คลอดเองกับผ่าตัดคลอดอย่างไหนดีกว่ากัน?

obgyn3

ช่องคลอดเป็นช่องทางที่ธรรมชาติสร้างไว้สำหรับการคลอด ดังนั้นหากสามารถคลอดได้ปกติทางช่องคลอด คุณแม่จะฟื้นตัวเร็ว เพราะหากจำเป็นต้องตัดฝีเย็บก็จะมีแผลเพียงเล็กน้อย สำหรับการผ่าตัดคลอดพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยสำหรับผู้ที่คลอดเองทางช่องคลอดไม่ได้ แผลผ่าตัดโดยปกติจะยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ซึ่งยาวกว่า ทำให้เสียเลือดมากกว่าและฟื้นตัวช้ากว่า

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 7)

breastfeeding s0011502908000230.jpg3รูปการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จาก Eglash A, et al.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์ Mother?Infant Breastfeeding Progress Tool (MIBPT)2 มีรายละเอียด ดังนี้

หัวข้อประเมิน

มารดามีปฏิกิริยาตอบสนองต่อลักษณะการดูดนมของทารก ได้แก่ ทารกที่ได้รับการกระตุ้นดูดนมและการเข้าเต้า
ระยะเวลาระหว่างช่วงให้นมลูกของมารดาไม่เกิน 3 ชั่วโมง
ทารกอมหัวนมและคาบลานนมพร้อมกับอ้าปากกว้าง ริมฝีปากมองเห็นปลิ้นออก
สังเกตเห็นการดูดนมแรง
มารดาสามารถจัดท่าให้นมได้ด้วยตนเอง
มารดาสามารถนำทารกเข้าเต้าได้
หัวนมของมารดาไม่มีบาดแผล
ไม่มีข้อคิดเห็นด้านลบในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

เกณฑ์นี้ใช้ตัวแปรในการประเมิน 8 ตัวแปรคือ มารดามีปฏิกิริยาตอบสนองต่อลักษณะการดูดนมของทารก ระยะเวลาระหว่างช่วงให้นมลูกของมารดาไม่เกิน 3 ชั่วโมง ทารกอมหัวนมและคาบลานนมพร้อมกับอ้าปากกว้าง ริมฝีปากมองเห็นปลิ้นออก สังเกตเห็นการดูดนมแรง มารดาสามารถจัดท่าให้นมได้ด้วยตนเอง มารดาสามารถนำทารกเข้าเต้าได้ หัวนมของมารดาไม่มีบาดแผลและไม่มีข้อคิดเห็นด้านลบในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ข้อมูลจากการประเมินทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากมารดาและทารก ไม่มีการให้คะแนนในเกณฑ์นี้ การนำไปใช้ใช้ช่วยประเมินพฤติกรรมทารกว่าเป็นอย่างไรและมารดามีปฏิกิริยาตอบสนองต่อทารกอย่างไร โดยใช้เป็นแบบตรวจสอบตามหัวข้อสำหรับการสอนมารดาและครอบครัวหรือใช้บ่งบอกว่ามารดาและทารกต้องการความช่วยเหลือในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ข้อมูลของประสิทธิภาพของเกณฑ์นี้ มีการศึกษาถึงความเชื่อมั่นในการให้คะแนนระหว่างบุคคล (inter-rater reliability) พบร้อยละ 79-953

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????? Johnson TS, Mulder PJ, Strube K. Mother-Infant Breastfeeding Progress Tool: a guide for education and support of the breastfeeding dyad. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2007;36:319-27.

3.???????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of breastfeeding and infant growth. J Midwifery Womens Health 2007;52:571-8.

 

 

 

การคลอดโดยใช้เครื่องดูดสุญญากาศ

การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 6)

breastfeeding s0011502908000230.jpg3รูปการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จาก Eglash A, et al.1

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์ Lactation Assessment Tool (LAT)2 มีรายละเอียด ดังนี้

หัวข้อประเมิน รายละเอียด
การเข้าเต้า สังเกตทารกตอบสนองต่อการกระตุ้น คาบอมหัวนมและลานนม ประกบปากและดูดนม
มุมของการอ้าปากที่เต้านม อย่างน้อย 160 องศา
ริมฝีปากปลิ้นออก ริมฝีปากบนและล่างไม่หุบเข้า
ตำแหน่งศีรษะทารก จมูกและคางติดกับเต้านม
เส้นแนวของแก้มทารก เส้นแนวของแก้มทารกเรียบ
ระดับความสูงของทารกที่เต้านม จมูกจะอยู่ตรงกับหัวนมขณะเริ่มดูดนม
การหมุนหันลำตัวของทารก หน้าอกทารกจะติดกับหน้าอกมารดา
ความสัมพันธ์ของลำตัวทารกกับมารดา ทารกอยู่ในแนวระดับพาดข้ามหน้าอกมารดา
พลศาสตร์การดูดนม ลักษณะการดูดและกลืนเป็นจังหวะ โดยมีอัตราการดูดต่อการกลืน 2 ต่อ 1หรือ 1 ต่อ 1 และเห็นการเคลื่อนไหวของเต้านมเป็นจังหวะตามการดูดนม

 

เกณฑ์นี้ใช้ตัวแปรในการประเมิน 9 ตัวแปรคือ การเข้าเต้า มุมของการอ้าปากที่เต้านม ริมฝีปากปลิ้นออก ตำแหน่งศีรษะทารก เส้นแนวของแก้มทารก ระดับความสูงของทารกที่เต้านม การหมุนหันลำตัวของทารก ความสัมพันธ์ของลำตัวทารกกับมารดา และพลศาสตร์การดูดนม ข้อมูลจากการประเมินทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลจากทารก ไม่มีการให้คะแนนในเกณฑ์นี้ การนำไปใช้ใช้ช่วยประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่มีการเจ็บเต้านม โดยหากปฏิบัติได้ตามเกณฑ์จะลดความเจ็บปวดในของเต้านมลง3,4

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Eglash A, Montgomery A, Wood J. Breastfeeding. Disease-a-Month 2008;54:343-411.

2.???????? Hill PD, Johnson TS. Assessment of Breastfeeding and Infant Growth. Journal of Midwifery & Women’s Health 2007;52:571-8.

3.???????? Cadwell K, Turner-Maffei C, Blair A, Brimdyr K, Maja McInerney Z. Pain reduction and treatment of sore nipples in nursing mothers. J Perinat Educ 2004;13:29-35.

4.???????? Blair A, Cadwell K, Turner-Maffei C, Brimdyr K. The relationship between positioning, the breastfeeding dynamic, the latching process and pain in breastfeeding mothers with sore nipples. Breastfeed Rev 2003;11:5-10.

 

 

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)