การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 5)

breastfeeding s0011502908000230.jpg3

รูปการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จาก Eglash A, et al.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์ The Mother?Baby Assessment (MBA)2 มีรายละเอียด ดังนี้

?

คะแนน

รายละเอียดที่ต้องสังเกต

สัญญาณความพร้อมในการดูดนม (signaling)

1

มารดา: เฝ้ามองและสังเกตลักษณะของทารก โดยอาจจะอุ้มจับ ขยับหรือโยกตัว พูดกับลูก กระตุ้นลูกหากลูกง่วง ซึมหรือสับสน

1

ทารก: ลักษณะความพร้อมในการดูดนม ได้แก่ การจ้องมอง การตื่นตัว การตอบสนองต่อการกระตุ้น การดูด การนำมือหรือนิ้วเข้าปาก ลักษณะการส่งเสียงและการร้อง
ท่าทางในการดูดนม (position)

1

มารดา: ประคองลูกให้อยู่ในท่าทีดีในการเข้าเต้า ลำตัวลูกโค้งงอเล็กน้อย โดยด้านหน้าของลำตัวของลูกสัมผัสกับลำตัวแม่ ศีรษะและไหล่ของลูกได้รับการประคองไว้

1

ทารก: ลูกจะตอบสนองต่อการกระตุ้นของเต้านมได้ดี โดยการอ้าปากกว้าง ลิ้นอยู่ในลักษณะรูปถ้วย และวางอยู่บริเวณเหงือกด้านล่าง
การเข้าเต้า (fixing)

1

มารดา: จับเต้านมช่วยลูกเมื่อจำเป็น นำลูกเข้าแนบชิดเมื่อลูกอ้าปากกว้าง อาจบีบน้ำนมช่วย

1

ทารก: การเข้าเต้า โดยลูกจะอมหัวนมและส่วนของลานนมยาว 2 เซนติเมตรเข้าไปในปาก จากนั้นดูด ซึ่งจะดูดและหยุดสลับเป็นจังหวะต่อเนื่องกัน
การไหลของน้ำนม (milk transfer)

1

มารดา: รู้สึกกระหายน้ำ ปวดมดลูก น้ำคาวปลาเพิ่มขึ้น ปวดหรือเสียวเต้านม ผ่อนคลาย ง่วงนอน มีน้ำนมไหลจากเต้านมอีกข้าง

1

ทารก: ได้ยินเสียงการกลืน สังเกตเห็นนมในปากลูก ลูกอาจจะปลิ้นน้ำนมออกมาขณะเรอ มีการเปลี่ยนแปลงจังหวะการดูดจาก 2 ครั้งต่อวินาทีเป็น 1 ครั้งต่อวินาที
การหยุดดูดนม (ending)

1

มารดา: รู้สึกโล่งสบายเต้านม โดยให้ทารกดูดนมจนเกลี้ยงเต้า เต้านมจะนุ่มหลังการให้นมลูก ไม่พบก้อน ไม่ตึงคัดหรือเจ็บหัวนม

1

ทารก: ปล่อยเต้านมออกมาเอง อิ่ม ไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้น หน้า แขนและมือผ่อนคลาย โดยอาจจะหลับ

เกณฑ์นี้ใช้ตัวแปรในการประเมิน 5 ตัวแปรคือ สัญญาณความพร้อมในการดูดนม ท่าทางในการดูดนม การเข้าเต้าหรือการอมหัวนมและลานนม การไหลของน้ำนม และการหยุดดูดนม โดยคะแนนเต็มของเกณฑ์นี้คือ 10 คะแนน ข้อมูลจากการประเมินทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากมารดาและทารก ผู้ประเมินสามารถทำการประเมินโดยพยาบาล การนำมาใช้ทำโดยใช้ติดตามพัฒนาการมารดาและทารกในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่3 ข้อมูลของประสิทธิภาพของเกณฑ์นี้ มีการศึกษาถึงความเชื่อมั่นในการให้คะแนนระหว่างบุคคล (inter-rater reliability) พบว่ามี 0.33-0.664

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????? Mulford C. The Mother-Baby Assessment (MBA): an “Apgar score” for breastfeeding. J Hum Lact 1992;8:79-82.

3.???????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of Breastfeeding and Infant Growth. Journal of Midwifery & Women’s Health 2007;52:571-8.

4.???????? Riordan JM, Koehn M. Reliability and validity testing of three breastfeeding assessment tools. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 1997;26:181-7.

 

 

 

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 4)

breastfeeding s0011502908000230.jpg3

รูปการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จาก Eglash A, et al.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์ Systematic Assessment of the Infant at Breast (SAIB)2 มีรายละเอียด ดังนี้

?

รายละเอียด

แนวการวางตัวของทารก (alignment) ทารกอยู่ในท่างอตัว ผ่อนคลาย ไม่มีการเกร็งแข็งของกล้ามเนื้อ
ศีรษะทารกและลำตัวอยู่ระดับเต้านม
ศีรษะทารกอยู่แนวเดียวกับลำตัว ไม่หันไปทางด้านข้าง ก้มหรือเงยจนเกินไป
แนวการวางตัวของทารกที่ถูกต้องจะอยู่ในแนวของเส้นสมมุติจากหู ไปไหล่และขอบกระดูกอุ้งเชิงกราน (iliac crest)
เต้านมของแม่จะต้องได้รับการประคองด้วยมือที่วางเป็นลักษณะรูปถ้วยในสองสัปดาห์แรกของการให้นมลูก
การอมคาบหัวนมและลานนม เห็นปากอ้ากว้าง ริมฝีปากต้องไม่ห่อ
มองเห็นริมฝีปากปลิ้นออก
ทารกประกบริมฝีปากพอดีกับเต้านมทำให้มีแรงดูดสุญญากาศมาก
ลานนมที่อยู่ต่ำจากหัวนมประมาณครึ่งนิ้วอยู่ตรงกลางปากทารก
ลิ้นจะวางอยู่บริเวณขอบด้านล่างของต่อมเต้านม (alveolar ridge)
ลิ้นจะเป็นรูปโค้งงอโอบรอบลานนมทางด้านล่าง
ไม่มีเสียงลมระหว่างการดูดนมของทารก
ไม่มีรอยบุ๋มบริเวณแก้มระหว่างการดูดนมของทารก
การกดบริเวณลานนม กรามของทารกจะเคลื่อนไหวอย่างเป็นจังหวะ
ถ้าจำเป็นต้องตรวจสอบ ทำได้โดยให้ทารกดูดนิ้วมือจะพบการเคลื่อนเป็นลูกคลื่นของลิ้นจากทางด้านหน้าไปทางด้านหลัง
การได้ยินเสียงทารกกลืนน้ำนม เสียงของการกลืนจะเงียบ
หลังการดูดหลายครั้งอาจได้ยินเสียง
เสียงอาจจะเพิ่มความถี่หรือความสม่ำเสมอขึ้นหลังการเกิดกลไกน้ำนมพุ่ง

เกณฑ์นี้ใช้ตัวแปรในการประเมิน 4 ตัวแปรคือ แนวการวางตัวของทารก การเข้าเต้าหรือการอมหัวนมและลานนม การกดบริเวณลานนม และการได้ยินเสียงกลืนน้ำนม ลักษณะของเกณฑ์พิจารณาอย่างเป็นระบบจากกลไกทางวิทยาศาสตร์ของการดูดนมของทารก ไม่มีการให้เป็นน้ำหนักคะแนน โดยมีความเชื่อว่าหากมีลักษณะตามกลไกเหล่านี้จะสัมพันธ์กับการดูดนมแม่ได้ดี จึงใช้ประโยชน์เป็นแนวทางในการสอนมารดาที่ไม่รู้วิธีในการเริ่มให้นมแม่3

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????? Shrago L, Bocar D. The infant’s contribution to breastfeeding. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 1990;19:209-15.

3.???????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of Breastfeeding and Infant Growth. Journal of Midwifery & Women’s Health 2007;52:571-8.

 

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 3)

breastfeeding s0011502908000230.jpg3รูปการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จาก Eglash A, et al.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์ LATCH Assessment (LATCH) มีรายละเอียด ดังนี้

?

คะแนน

รายละเอียด

L= Latch คือ การอมหัวนมและลานนม

2

คาบหัวนมและลานนม ลิ้นแตะเหงือกล่าง ริมฝีปากบานออก ดูดนมเป็นจังหวะ

1

ใช้ความพยายามหลายครั้งหรือกระตุ้นจนอมหัวนมและลานนม

0

ง่วงหรือลังเลจนอมดูดหัวนมไม่ได้
A = Audible swallowing คือ การได้ยินเสียงกลืนน้ำนม

2

อายุ <24 ชั่วโมง ได้ยินเป็นช่วงๆ

อายุ >24 ชั่วโมง ได้ยินบ่อยครั้ง

1

ได้ยิน 2-3 ครั้งหลังกระตุ้นให้ดูดนม

0

ไม่ได้ยิน
T = Type of nipple คือ ลักษณะหัวนมของแม่

2

หัวนมชี้พุ่งปกติหรือหลังถูกกระตุ้น (everted nipple)

1

หัวนมแบน (flat nipple)

0

หัวนมบอดบุ๋ม (inverted)
C = Comfort breast and nipple คือ รู้สึกสบายเต้านมและหัวนม

2

เต้านมและหัวนมนุ่ม อาจจะรู้สึกเจ็บเล็กน้อยขณะลูกดูดนม

1

มีรอยแดงบริเวณเต้านม หัวนมมีรอยพองเล็กน้อย และเจ็บรุนแรงปานกลาง

0

เต้านมคัดมาก หัวนมแตกเป็นแผล เลือดออกและเจ็บรุนแรงมาก
H = Hold คือ ท่าอุ้มลูกหรือจัดท่าลูกขณะให้นม

2

ไม่ต้องการความช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ แม่สามารถอุ้มและจัดท่าลูกด้วยตนเอง

1

ต้องการความช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่บ้าง เช่น ยกหัวเตียง จัดหมอนรอง

0

ต้องการความช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่อย่างเต็มที่

หมายเหตุ ตารางการประเมินแปลโดย กุสุมา ชูศิลป์2

เกณฑ์นี้ใช้ตัวแปรในการประเมิน 5 ตัวแปรคือ การเข้าเต้าหรือการอมหัวนมและลานนม การได้ยินเสียงกลืนน้ำนม ลักษณะของหัวนมของแม่ ความรู้สึกสบายเต้านมและหัวนม ท่าอุ้มลูกหรือการจัดท่าลูกขณะให้นม โดยคะแนนเต็มของเกณฑ์นี้คือ 10 คะแนน ข้อมูลจากการประเมินทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากมารดาและทารก ผู้ประเมินสามารถทำการประเมินโดยพยาบาลหรือมารดา การแปลผล หากคะแนนการประเมินในทารกอายู 16-24 ชั่วโมงมากกว่า 8 แสดงว่ามีความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ใน 6 สัปดาห์หลังคลอดสูง3

ข้อมูลของประสิทธิภาพของเกณฑ์นี้ มีการศึกษาถึงคะแนน LATCH มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ 6 สัปดาห์และใช้ติดตามช่วยเหลือมารดาที่หยุดนมแม่ในระยะแรกจากการเจ็บเต้านม4 และมีการประเมินความสัมพันธ์ในการให้คะแนน LATCH ของบุคลากรทางการแพทย์กับมารดาพบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ตั้งแต่ 0.18 ในการประเมินการได้ยินเสียงทารกกลืนน้ำนมถึง 0.67 ในการประเมินการเข้าเต้าหรือการอมหัวนมและลานนม5

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????? กุสุมา ชูศิลป์. การประเมินทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่. ใน: ศุภวิทย์ มุตตามระ, กุสุมา ชูศิลป์, อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ, วราภรณ์ แสงทวีสิน, ยุพยง แห่งเชาวนิช, บรรณาธิการ. ตำราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ไอยรา จำกัด; 2555:163-71.

3.???????? Kumar SP, Mooney R, Wieser LJ, Havstad S. The LATCH scoring system and prediction of breastfeeding duration. J Hum Lact 2006;22:391-7.

4.???????? Riordan J, Bibb D, Miller M, Rawlins T. Predicting breastfeeding duration using the LATCH breastfeeding assessment tool. J Hum Lact 2001;17:20-3.

5.???????? Adams D, Hewell S. Maternal and professional assessment of breastfeeding. J Hum Lact 1997;13:279-83.

 

 

 

ขอเลือกเกิดวันดีดี ได้ไหมค่ะ?

obgyn

การกำหนดวันคลอดโดยการคำนวณตามที่ได้กล่าวมาแล้ว การเจ็บครรภ์คลอดสามารถจะเกิดขึ้นเองได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 37 สัปดาห์ในครรภ์ปกติ โดยการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงจนถึงระยะที่พร้อมที่เกิดการคลอด การเลือกวันเกิดหรือการกระตุ้นให้คลอด หากไม่สามารถประเมินได้อย่างเหมาะสม โดยทั้งทารกและการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกยังไม่พร้อมจะเพิ่มโอกาสเกิดอันตรายต่อทารกและเพิ่มความเสี่ยงจากการผ่าตัดคลอดได้ ดังนั้นแนะนำว่าควรยึดหลักความปลอดภัยของมารดาและทารกไว้ก่อน ไม่ควรเลือกวันในการคลอดหากไม่มีเหตุผลอันสมควร

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

กลัวเจ็บครรภ์คลอด ขอผ่าตัดคลอดได้ไหม?

obgyn

 

? ? ? ? ? ?การคลอดเป็นกลไกของธรรมชาติ การเจ็บครรภ์จะกระตุ้นให้เกิดแรงเบ่งคลอดในช่วงเวลาที่เหมาะสม ในการดูแลการคลอดมีการให้ยาลดความปวด เพื่อลดอาการปวดลงโดยเป็นยากลุ่มมอร์ฟีน หลังฉีดยาผู้รอคลอดจะยังมีอาการปวดอยู่แต่ลดลง นอกจากนี้ในผู้รอคลอดบางรายมีการเลือกใช้ยาระงับความรู้สึกโดยฉีดยาเข้าช่องเหนือน้ำไขสันหลัง เพื่อระงับความรู้สึกวิธีนี้ผู้รอคลอดจะไม่ปวด แต่มักจะเบ่งคลอดไม่ได้ดี มักต้องใช้คีมหรือเครื่องดูดสุญญากาศช่วยคลอดมากขึ้น การขอผ่าตัดคลอดจากเหตุผลกลัวการเจ็บครรภ์คลอดนั้น คุณแม่จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็นจากการผ่าตัดคลอด

 

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

 

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)