คลังเก็บป้ายกำกับ: การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การคุมกำเนิดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 5)

Mom

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ยาฝังคุมกำเนิด จะมีส่วนประกอบของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน โดยในน้ำนมจะพบปริมาณของฮอร์โมนนี้ 50-110 นาโนกรัม1 เมื่อมารดามีการใช้ยาฝังในช่วง 6 สัปดาห์หลังคลอดพบว่า ไม่พบความแตกต่างในระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เมื่อเทียบกับวิธีการคุมกำเนิดที่ไม่ใช้ฮอร์โมน2 สำหรับน้ำหนักของทารก พบว่าทารกในช่วง 12 สัปดาห์ของกลุ่มมารดาที่ใช้ยาฝังคุมกำเนิดมีแนวโน้มจะมีน้ำหนักขึ้นมากกว่ากลุ่มมารดาใช้ยาฉีดคุมกำเนิด3 และมีน้ำหนักมากกว่าในกลุ่มที่ใช้ห่วงอนามัยชนิดทองแดงใน 6 เดือนหลังคลอด2

 

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Schwallie PC. The effect of depot-medroxyprogesterone acetate on the fetus and nursing infant: a review. Contraception 1981;23:375-86.

2.???????????? Kapp N, Curtis K, Nanda K. Progestogen-only contraceptive use among breastfeeding women: a systematic review. Contraception 2010;82:17-37.

3.???????????? Brito MB, Ferriani RA, Quintana SM, Yazlle ME, Silva de Sa MF, Vieira CS. Safety of the etonogestrel-releasing implant during the immediate postpartum period: a pilot study. Contraception 2009;80:519-26.

 

?

การคุมกำเนิดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 4)

Mom

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ยาฉีดคุมกำเนิด จะมีส่วนประกอบของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน โดยในน้ำนมจะพบปริมาณของฮอร์โมนนี้ 0.5-13 ไมโครกรัม1 ผลในด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มที่ฉีดยาคุมกำเนิดใน 48 ชั่วโมงหลังคลอดเทียบกับการใช้ยาหลอกไม่มีความแตกต่างกันในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และในกลุ่มที่ฉีดยาคุมกำเนิดใน 6 สัปดาห์หลังคลอดไม่พบความแตกต่างระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และน้ำหนักทารกที่ 26 สัปดาห์หลังคลอดเมื่อเทียบกับวิธีการคุมกำเนิดที่ไม่ใช้ฮอร์โมน2 สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ยาฉีดคุมกำเนิดในระยะแรกหลังคลอดก่อนให้มารดากลับบ้านกับการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังไม่ชัดเจน3,4

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Schwallie PC. The effect of depot-medroxyprogesterone acetate on the fetus and nursing infant: a review. Contraception 1981;23:375-86.

2.???????????? Kapp N, Curtis K, Nanda K. Progestogen-only contraceptive use among breastfeeding women: a systematic review. Contraception 2010;82:17-37.

3.???????????? Brownell EA, Fernandez ID, Howard CR, et al. A systematic review of early postpartum medroxyprogesterone receipt and early breastfeeding cessation: evaluating the methodological rigor of the evidence. Breastfeed Med 2012;7:10-8.

4.???????????? Brownell EA, Fernandez ID, Fisher SG, et al. The effect of immediate postpartum depot medroxyprogesterone on early breastfeeding cessation. Contraception 2012.

 

การคุมกำเนิดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 3)

Mom

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ยาแผ่นปิดผิวหนังคุมกำเนิด มีการศึกษาการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนแบบแผ่นปิดผิวหนังจะช่วยคุมกำเนิดขณะมารดาให้นมแม่ได้1 โดยระดับฮอร์โมนในกระแสเลือดของมารดาต่ำเมื่อใช้ขณะ 6 สัปดาห์หลังคลอด

ยาคุมกำเนิดชนิดโปรเจสเตอโรนอย่างเดียว (progestin-only pill) มีการศึกษาการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดนี้ใน 14 ชั่วโมงหลังคลอดเทียบกับการให้ยาหลอกไม่พบความแตกต่างในการเริ่มให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และน้ำหนักทารกที่ขึ้นในช่วงสองสัปดาห์ และหากให้ใน 6 สัปดาห์หลังคลอด ไม่พบความแตกต่างในระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เมื่อเทียบกับวิธีการคุมกำเนิดที่ไม่ใช้ฮอร์โมน สำหรับน้ำหนักทารกไม่พบความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ใช้ยานี้กับยาหลอกในช่วง 2 สัปดาห์หลังคลอด2

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Perheentupa A, Critchley HO, Illingworth PJ, McNeilly AS. Enhanced sensitivity to steroid-negative feedback during breast-feeding: low-dose estradiol (transdermal estradiol supplementation) suppresses gonadotropins and ovarian activity assessed by inhibin B. J Clin Endocrinol Metab 2000;85:4280-6.

2.???????????? Kapp N, Curtis K, Nanda K. Progestogen-only contraceptive use among breastfeeding women: a systematic review. Contraception 2010;82:17-37.

 

?

การคุมกำเนิดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 2)

Mom

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ข้อมูลของผลของการคุมกำเนิดในแต่ละวิธีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีดังนี้

ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (combined contraceptive pill) จะมีส่วนประกอบของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน โดยในน้ำนมจะพบปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนร้อยละ 0.03-0.1ของขนาดที่ยารับประทาน1 พบปริมาณของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ร้อยละ 0.1ของขนาดที่ยารับประทาน2 มีการศึกษาที่ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมเริ่มที่ 24 ชั่วโมงหลังคลอดพบว่าต้องให้น้ำนมเสริมหลังคลอดในวันที่แปดสูงกว่าในกลุ่มที่ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมเทียบกับกลุ่มที่ใช้ยาหลอก ในการศึกษาที่ใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมขณะ 6 สัปดาห์หลังคลอด ไม่พบความแตกต่างในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ น้ำหนักทารก และผลเสียต่อสุขภาพทารก3 แต่ยังมีการศึกษาถึงระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับวิธีการคุมกำเนิดพบว่า การใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมสัมพันธ์กับมารดาเลี้ยงลูกด้วยนมผสมสูงถึง 14.5 เท่าในช่วงสามเดือนแรกหลังคลอด และ 11.7 เท่าในช่วงตั้งแต่สามเดือนถึงหกเดือน4 ดังนั้นไม่ควรให้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมในระยะแรกหลังคลอดเพราะอาจส่งผลต่อการลดปริมาณน้ำนมได้ และควรหลีกเลี่ยงการใช้ในมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Hull VJ. The effects of hormonal contraceptives on lactation: current findings, methodological considerations, and future priorities. Stud Fam Plann 1981;12:134-55.

2.???????????? Johansson E, Odlind V. The passage of exogenous hormones into breast milk–possible effects. Int J Gynaecol Obstet 1987;25 Suppl:111-4.

3.???????????? Kapp N, Curtis KM. Combined oral contraceptive use among breastfeeding women: a systematic review. Contraception 2010;82:10-6.

4.???????????? van Wouwe JP, Lanting CI, van Dommelen P, Treffers PE, van Buuren S. Breastfeeding duration related to practised contraception in the Netherlands. Acta Paediatr 2009;98:86-90.

 

?

การคุมกำเนิดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 1)

Mom

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? เมื่อมารดาคลอดบุตร กระบวนการกระตุ้นการเลี้ยงลูกด้วยนมต้องเริ่มให้การสนับสนุน โดยเริ่มตั้งแต่การให้ลูกได้กระตุ้นดูดนมภายในครึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด ให้ผิวสัมผัสของทารกสัมผัสหน้าอกมารดาในระยะแรกคลอด จากนั้นให้การกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง โดยให้ลูกกระตุ้นดูดนมทุก 2-3 ชั่วโมงจนกระทั่งมารดาสามารถเข้าเต้าและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยตนเอง ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้รับการยอมรับและมีการสนับสนุนให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน หลังจากนั้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังสามารถให้ต่อเนื่องได้นานตามความต้องการของมารดาและทารก ในช่วงระยะหลังคลอดนี้มารดาที่ไม่พร้อมในการมีบุตรคนต่อไปหรือต้องการไว้ระยะของการมีบุตรไว้ให้มีบุตรในช่วงเวลาที่เหมาะสมมักได้รับคำปรึกษาและคำแนะนำเกี่ยวกับการคุมกำเนิด