บทบาทของบุคลากรทางการแพทย์ในการช่วยการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

 

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280m

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

???????? -บทบาทของบุคลากรทางการแพทย์ช่วงเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่

??????? ให้เวลาและบรรยากาศที่สงบเงียบ

??????? ช่วยให้มารดาอยู่ในท่าที่สบาย

??????? ชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมที่เป็นแนวโน้มที่ดีในการกินนมแม่ของทารก ได้แก่ การตื่นตัวหรือการใช้จมูกคุ้ยค้น

??????? หลีกเลี่ยงการเร่งรัดให้ทารกไปที่เต้านมมารดา หรือจับเต้านมมารดาใส่ปากทารก

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

วิธีการช่วยในการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280m

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????? ?เมื่อทารกได้สัมผัสกับหน้าอกของมารดา กลิ่นจากเต้านมจะช่วยนำทางทารกเข้าหาหัวนมและกินนมแม่ได้?

??????????? -ช่วยให้มารดาสังเกตและตระหนักรู้ถึงสัญชาติญาณการเริ่มต้นในการดูดนมแม่ของทารก เมื่อทารกได้สัมผัสกับหน้าอกของมารดาในบรรยากาศที่สงบ พฤติกรรมการเตรียมการดูดนมแม่จะเริ่มขึ้น โดยระยะเวลาที่ใช้อาจจะไม่กี่นาทีถึงเป็นชั่วโมง พฤติกรรมเหล่านี้ ได้แก่

??????? การพักอยู่ในภาวะตื่นตัวในช่วงสั้นๆ เพื่อปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมใหม่

??????? การนำนิ้วมือใส่ปากและดูด และการใช้มือควานหาเต้านมแม่

??????? มุ่งความสนใจไปที่จุดสีดำบนเต้านมที่เป็นจุดหมาย

??????? เคลื่อนที่ไปยังเต้านมและใช้จมูกคุ้ยค้น

??????? เมื่อค้นพบหัวนมแล้ว จึงอ้าปากอมหัวนมและลานนม

??????????? ไม่ควรใส่ความกดดันให้กับมารดาและทารกในการเริ่มต้นการกินนมแม่ว่า การเริ่มต้นต้องใช้เวลานานเท่าใด? การกินนมแม่ครั้งแรกต้องกินนานแค่ไหน? การอ้าปากอมหัวนมและลานนมทำได้ดีเพียงใด? ทารกกินหัวน้ำนมหรือน้ำนมเหลืองได้มากน้อยแค่ไหน? ?การดูดนมครั้งแรกควรจะได้รับการพิจาณาว่าเป็นการเริ่มต้นมากกว่าการกินนมแม่อย่างเป็นจริงเป็นจัง?

??????????? -การช่วยเหลือที่มากขึ้นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะเริ่มในครั้งถัดไป โดยช่วยให้มารดาได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดท่า การอ้าปากอมหัวนมและลานนมของทารก ลักษณะท่าทางที่บ่งบอกถึงความต้องการในการกินนมของทารก และทักษะอื่นๆ ที่จำเป็น

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

การพิชิตอุปสรรคที่ขัดขวางการให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาในระยะแรกหลังคลอด(ตอนที่2)

692450-topic-ix-5

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????? ห้องคลอดยุ่ง หากห้องคลอดยุ่ง ทารกและมารดาอาจได้รับการย้ายมาที่หอผู้ป่วยเพื่อให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาในระยะแรกและทำต่อเนื่องที่หอผู้ป่วยได้

??????? ไม่มีบุคลากรเพียงพอที่จะอยู่กับมารดาและทารก สมาชิกในครอบครัวสามารถจะเฝ้าอยู่กับมารดาและทารกได้

??????? ทารกไม่ตื่นตัว หากทารกง่วงนอนจากการได้ยาลดอาการปวด การให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาในระยะแรกยิ่งจำเป็นเพื่อช่วยสนับสนุน สร้างความผูกพัน และช่วยในการดูดนมแม่ด้วย

??????? มารดาเหนื่อย จะมีน้อยมากที่มารดาจะเหนื่อยมากจนไม่อยากอุ้มลูก การได้สัมผัสกับทารกจะทำให้มารดาผ่อนคลาย บุคลากรควรทบทวนแนวทางการปฏิบัติต่างๆ ด้วยว่ามีการปฏิบัติใดที่ทำให้มารดารู้สึกเหนื่อยหรือหมดแรง เช่น การงดน้ำงดอาหาร การคลอดที่เนิ่นนานเกินไป เป็นต้น

??????? มารดาไม่ต้องการอุ้มลูก การที่มารดาไม่ต้องการอุ้มลูกอาจจะบ่งถึงว่า มารดาอาจมีภาวะซึมเศร้าหรือมีความเสี่ยงที่จะทอดทิ้งลูก การให้มารดาได้สัมผัสกับลูกจะลดความเสี่ยงเหล่านี้

??????????? ในการคลอดทารกแฝด หลังทารกคนแรกคลอด การให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาสามารถทำได้จนกระทั่งมารดาเบ่งคลอดทารกคนที่สอง ในช่วงนั้นทารกอาจอยู่กับสมาชิกในครอบครัว เมื่อคลอดทารกคนที่สองแล้ว ทารกทั้งสองคนสามารถสัมผัสกับผิวของมารดาต่อและช่วยเรื่องการดูดนมแม่ของทารกเมื่อพร้อม

??????????? การเพิ่มแบบบันทึกและจดเวลาเริ่มของการให้ทารกสัมผัสกับผิวของมารดาและเวลาสิ้นสุดการให้สัมผัสในแฟ้มการดูแลการคลอดจะเป็นประโยชน์ โดยจะแสดงถึงการให้ความสำคัญในกระบวนการปฏิบัตินี้เช่นเดียวกับการปฏิบัติอื่นที่ต้องบันทึกข้อมูลให้ครบถ้วน

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

 

 

การพิชิตอุปสรรคที่ขัดขวางการให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาในระยะแรกหลังคลอด(ตอนที่1)

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280m

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????????? อุปสรรคขัดขวางการให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาในระยะแรกมักเป็นการปฏิบัติที่คุ้นเคยมากกว่าความวิตกกังวลทางการแพทย์ การเปลี่ยนแปลงบางอย่างจะช่วยให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาดีขึ้น ได้แก่???????????

??????? ความวิตกกังวลเรื่องทารกตัวเย็น การเช็ดตัวทารกให้แห้งและวางลงบนหน้าอกมารดา จากนั้นใช้ผ้าห่มคลุมทั้งทารกและมารดา หากอุณหภูมิในห้องเย็น อาจคลุมศีรษะทารกด้วยเพื่อลดการสูญเสียความร้อน ทารกที่ได้สัมผัสกับผิวมารดาจะควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้ดีกว่าทารกที่อยู่ในบริเวณที่อุ่นด้วยเครื่องทำความร้อน

??????? ทารกจำเป็นต้องได้รับการตรวจ การตรวจทารกสามารถทำได้ขณะทารกอยู่บนอกแม่ ทารกจะสงบ สำหรับการชั่งน้ำหนักสามารถทำหลังจากนั้นได้

??????? มารดาจำเป็นต้องได้รับการเย็บแผล ทารกสามารถจะอยู่บนอกแม่ได้ หากมารดาจำเป็นต้องได้รับการเย็บแผลฝีเย็บหรือแผลผ่าตัดคลอด

??????? ทารกจำเป็นต้องอาบน้ำ การอาบน้ำตั้งแต่แรกควรชะลอไว้ก่อน รอให้ไขของทารกที่อยู่บนผิวได้เคลือบ หล่อลื่น และช่วยรักษาอุณหภูมิของทารก การเช็ดตัวทารกให้แห้งเพียงพอสำหรับระยะแรกหลังคลอด

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

ประโยชน์ในการให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาในระยะแรกหลังคลอด

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280m

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????? การให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดา

??????? ทำให้ทารกและมารดารู้สึกสงบ และช่วยให้จังหวะการหายใจและการเต้นของหัวใจทารกสม่ำเสมอ

??????? ช่วยให้ทารกได้รับความอบอุ่นจากความร้อนของร่างกายของมารดา

??????? ช่วยในการปรับเมตาบอรึซึ่มของน้ำตาลในเลือดของทางทารกให้คงที่

??????? ช่วยให้ก่อเกิดการมีกลุ่มของแบคทีเรียในลำไส้ทารกจากมารดาที่ให้การสัมผัสแรกกับทารก ไม่ใช่จากแพทย์หรือพยาบาล

??????? ลดการร้องกวนของทารก ซึ่งจะลดความเครียดและการใช้พลังงานของทารกด้วย

??????? ช่วยให้สายสัมพันธ์ของมารดาและทารกดีขึ้น ทำให้ทารกตื่นตัวในหนึ่งถึงสองชั่วโมงแรก จากนั้นโดยปกติทารกจะหลับนาน

??????? ให้โอกาสทารกได้เข้าหาเต้านมและดูดนมด้วยตนเอง ซึ่งการเข้าเต้าลักษณะนี้จะมีประสิทธิภาพดีกว่าการแยกทารกออกไปในช่วงแรกหลังคลอด

??????? ทารกและมารดาทุกคนจะได้ประโยชน์จากการให้ทารกสัมผัสกับผิวของมารดาทันทีหลังการคลอด โดยเช็ดตัวทารกให้แห้งและวางให้ผิวสัมผัสกับมารดา ทารกไม่จำเป็นต้องอาบน้ำหลังการคลอด การโอบอุ้มทารกไม่ได้สัมพันธ์กับการแพร่เชื้อเอชไอวี ในมารดาที่มีการติดเชื้อเอชไอวี การให้มารดาได้สัมผัสผิว โอบกอด และอุ้มทารกจะสร้างความรักและความผูกพันของแม่กับลูก

??????? ทารกที่อาการยังไม่คงที่หลังคลอด ต่อมาเมื่ออาการเริ่มคงที่สามารถให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาได้

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

 

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)