ประวัติของการปกป้อง ส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตอนที่ 5

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

บันไดขั้นที่ 6: ไม่ให้อาหารหรือเครื่องดื่มอื่นใดแก่ทารก นอกเหนือจากนมแม่ โดยปราศจากข้อบ่งชี้ทางการแพทย์1

  • การเสริมอาหารทดแทนนมแม่ควรให้เฉพาะในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์เท่านั้น* โดยหากจำเป็นต้องให้อาหารเพิ่มแก่ทารก การให้นมจากมารดาของทารกเองหรือนมจากผู้บริจาคผ่านธนาคารนมแม่จะดีที่สุด
  • ในกรณีที่มีความเสี่ยงในการเกิดการแพ้ การให้นมสูตรที่ผลิตจากถั่วเหลืองไม่ได้เกิดผลดีไปกว่านมสูตรที่ผลิตจากนมวัว โดยหากจำเป็นต้องให้อาหารเสริมที่ไม่ใช่นมแม่  การใช้นมสูตรที่ผลิตจากนมวัวที่ผ่านการไฮโดรไลซ์ (hydrolyzed) จะดีที่สุดที่จะลดความเสี่ยงในการเกิดการแพ้
  • แม้ในสภาพอากาศร้อนและแห้ง นมแม่ก็มีปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับความต้องการของทารก โดยไม่มีความจำเป็นต้องให้น้ำ เครื่องดื่มที่มีรสหวาน หรือชาเพิ่มเติม
  • หากมีการให้อาหารเสริมแก่ทารก จะทำให้ทารกพลาดโอกาสที่จะฝึกทักษะในการดูดนมแม่และจะทำให้ทารกกินนมแม่ได้น้อยลง
  • ยิ่งทารกกินนมแม่น้อย ภูมิคุ้มกันที่จะปกป้องทารกก็จะน้อยตามด้วยไปด้วย

* หมายเหตุ: ในช่วงต้นปี ค.ศ.2009 องค์การอนามัยโลกและกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติได้จัดการแถลงการณ์ถึงข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ในการใช้อาหารทดแทนนมแม่ที่ยอมรับได้ โดยสำเนารวมอยู่ในภาคผนวกของเครื่องมือที่ใช้ประกอบการศึกษาด้วยตนเองในภาคผนวก B  นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกยังทำการเผยแพร่ข้อมูลในส่วนงานส่งเสริมสุขภาพของเด็กเล็กและวัยรุ่น และงานส่งเสริมโภชนาการเพื่อสุขภาพและการพัฒนาการที่เว็บไซต์ www.who.int/child_adolescent_health และ www.who.int/nutrition

เอกสารอ้างอิง

1.            Naylor AJ, Wester RA. Lactation management self-study modules, level 1, fourth edition. In: International W, ed.2014.