก่ทารก
จะทำให้ทารกพลาดโอกาสที่จะฝึกทักษะในการดูดนมแม่และจะทำให้ทารกกินนมแม่ได้น้อยลง ยิ่งทารกกินนมแม่น้อย
ภูมิคุ้มกันที่จะปกป้องทารกก็จะน้อยตามด้วยไปด้วย
*
หมายเหตุ: ในช่วงต้นปี ค.ศ.2009
องค์การอนามัยโลกและกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติได้จัดการแถลงการณ์ถึงข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ในการใช้อาหารทดแทนนมแม่ที่ยอมรับได้
โดยสำเนารวมอยู่ในภาคผนวกของเครื่องมือที่ใช้ประกอบการศึกษาด้วยตนเองในภาคผนวก B นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกยังทำการเผยแพร่ข้อมูลในส่วนงานส่งเสริมสุขภาพของเด็กเล็กและวัยรุ่น
และงานส่งเสริมโภชนาการเพื่อสุขภาพและการพัฒนาการที่เว็บไซต์ www.who.int/child_adolescent_health
และ www.who.int/nutrition
เอกสารอ้างอิง
1. Naylor AJ, Wester RA. Lactation
management self-study modules, level 1, fourth edition. In: International W,
ed.2014.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
บันไดขั้นที่
5: แสดงให้มารดาทราบถึงวิธีการให้นมลูกและวิธีรักษาการคงการสร้างและการให้นมแม่ แม้ว่ามารดาจำเป็นต้องแยกจากทารก 1
มารดาควรได้รับการแสดงวิธีการจัดท่าให้นมลูก
วิธีการเข้าเต้า และขณะที่มารดาให้นมลูกควรได้รับการสังเกตและประเมินการให้นมลูกโดยผู้ที่มีความรู้ที่จะช่วยมารดาในการให้นมลูกได้ มารดาทุกคนควรได้รับการแสดงวิธีการบีบน้ำนมด้วยมือ
โดยหากมารดามีความจำเป็นต้องแยกจากทารก มารดาจะยังสามารถที่จะคงการสร้างน้ำนม และในหลาย
ๆ กรณีมารดาอาจเก็บรักษาน้ำนมที่บีบไว้ และนำมาให้แก่ทารกได้
เอกสารอ้างอิง
1. Naylor AJ, Wester RA. Lactation
management self-study modules, level 1, fourth edition. In: International W,
ed.2014.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
บันไดขั้นที่
3 : แจ้งสตรีมีครรภ์ทุกคนเกี่ยวกับประโยชน์และการจัดการเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของโรงพยาบาล 1
สตรีจำเป็นต้องมีความรู้ถึงความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
เพื่อที่จะได้มีข้อมูลในการตัดสินใจในการเลือกนมที่จะเป็นอาหารสำหรับทารกแรกเกิด ประสบการณ์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกคนก่อนของมารดาควรได้รับการซักถาม
เพื่อแก้ไขในกรณีที่มารดามีความเข้าใจผิดในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือเพื่อวางแผนป้องกันปัญหาที่มารดาเคยประสบมาก่อน สตรีตั้งครรภ์ทุกคนควรทราบถึงสิ่งที่คาดหวังเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วง
2-3 วันแรกหลังคลอดและมีความเข้าใจพื้นฐานของให้นมลูกอย่างต่อเนื่อง
บันไดขั้นที่
4: สนับสนุนให้มารดาให้นมลูกภายในหนึ่งชั่วโมงหลังคลอด 1
ทารกควรได้รับการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อทันทีหลังคลอด
เพื่อที่เปิดโอกาสให้ทารกสามารถขยับเข้าหาเต้านมและเริ่มดูดนมแม่หลังการคลอดปกติ
ปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติของทารกในการดูดนมจะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่แรกเกิด
ขณะที่หัวน้ำนมหรือน้ำนมเหลืองในเต้านมของมารดาที่เต็มไปด้วยอิมมูโนโกลบูลิน (immunoglobulin)
และวิตามินเอที่ให้กับทารก จะถือเป็น “การสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ทารกครั้งแรก”
ดังที่ได้มีการบรรยายไว้ก่อนหน้านี้ โดยการให้นมลูกในครั้งแรกควรมีลักษณะที่ส่งเสริมให้
“ผิวของทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดา” ขณะทารกทำการดูดนมแม่ มารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดควรเริ่มให้นมลูกภายในหนึ่งชั่วโมงเมื่อมารดารู้สึกตัว
เอกสารอ้างอิง
1. Naylor AJ, Wester RA. Lactation
management self-study modules, level 1, fourth edition. In: International W,
ed.2014.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)