
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
???????????? คุณแม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารตามปิระมิดอาหาร โดยลดอาหารจำพวกไขมันและของหวาน และควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที ลักษณะการออกกำลังกายอาจจะออกโดยการว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดินหรือแอโรบิคก็สามารถทำได้

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
- ขณะที่คุณแม่ให้นมลูก น้ำหนักจะลดลงเข้าสู่น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์โดยที่ไม่ควรจะลดต่ำกว่าเกณฑ์นี้และไม่ควรลดเร็วเกินไป
- เมื่อให้นมลูก คุณแม่มักกระหายน้ำมากขึ้น คุณแม่จึงควรดื่มน้ำอย่างน้อยหนึ่งแก้วหลังให้นมลูก
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ขณะที่ให้นมลูก เนื่องจากแอลกอฮอล์จะผ่านทางน้ำนมได้
- การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชาหรือกาแฟ ไม่ควรดื่มเกินวันละสอง
- คุณแม่อาจยังคงต้องกินยาบำรุงเสริมเหมือนกับก่อนการคลอด โดยปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลเพื่อให้คำแนะนำที่เหมาะสม

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
?????????????? อาหารที่ควรรับประทานควรหลากหลาย มีดังนี้ ลักษณะอาหารเน้นความหลากหลายให้ครบห้าหมู่ ข้าว เนื้อสัตว์ที่มีไขมันน้อย นมหรือผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันน้อย และควรรับประทานธัญพืช ผักใบเขียว ถั่ว ผลไม้มากขึ้น และดื่มน้ำให้เพียงพอ

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? จะมีแผนที่แตกต่างกันในคุณแม่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ที่ต้องการสารอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างครบสัดส่วนเพื่อช่วยสร้างน้ำนมที่มีคุณค่าอย่างสมบูรณ์ แต่หากคุณแม่ไม่ได้ให้นมลูกเป้าหมายคือปรับให้น้ำหนักเข้าสู่ภาวะเหมาะสมหรือเท่ากับน้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ ซึ่งการดูแลและควบคุมชนิดของอาหารอย่างเหมาะสมจะทำให้คุณแม่บรรลุเป้าหมายเหล่านี้ได้

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
????????????? แม้นมแม่จะเหมาะสำหรับทารกที่สุด แต่หากมีเหตุจำเป็นต้องให้นมผสม นมผสมยังคงมีสารอาหารหลักที่จำเป็นสำหรับทารกครบถ้วน ดังนั้น คุณแม่ไม่จำเป็นต้องรู้สึกผิด สำหรับการสร้างสายสัมพันธ์กับลูก คุณแม่ยังสามารถจะสร้างสายสัมพันธ์กับลูกขณะให้นมลูกได้เช่นกัน
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)