การอภิปรายเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระหว่างฝากครรภ์ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อเอชไอวี

images (5)

????????? -แนะนำให้สตรีตั้งครรภ์ทุกคนได้รับการให้คำปรึกษาและตรวจการติดเชื้อเอชไอวีโดยสมัครใจ หากหญิงตั้งครรภ์คนใดมีตรวจพบมีการติดเชื้อเอชไอวี ควรได้รับการให้คำปรึกษาเพิ่มเติมและมีการดูแลอย่างใกล้ชิด

คำถาม หญิงตั้งครรภ์จะได้รับให้คำปรึกษาและตรวจการติดเชื้อเอชไอวีในพื้นที่ท่านอยู่ได้อย่างไร?

รอสักครู่ให้ผู้รับการฝึกอบรมตอบ

ในพื้นที่ที่หญิงตั้งครรภ์ตรวจพบการติดเชื้อเอชไอวี มีข้อแนะนำเกี่ยวกับการให้อาหารทารก ดังนี้

-การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรกในมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี หากไม่มีอาหารอื่นใดที่ปลอดภัยที่สามารถหาได้ในขณะนั้น

-หากสามารถหาอาหารทารกที่ปลอดภัย เพียงพอ และต่อเนื่องได้ ควรหลีกเลี่ยงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

-หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีทุกคนควรได้รับการให้คำปรึกษาในเรื่อง

??????? ข้อมูลข้อดีและข้อเสียของการใช้อาหารแต่ละชนิดเลี้ยงทารก

??????? การชี้แนะให้เลือกทางเลือกที่เหมาะสมในการให้อาหารทารกสำหรับสถานการณ์ของแต่ละคน ในแต่ละพื้นที่

??????? การสนับสนุนการเลี้ยงดูทารกตามที่มารดาได้เลือกตัดสินใจหลังจากได้ข้อมูลครบถ้วนแล้ว

-หากเป็นไปได้ หญิงตั้งครรภ์ทุกรายควรทราบผลการตรวจการติดเชื้อเอชไอวีตั้งแต่ระยะฝากครรภ์ เพื่อช่วยในการวางแผนสำหรับการดูแลทารก

-หากหลังการให้คำปรึกษา มารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีตัดสินใจให้นมผสมเป็นอาหารสำหรับทารก จะต้องมั่นใจว่าอาหารที่มารดานั้นมีคุณสมบัติครบถ้วนตามคำย่อภาษาอังกฤษดังนี้ AFASS คือ acceptable, feasible, affordable, safe และ sustainable โดยความหมายคืออาหารสำหรับเลี้ยงทารกต้องได้รับการยอมรับ มีความเป็นไปได้ในการให้แก่ทารก สามารถจัดหาได้เพียงพอ มีความปลอดภัย และมีให้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมารดาจะต้องเรียนรู้วิธีการเตรียม การให้ และการเก็บรักษาก่อนการคลอดทารก เมื่อทารกคลอดมารดาต้องสามารถที่จะให้อาหารนั้นกับทารกได้ทันที

-มารดาที่ติดสินใจวางแผนว่าจะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต้องการการอภิปรายในเรื่อง

??????? ทางเลือกสำหรับอาหารของทารกที่ได้รับการยอมรับ มีความเป็นไปได้ในการให้แก่ทารก สามารถจัดหาได้เพียงพอ มีความปลอดภัย และมีให้อย่างต่อเนื่อง

??????? สิ่งที่มารดาจำเป็นต้องทราบหรือใช้ในการเลือกวิธีการให้อาหารทารก ได้แก่ แหล่งที่มาของนม น้ำ เครื่องมือ ค่าใช้จ่าย และเวลา ซึ่งในการเลือกอาหารของทารกแต่ละอย่างจะมีการเตรียมพร้อมที่แตกต่างกัน

??????? หากมารดาเลือกใช้นมผสมที่มีขายตามท้องตลาด มารดาควรมีความรู้ในความแตกต่างของนมผสมแต่ละสูตร และทราบว่าชนิดไหนเหมาะสมสำหรับลูก

??????? หากมารดาเลือกเตรียมนมเองที่บ้าน มารดาควรทราบแหล่งที่มาของน้ำนม และทราบว่ามีความเหมาะสมหรือปลอดภัยหรือไม่

??????? น้ำใช้ในบ้านเหมาะสมจะใช้ให้ทารกหรือไม่ หากไม่เหมาะสม ควรใช้น้ำชนิดใดในการให้กับทารก

??????? น้ำที่ใช้ชงนมผสมจำเป็นต้องต้ม และขวดนมจำเป็นต้องลวกน้ำร้อน ดังนั้น ควรจะมีเชื้อเพลิงหรือไฟฟ้าที่ใช้ในการต้มน้ำอย่างเพียงพอ

??????? วิธีในการทำความสะอาดอุปกรณ์ในการชงนม

??????? มารดาควรเรียนรู้เรื่องการเตรียมอาหารสำหรับทารก โดยผู้ที่จะช่วยดูแลให้อาหารทารกในครอบครัวควรเรียนรู้สิ่งต่างๆ เหล่านี้ด้วย

-มารดาที่มีการติดเชื้อเอชไอวีจำเป็นได้รับการแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการให้อาหารอื่น และควรได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลเต้านมจนกระทั่งน้ำนมแห้งหมดไป

-หากมารดาพิจารณาแล้วไม่สามารถจะเลี้ยงลูกด้วยนมผสมได้และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความปลอดภัยมากกว่า มารดาควรจะให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว หรืออาจพิจารณาใช้การบีบน้ำนมและกำจัดเชื้อเอชไอวีในน้ำนมด้วยความร้อน ซึ่งทางเลือกเหล่านี้ต้องพูดคุยและอภิปรายกับมารดาให้มารดาสามารถปฏิบัติได้ และมีการติดตามให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

-ในมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีบางคนอาจจะเลือกที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว และตัดสินใจเปลี่ยนเป็นการเลี้ยงลูกด้วยนมผสมหรืออาหารอื่นทันที เมื่อนมผสมหรืออาหารนั้นต้องได้รับการยอมรับ มีความเป็นไปได้ในการให้แก่ทารก สามารถจัดหาได้เพียงพอ มีความปลอดภัย และมีให้อย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้สามารถทำได้

-การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารกน้อยกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับการให้อาหารอื่น

คำถาม ?หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีในพื้นที่ของโรงพยาบาลที่ท่านดูแลจะได้รับการให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงดูทารกที่ไหน??

??????????? รอสักครู่ให้ผู้รับการฝึกอบรมตอบ

??????????? ผู้ให้การฝึกอบรมควรมีข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ที่รับให้คำปรึกษาในเรื่องการเลี้ยงดูทารกในมารดาที่มีการติดเชื้อเอชไอวีไว้ตอบผู้รับการฝึกอบรม

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009