การปฏิบัติโดยให้ทารกสัมผัสกับผิวของมารดาตั้งแต่ในระยะแรก

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280m

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

???????????? -บุคลากรทางการแพทย์ควรสร้างความมั่นใจกับมารดาในการให้ทารกที่แข็งแรงได้สัมผัสกับหน้าอกของมารดาทุกรายโดยไม่เร่งร้อน อาจจะทำก่อนการตัดสายสะดือ หรือเมื่อทันทีเมื่อพร้อมหลังการคลอด และให้สัมผัสต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ชั่วโมง โดยการสัมผัสอาจนานกว่านั้น หากทารกไม่ได้ติดเรื่องการให้ดูดนมแม่

??????????? -การให้ทารกได้สัมผัสกับมารดา? ต้องไม่ห่อตัวทารกและมารดาต้องเปิดเสื้อผ้าในบริเวณที่สัมผัสให้เพียงพอ สำหรับการที่จะคลุมผ้าเพื่อความอบรม จะคลุมทั้งทารกและมารดาไปพร้อมกัน

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

การดูแลปฏิบัติระหว่างการเกิด

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280mรศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????????? -ขณะเบ่งคลอด มารดาจำเป็นต้อง

??????? มีผู้ดูแลที่มีทักษะในการดูแลการคลอด

??????? มีการใช้หัตถการอย่างเช่น การตัดฝีเย็บน้อยที่สุด

??????? ควรจะมีการดูแลตามมาตรฐานการป้องกัน (universal precaution) เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีและการติดเชื้อที่ผ่านทางเลือดอื่นๆ

??????? การผ่าตัดคลอด จะใช้เมื่อมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

??????????? -การใช้เครื่องมือช่วยในการคลอด ได้แก่ คีมหรือเครื่องดูดสุญญากาศ อาจทำให้เกิดอันตรายแก่ศีรษะทารก โดยส่งผลต่อการเรียงตัวของกะโหลกศีรษะ เส้นประสาทและการทำงานของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะมีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามมา

??????????? -การคลอดปกติทางช่องคลอดจะทำให้มารดาสามารถเคลื่อนไหวได้เร็วตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดรวมถึงการเริ่มการรับประทานอาหารหรือการดื่มน้ำ ท่าในการคลอดที่จะช่วยในส่วนนี้คือ ท่าที่ลำตัวของมารดาค่อนข้างตั้งตรงหรือท่านั่งยองๆ

??????????? -การตัดฝีเย็บจะทำให้มารดาปวดแผลและนั่งลำบากในช่วงแรกหลังคลอด ซึ่งส่งผลต่อการให้ทารกได้สัมผัสกับหน้าอกของมารดา การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และความผูกพันของมารดากับทารก หากมารดาปวดแผลมาก การให้มารดานอนลง กอดและให้นมลูกอาจจะช่วยได้

??????????? -สายสะดือไม่ควรจะถูกรัดหรือตัดจนกว่าการเต้นของเส้นเลือดสายสะดือจะหยุด ซึ่งจะทำให้ทารกได้รับเลือดเพิ่มขึ้นและช่วยในการสะสมของธาตุเหล็กด้วย

??????????? -เมื่อพิจารณาการปฏิบัติระหว่างการคลอดต้องจำไว้เสมอว่า ผลต่างๆ ที่เกิดกับมารดาอาจส่งผลต่อทารกได้

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

อาหารว่างและน้ำระหว่างการคลอด

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280mรศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การคลอดเป็นงานที่หนักซึ่งต้องการพลังงานมากในกระบวนการนี้ ยังไม่มีข้อมูลหรือหลักฐานเชิงประจักษ์ที่แสดงถึงประโยชน์ของการงดน้ำงดอาหารในมารดาที่มีความเสี่ยงต่ำในการคลอดปกติ ความต้องการในการกินหรือดื่มในมารดาแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ดังนั้นมารดาควรได้รับอนุญาตให้กินอาหารว่างหรือดื่มน้ำได้หากต้องการ การงดน้ำงดอาหารจะสร้างความเครียดให้กับมารดา

การให้น้ำเกลือเข้าหลอดเลือดดำในระหว่างการรอคลอดจะจำเป็นเฉพาะเมื่อมีข้อบ่งชี้ในการให้ยาที่ชัดเจน การให้สารน้ำที่มากเกินไปอาจเกิดภาวะไม่สมดุลของอิเล็คโตรไลท์ ทำให้เกิดภาวะน้ำเกินของทารกในครรภ์และน้ำหนักทารกลดลงมากจากการที่ร่างกายขับน้ำที่เกินออก นอกจากนี้ การให้น้ำเกลือยังจำกัดการเคลื่อนไหวของมารดาด้วย

หลังการคลอด มารดาจะหิว? ดังนั้นควรมีการเตรียมอาหารไว้ให้สำหรับมารดาหลังคลอด โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ซึ่งหากไม่มีการจัดเตรียมไว้ มารดาอาจจะต้องรอนานจนกระทั่งถึงมื้ออาหาร

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

ความเสี่ยงในการให้ยาลดอาการปวดระหว่างการคลอด

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280mรศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ความเสี่ยงในการให้ยาลดอาการปวดระหว่างการคลอด มีดังนี้

-การคลอดยาวนานขึ้น

-มีการใช้หัตถการสูงขึ้น

-ทำให้การให้ทารกแรกเกิดได้สัมผัสกับหน้าอกของมารดาและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เริ่มช้าลง

-ทำให้เกิดการแยกมารดาจากทารกหลังคลอด

-ทำให้ทารกง่วงซึมและยากที่จะปลุกตื่น

-ลดกลไกการดูดนมของทารก

-น้ำนมลดลง ทำให้ทารกเสี่ยงต่อการเกิดอาการตัวเหลือง ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และน้ำหนักตัวขึ้นน้อย

การให้การช่วยเหลือหรือใช้เวลาที่มากขึ้นอาจจำเป็นในการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการสร้างความสัมพันธ์ของมารดากับทารกเมื่อมีการใช้ยาลดอาการปวด

ควรมีการพูดคุยอภิปรายกับมารดาถึงวิธีการรับมือกับอาการไม่สบายตัวและความเจ็บปวดระหว่างการคลอดในระหว่างช่วงฝากครรภ์ ซึ่งความต้องการการใช้ยาลดอาการปวดจะมีผลมาจากความเครียด การขาดการสนับสนุนและให้กำลังใจ และปัจจัยอื่นๆ ในห้องคลอด

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

 

 

 

การลดความเจ็บปวดระหว่างการคลอด

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280mรศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????? บุคลากรทางการแพทย์ ควรจะเสนอการลดความเจ็บปวดจากการคลอดด้วยวิธีการที่ไม่ใช้ยาก่อน ซึ่งมีหลายวิธีดังนี้

??????????? -การให้การสนับสนุนจากเพื่อนที่อยู่เฝ้าระหว่างการคลอด

??????????? -การเดินจงกลม การเดินไปรอบๆ หรือการเคลื่อนไหวเปลี่ยนท่า

??????????? -การนวด

??????????? -การใช้น้ำอุ่น

??????????? -การให้กำลังใจโดยภาษากายหรือการพูด

??????????? -สิ่งแวดล้อมที่เงียบสงบ แสงไฟที่ไม่จ้าเกินไป และมีคนน้อยที่สุดที่เป็นไปได้

??????????? -ท่าในระหว่างการรอคลอดและขณะคลอด ควรมีทางเลือกให้มารดาได้เลือก

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

 

 

 

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)