คลังเก็บป้ายกำกับ: การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อยหกเดือน

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรก

breastfeeding-protest-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

???????????? -การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจะให้สารอาหารและน้ำที่จำเป็นเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในหกเดือนแรก ซึ่งหมายถึงครบหกเดือนเต็ม โดยประมาณ 26 สัปดาห์หรือ 180 วัน ไม่ใช่ครบการเริ่มต้นของเดือนที่หก

??????????? -การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว หมายถึงการไม่เสริมน้ำ ของเหลว หรืออาหารอื่นใดนอกเหนือจากนมแม่ แต่วิตามิน เกลือแร่ หรือยาสามารถให้ได้หากมีข้อบ่งชี้ การให้นมแม่ในทารกระยะแรกจะให้วันละ 8-12 ครั้งซึ่งจะรวมจำนวนครั้งของการให้นมในช่วงกลางคืนด้วย

??????????? -การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจจะถูกรบกวนโดยสิ่งต่อไปนี้

??????? การให้น้ำ ของเหลว หรืออาหารอื่นที่นอกเหนือจากนมแม่

??????? การให้หัวนมหลอกแก่ทารก

??????? การจำกัดจำนวนครั้งของการให้นมแม่

??????? การจำกัดสถานที่ในการให้นมแม่หรือช่วงระยะเวลาในการให้นมแม่

??????????? -หลังจากหกเดือนแรก ทารกควรได้รับอาหารเสริมเพิ่มจากการให้นมแม่ แต่การให้นมแม่ต่อเนื่องต่อไปยังมีประโยชน์และยังเป็นแหล่งพลังงานสำหรับทารก 1 ใน 3 ถึง 1 ใน 2 ของทารกที่อายุหนึ่งปี และสามารถให้นมแม่ต่อไปได้ถึงสองปีหรือมากกว่า

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

เครื่องมือในการวัดทัศนคติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

pregnant6

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทัศนคติของมารดาต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นสิ่งที่สำคัญ โดยในมารดาที่มีทัศนคติเชิงบวกต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นานกว่า มีการศึกษาและออกแบบสอบถามทัศนคติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ Iowa Infant feeding Attitude Scale หรือใช้คำย่อเป็น IIFAS ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เป็นแบบสอบถามใช้สำรวจทัศนคติของมารดาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยจะมีทั้งหมด 17 หัวข้อ ในเก้าหัวข้อจะถามเรื่องเกี่ยวกับความสนใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และอีกแปดหัวข้อจะสอบถามเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมผสมซึ่งจะเป็นคะแนนในด้านลบของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ละหัวข้อจะมีลำดับคะแนนความคิดเห็น 1 ถึง 5 ตาม Likert scale ช่วงคะแนนที่เป็นผลลัพธ์ของการประเมินจะตั้งแต่ 17 ถึง 85 คะแนนของแบบสอบถามที่สูงบ่งบอกถึงทัศนคติเชิงบวกของมารดาต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คะแนนแบบสอบถามที่ต่ำบ่งบอกถึงทัศนคติเชิงบวกของมารดาต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมผสม นอกจากนี้คะแนนของแบบสอบถามยังทำนายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่หกสัปดาห์หลังคลอดได้อย่างมีนัยสำคัญ1

ตารางที่ 1 แสดง Iowa Infant feeding Attitude Scale

คำถาม

ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง

ไม่เห็นด้วย

เฉยๆ

เห็นด้วย

เห็นด้วยอย่างยิ่ง

1.คุณประโยชน์ในด้านสารอาหารของนมแม่จะมีอยู่จนกระทั่งทารกหยุดนมแม่

2.การเลี้ยงลูกด้วยนมผสมสะดวกกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

3.การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มสายสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก

4.นมแม่ขาดธาตุเหล์ก

5.ทารกที่เลี้ยงด้วยนมผสมจะมีโอกาสที่จะได้รับการป้อนนมเกินมากกว่าทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่

6.การเลี้ยงลูกด้วยนมผสมเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับมารดาที่ทำงานนอกบ้าน

7.มารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมผสมจะพลาดโอกาสในการมีความสุขจากความรู้สึกของการเป็นแม่

8.มารดาไม่ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานที่สาธารณะ เช่น ร้านอาหาร

9.ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่จะมีสุขภาพดีกว่าทารกที่เลี้ยงด้วยนมผสม

10.ทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่จะมีโอกาสที่จะได้รับการป้อนนมเกินมากกว่าทารกที่เลี้ยงด้วยนมผสม

11.บิดาจะรู้สึกถูกทอดทิ้งหากมารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

12.นมแม่เป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทารก

13.นมแม่ย่อยง่ายกว่านมผสม

14.นมผสมให้สุขภาพที่ดีกับทารกมากกว่านมแม่

15.การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สะดวกกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมผสม

16.นมแม่ประหยัดกว่านมผสม

17.มารดาที่บางครั้งดื่มแอลกอฮอล์ไม่ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

?

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Ho YJ, McGrath JM. A Chinese version of Iowa Infant Feeding Attitude Scale: reliability and validity assessment. Int J Nurs Stud 2011;48:475-8.

?

?

เทคนิคการทำให้นมแม่มามาก (ตอนที่ 1)

Mom

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? หนึ่งในปัญหาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่พบบ่อยคือ น้ำนมไม่พอหรือการที่มารดารู้สึกว่าน้ำนมมีไม่พอ1,2 การเรียนรู้เรื่องขั้นตอนการกระตุ้นให้น้ำนมมาเร็วและมามากจึงมีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาเรื่องนี้มาก เทคนิคการทำให้น้ำนมมาเพียงพอหรือมามาก มีดังนี้

การให้ทารกสัมผัสกับหน้าอกมารดาในระยะแรกหลังคลอด เป็นจุดเริ่มต้นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ระยะเวลาของการให้ทารกสัมผัสกับหน้าอกมารดายิ่งนานจะช่วยให้การเริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวและระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้น3,4

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Gatti L. Maternal perceptions of insufficient milk supply in breastfeeding. J Nurs Scholarsh 2008;40:355-63.

2.???????? Li R, Fein SB, Chen J, Grummer-Strawn LM. Why mothers stop breastfeeding: mothers’ self-reported reasons for stopping during the first year. Pediatrics 2008;122 Suppl 2:S69-76.

3.???????? Bramson L, Lee JW, Moore E, et al. Effect of early skin-to-skin mother–infant contact during the first 3 hours following birth on exclusive breastfeeding during the maternity hospital stay. J Hum Lact 2010;26:130-7.

4.???????? Moore ER, Anderson GC, Bergman N, Dowswell T. Early skin-to-skin contact for mothers and their healthy newborn infants. Cochrane Database Syst Rev 2012;5:CD003519.

 

 

10 ปัญหาที่พบบ่อยในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

Mom

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเป็นสิ่งที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องเผชิญ ปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องใส่ใจเนื่องจากเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การทำความเข้าใจกับปัญหาในแต่ละหัวข้อจะทำให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถวางแผนการแก้ไขได้อย่างเหมาะสม ปัญหาที่พบบ่อย1 มี 10 ข้อ ดังนี้

  1. มารดาการขาดความรู้และ/หรือเข้าร่วมการให้ความรู้ก่อนการคลอดน้อย
  2. ความไม่แน่ใจหรือการลังเลในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  3. ความอายในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  4. ความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  5. การกลับเข้าทำงานของมารดา
  6. การเริ่มอาหารอื่นร่วมด้วยเร็ว
  7. การเข้าใจผิดเกี่ยวกับพฤติกรรมปกติของทารก
  8. การที่น้ำนมไม่พอหรือรู้สึกว่าน้ำนมไม่พอ
  9. ความสะดวกสบายของการใช้และให้นมผสม
  10. การสนับสนุนของครอบครัวและสังคมที่ไม่พอเพียง

สิ่งเหล่านี้สามารถแก้ได้ด้วย การให้ความรู้กับมารดาถึงประโยชน์ของนมแม่ที่มีสูงกว่า ทำให้มารดาเข้าใจเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แก้ความเชื่อผิดๆ ชี้ให้เห็นลักษณะปกติของทารก และสอนวิธีการให้นมแม่หากจำเป็นต้องกลับไปทำงาน

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Neifert M, Bunik M. Overcoming clinical barriers to exclusive breastfeeding. Pediatr Clin North Am 2013;60:115-45.

 

 

นิยามของการบอกปริมาณของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

Mom

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ในการศึกษาวิจัยเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การอธิบายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นมีความจำเป็นเพื่อสื่อสารและทำให้เข้าใจได้ว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในการศึกษานั้นเป็นลักษณะใด ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นจำเป็นต้องอาศัยปริมาณในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่ ดังนั้นจึงมีการให้คำนิยามของการบอกปริมาณการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตาม Interagency group for action on breastfeeding1 ดังนี้

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเต็มที่ (full breastfeeding) คือ การที่ให้ลูกได้รับนมแม่อย่างเดียว ไม่มีการใช้สารน้ำอื่น ยา หรือวิตามิน หรือเป็นการให้ลูกได้รับนมแม่เกือบเพียงอย่างเดียวโดยอาจมีการให้สารน้ำ ยาหรือวิตามินตามความจำเป็น

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงบางส่วน (partial breastfeeding) คือ การที่ให้ลูกได้รับนมแม่บางส่วนและมีการให้สารอื่น นมผสมหรือนมอื่นๆ ในสัดส่วนที่แตกต่างกัน แบ่งเป็น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงบางส่วนชนิดได้รับสูงจะได้รับนมแม่มากกว่าร้อยละ 80 การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงบางส่วนชนิดได้รับปานกลางจะได้รับนมแม่ตั้งแต่ร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 80 การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงบางส่วนชนิดได้รับต่ำจะได้รับนมแม่น้อยกว่าร้อยละ 20

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงเล็กน้อย (token breastfeeding) คือ การที่ให้ลูกได้รับนมแม่เพียงบางครั้ง ไม่สม่ำเสมอหรือเล็กน้อย

เมื่อมีการให้นิยามเหล่านี้อย่างชัดเจน การเก็บข้อมูลอย่างเข้มงวดจะทำให้ได้ผลของการศึกษาวิจัยเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นมีความน่าเชื่อถือ สามารถจะเก็บข้อมูลได้อย่างมั่นใจ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จำเป็นโดยเฉพาะในโรงพยาบาลที่มีนโยบายโรงสายสัมพันธ์แม่ลูกเนื่องจากนำไปใช้ในการติดตาม พัฒนาและเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่2

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Noel-Weiss J, Boersma S, Kujawa-Myles S. Questioning current definitions for breastfeeding research. Int Breastfeed J 2012;7:9.

2.??????????? Zakarija-Grkovic I, Segvic O, Bozinovic T, et al. Hospital practices and breastfeeding rates before and after the UNICEF/WHO 20-hour course for maternity staff. J Hum Lact 2012;28:389-99.