การอภิปรายเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระหว่างฝากครรภ์ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อเอชไอวี

images (5)

????????? -แนะนำให้สตรีตั้งครรภ์ทุกคนได้รับการให้คำปรึกษาและตรวจการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ หากหญิงตั้งครรภ์คนใดมีตรวจพบมีการติดเชื้อเอชไอวี ควรได้รับการให้คำปรึกษาเพิ่มเติมและมีการดูแลอย่างใกล้ชิด

คำถาม หญิงตั้งครรภ์จะได้รับให้คำปรึกษาและตรวจการติดเชื้อเอชไอวีในพื้นที่ท่านอยู่ได้อย่างไร?

รอสักครู่ให้ผู้รับการฝึกอบรมตอบ

ในพื้นที่ที่หญิงตั้งครรภ์ตรวจพบการติดเชื้อเอชไอวี มีข้อแนะนำเกี่ยวกับการให้อาหารทารก ดังนี้

-การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรกในมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี หากไม่มีอาหารอื่นใดที่ปลอดภัยที่สามารถหาได้ในขณะนั้น

-หากสามารถหาอาหารทารกที่ปลอดภัย เพียงพอ และต่อเนื่องได้ ควรหลีกเลี่ยงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

-หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีทุกคนควรได้รับการให้คำปรึกษาในเรื่อง

??????? ข้อมูลข้อดีและข้อเสียของการใช้อาหารแต่ละชนิดเลี้ยงทารก

??????? การชี้แนะให้เลือกทางเลือกที่เหมาะสมในการให้อาหารทารกสำหรับสถานการณ์ของแต่ละคน ในแต่ละพื้นที่

??????? การสนับสนุนการเลี้ยงดูทารกตามที่มารดาได้เลือกตัดสินใจหลังจากได้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว

-หากเป็นไปได้ หญิงตั้งครรภ์ทุกรายควรทราบผลการตรวจการติดเชื้อเอชไอวีตั้งแต่ระยะฝากครรภ์ เพื่อช่วยในการวางแผนสำหรับการดูแลทารก

-หากหลังการให้คำปรึกษา มารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีตัดสินใจให้นมผสมเป็นอาหารสำหรับทารก จะต้องมั่นใจว่าอาหารที่มารดานั้นมีคุณสมบัติครบถ้วนตามคำย่อภาษาอังกฤษดังนี้ AFASS คือ acceptable, feasible, affordable, safe และ sustainable โดยความหมายคืออาหารสำหรับเลี้ยงทารกต้องได้รับการยอมรับ มีความเป็นไปได้ในการให้แก่ทารก สามารถจัดหาได้เพียงพอ มีความปลอดภัย และมีให้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมารดาจะต้องเรียนรู้วิธีการเตรียม การให้ และการเก็บรักษาก่อนการคลอดทารก เมื่อทารกคลอดมารดาต้องสามารถที่จะให้อาหารนั้นกับทารกได้ทันที

-มารดาที่ติดสินใจวางแผนว่าจะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต้องการการอภิปรายในเรื่อง

??????? ทางเลือกสำหรับอาหารของทารกที่ได้รับการยอมรับ มีความเป็นไปได้ในการให้แก่ทารก สามารถจัดหาได้เพียงพอ มีความปลอดภัย และมีให้อย่างต่อเนื่อง

??????? สิ่งที่มารดาจำเป็นต้องทราบหรือใช้ในการเลือกวิธีการให้อาหารทารก ได้แก่ แหล่งที่มาของนม น้ำ เครื่องมือ ค่าใช้จ่าย และเวลา ซึ่งในการเลือกอาหารของทารกแต่ละอย่างจะมีการเตรียมพร้อมที่แตกต่างกัน

??????? หากมารดาเลือกใช้นมผสมที่มีขายตามท้องตลาด มารดาควรมีความรู้ในความแตกต่างของนมผสมแต่ละสูตร และทราบว่าชนิดไหนเหมาะสมสำหรับลูก

??????? หากมารดาเลือกเตรียมนมเองที่บ้าน มารดาควรทราบแหล่งที่มาของน้ำนม และทราบว่ามีความเหมาะสมหรือปลอดภัยหรือไม่

??????? น้ำใช้ในบ้านเหมาะสมจะใช้ให้ทารกหรือไม่ หากไม่เหมาะสม ควรใช้น้ำชนิดใดในการให้กับทารก

??????? น้ำที่ใช้ชงนมผสมจำเป็นต้องต้ม และขวดนมจำเป็นต้องลวกน้ำร้อน ดังนั้น ควรจะมีเชื้อเพลิงหรือไฟฟ้าที่ใช้ในการต้มน้ำอย่างเพียงพอ

??????? วิธีในการทำความสะอาดอุปกรณ์ในการชงนม

??????? มารดาควรเรียนรู้เรื่องการเตรียมอาหารสำหรับทารก โดยผู้ที่จะช่วยดูแลให้อาหารทารกในครอบครัวควรเรียนรู้สิ่งต่างๆ เหล่านี้ด้วย

-มารดาที่มีการติดเชื้อเอชไอวีจำเป็นได้รับการแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการให้อาหารอื่น และควรได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลเต้านมจนกระทั่งน้ำนมแห้งหมดไป

-หากมารดาพิจารณาแล้วไม่สามารถจะเลี้ยงลูกด้วยนมผสมได้และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความปลอดภัยมากกว่า มารดาควรจะให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว หรืออาจพิจารณาใช้การบีบน้ำนมและกำจัดเชื้อเอชไอวีในน้ำนมด้วยความร้อน ซึ่งทางเลือกเหล่านี้ต้องพูดคุยและอภิปรายกับมารดาให้มารดาสามารถปฏิบัติได้ และมีการติดตามให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

-ในมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีบางคนอาจจะเลือกที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว และตัดสินใจเปลี่ยนเป็นการเลี้ยงลูกด้วยนมผสมหรืออาหารอื่นทันที เมื่อนมผสมหรืออาหารนั้นต้องได้รับการยอมรับ มีความเป็นไปได้ในการให้แก่ทารก สามารถจัดหาได้เพียงพอ มีความปลอดภัย และมีให้อย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้สามารถทำได้

-การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารกน้อยกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการให้อาหารอื่น

คำถาม ?หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีในพื้นที่ของโรงพยาบาลที่ท่านดูแลจะได้รับการให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงดูทารกที่ไหน??

??????????? รอสักครู่ให้ผู้รับการฝึกอบรมตอบ

??????????? ผู้ให้การฝึกอบรมควรมีข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ที่รับให้คำปรึกษาในเรื่องการเลี้ยงดูทารกในมารดาที่มีการติดเชื้อเอชไอวีไว้ตอบผู้รับการฝึกอบรม

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

สตรีที่ต้องการให้ความใส่ใจเป็นพิเศษในเรื่องการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

images (5)

???????? คำถาม หญิงตั้งครรภ์คนใดที่จำเป็นต้องให้คำปรึกษาหรือการสนับสนุนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มเติม?

รอสักครู่ให้ผู้รับการฝึกอบรมตอบ

-ชี้แยกว่าสตรีคนใดที่ต้องการให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ พูดคุยเพื่อช่วยในแผนของการให้นมลูก เสนอการพูดคุยเพิ่มเติมกับคนในครอบครัวที่มีส่วนร่วมในการเลี้ยงดูลูก มารดาที่อาจต้องการการให้คำปรึกษาและการสนับสนุนเพิ่มเติม ได้แก่

  • ??????? มารดาที่มีความยากลำบากในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในครรภ์ก่อนจนต้องเลิกเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และเลี้ยงนมผสมตั้งแต่ระยะแรก หรือไม่เคยเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เลย
  • ??????? มารดาที่ต้องแยกห่างจากลูกเพราะว่าทำงานไกลจากบ้าน โดยให้ความมั่นใจว่า สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แม้อยู่แยกกัน
  • ??????? มารดาที่มีครอบครัวที่ไม่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งต้องพยายามชี้ว่าเป็นสมาชิกคนใด และนัดพูดคุยกับสมาชิกคนนั้นเพื่ออภิปรายเรื่องความวิตกกังวลหรือความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ??????? มารดาที่ซึมเศร้า
  • ??????? มารดาที่แยกตัว และขาดการสนับสนุนทางสังคม
  • ??????? มารดาที่อายุน้อย หรือมารดาที่หย่าร้าง
  • ??????? มารดาที่มีแนวโน้มจะฝากลูกไว้ที่สถานรับเลี้ยงเด็ก
  • ??????? มารดาที่เคยบาดเจ็บหรือผ่าตัดเต้านมมาก่อน ซึ่งจะรบกวนการสร้างน้ำนม
  • ??????? มารดาที่มีโรคเจ็บป่วยเรื้อรังและต้องใช้ยาในการรักษา
  • ??????? มารดาที่มีลูกมีความเสี่ยงสูงที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ หรือเป็นครรภ์แฝด
  • ??????? มารดาที่ตรวจพบว่ามีการติดเชื้อเอชไอวี

??????????? -มารดาไม่จำเป็นต้องหยุดให้นมลูกคนก่อนเมื่อมีการตั้งครรภ์ ในกรณีที่มารดามีความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดหรือมีมดลูกหดรัดตัว ควรปรึกษากับแพทย์ผู้ดูแลก่อน มารดาควรดูแลในเรื่องการกินอาหารและการพักผ่อนเหมือนกับสตรีทั่วไป บางครั้งอาจจะมีการเจ็บเต้านมเพิ่มขึ้นหรืออาจมีน้ำนมลดลงในไตรมาสสอง การตั้งครรภ์สิ่งนี้ไม่ได้เป็นเหตุผลในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????????? -มารดาที่มีปัญหาเรื่องข้อจำกัดของอาหารในครอบครัว นมแม่จะช่วยเป็นส่วนสำคัญในอาหารเด็กอ่อน หากมีการหยุดนมแม่ ทารกจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในมารดาที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ โดยการรับประทานอาหารของมารดาจะมีผลต่อสภาวะของสารอาหารในร่างกายของมารดา ทารกในครรภ์ และทารกแรกเกิดด้วย

??????????? -หากมารดารู้สึกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวไม่สามารถทำได้ สอบถามว่าทำไมจึงรู้สึกว่าทำไม่ได้ บุคลากรทางการแพทย์สามารถแนะนำการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวให้กับมารดา

หากได้ทำแล้วมารดารู้สึกลำบากมากที่จะทำการให้ลูกได้กินนมแม่บ้างยังดีกว่าไม่ได้กินเลย อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นมารดาที่มีการติดเชื้อเอชไอวี การให้นมแม่อย่างเดียวจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อจากแม่ไปลูกต่ำกว่าการให้นมแม่บ้างบางส่วน

??????????? -หากมารดาไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยเหตุผลเรื่องการติดเชื้อเอชไอวีหรือติดสินใจหลังจากได้รับข้อมูลเป็นอย่างดีแล้ว มารดาควรได้รับการพูดคุยอภิปรายเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมผสมและการเตรียมนมผสม

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในเรื่องการตรวจเต้านม

images (5)

?????????? -การตรวจเต้านมระหว่างการตั้งครรภ์จะมีประโยชน์ หากใช้ในกรณี

??????? ตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของเต้านมในเรื่องขนาด? การเพิ่มขึ้นของเลือดที่ไปเลี้ยงเต้านม และการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ที่ทำให้มีความพร้อมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????? ตรวจดูว่าเคยมีการผ่าตัดเต้านมหรือการผ่าตัดบริเวณหน้าอกมาก่อนหรือไม่ มีการบาดเจ็บหรือก้อนที่เต้านมหรือไม่

??????? บอกให้หญิงตั้งครรภ์ตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอและประโยชน์ของการตรวจ

-การตรวจเต้านมอาจจะเกิดผลเสียหากใช้เพื่อตัดสินว่าเต้านมหรือหัวนมของหญิงตั้งครรภ์เหมาะสมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือไม่ เนื่องจากจะพบว่าโดยทั่วไปสตรีมีปัญหาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้อยจากรูปร่างและลักษณะของเต้านมหรือหัวนม

??????????? -การเตรียมพร้อมในระหว่างการฝากครรภ์หลักคือ ต้องการให้เวลาในการสื่อสารกับอภิปรายเรื่องความรู้ ความเชื่อ และความรู้สึกเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และสร้างความมั่นใจในความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

การเตรียมเต้านมและหัวนมในระหว่างฝากครรภ์เพื่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

images (5)

???????????? คำถาม ท่านจะทำอย่างไร หากมารดากังวลว่าเต้านมหรือหัวนมจะเหมาะสมสำหรับการให้นมแม่หรือไม่?

รอสักครู่ให้ผู้รับการฝึกอบรมตอบ

ให้ความมั่นใจว่าสตรีส่วนใหญ่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้โดยไม่มีปัญหา

??????????? -ส่วนอื่นของร่างกาย เช่น หู จมูก นิ้วมือหรือเท้าในแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ไม่มีคนถามว่า หูใหญ่ได้ยินดีกว่าหูเล็ก ดังนั้น? การที่เต้านมหรือหัวนมมีความแตกต่างกันก็ยังสามารถทำงานได้ดียกเว้นบางกรณีที่เป็นส่วนน้อย

??????????? -การปฏิบัติตัวระหว่างการตั้งครรภ์ ได้แก่ การสวมชุดชั้นใน การใช้ครีม การนวดเต้านม การบริหารหัวนม (nipple exercise) หรือการสวมประทุมแก้วไม่ได้ช่วยในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

??????????? -การปฏิบัติโดย การทำให้หัวนมแข็งและตั้งขึ้นโดยการใช้ผู้เช็ดตัวถูหรือการใช้แอลกอฮอล์ทาหัวนมหรือการดึงหัวนมขึ้นไม่มีความจำเป็น และอาจจะเกิดบาดแผลหรือความเสียหายต่อกล้ามเนื้อเล็กๆ ที่จะส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

ใช้ทักษะการสื่อสารเพื่อสานต่อการอภิปรายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

images (5)

?????????? -เปิดโอกาสให้มารดาได้อภิปรายถึงความวิตกกังวลในการเลี้ยงดูทารก โดยให้การอภิปรายเป็นการอภิปรายแบบสองทางระหว่างมารดาและบุคลากรทางการแพทย์มากกว่าจะเป็นการบรรยายความรู้

??????????? -หากมารดาตอบว่ามีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ในระยะแรกและรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว? บุคลากรทางการแพทย์ควรจะเสริมความรู้และให้การสนับสนุน ไม่จำเป็นต้องให้ข้อมูลซ้ำในสิ่งที่มารดารู้แล้ว

??????????? -ในการอภิปรายเกี่ยวกับวิธีการให้นมลูก สามีหรือคนใกล้ชิดในครอบครัวอาจมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจนี้ การตั้งคำถามว่า ใครในบ้านที่จะช่วยคุณแม่ในการเลี้ยงดูหรือให้นมลูก? จะมีประโยชน์ที่จะแนะนำให้คุณแม่พาคนที่จะช่วยในการเลี้ยงลูกมาร่วมฟังการอภิปรายถึงความสำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)