การช่วยให้มารดาอยู่ในท่าที่สบายในการให้นมลูกหลังผ่าตัดคลอด

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280m

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การช่วยให้มารดาอยู่ในท่าที่สบายในการให้นมลูก อาจดูแลในการจัดท่าดังนี้

??????? ท่านอนด้านข้าง (side-lying) บนเตียง ท่านี้จะช่วยหลีกเลี่ยงอาการปวดในช่วงหลังคลอดใหม่ๆ และมารดายังสามารถทำได้แม้มารดาต้องนอนราบหลังจากให้ยาระงับความรู้สึกเข้าไขสันหลัง

??????? ท่านั่งพร้อมรองหมอนให้ทารกอยู่ข้างลำตัวและแขน โดยศีรษะทารกอยู่ในระดับเต้านม

??????? ท่านอนหงาย ให้ทารกทาบอยู่บนอกของมารดา

??????? ควรจะต้องใช้หมอนช่วยพิงด้านหลังและรองใต้หัวเข่า ขณะที่อยู่ในท่านอนด้านข้าง

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

 

การให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาตั้งแต่ในระยะแรกเร็วที่สุดที่เป็นไปได้หลังผ่าตัดคลอด

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280m

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาตั้งแต่ในระยะแรกเร็วที่สุดที่เป็นไปได้

??????? โดยทั่วไป มารดาที่ผ่าตัดจะได้รับยาระงับความรู้สึกจากการฉีดยาเข้าไขสันหลัง ซึ่งมารดาจะรู้สึกตัวดี สามารถดูแลทารกได้ตั้งแต่แรกหลังคลอดเช่นเดียวกับมารดาที่คลอดบุตรทางช่องคลอด

??????? หากมารดาได้รับยาดมสลบ การให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาอาจเริ่มในห้องพักฟื้น โดยทำได้หากมารดาโต้ตอบรู้เรื่อง แม้ว่าจะมีการง่วงเล็กน้อยจะฤทธิ์ของยาแก้ปวดและยาสลบ

??????? พ่อหรือสมาชิกในครอบครัว อาจดูแลช่วยในเรื่องการให้ทารกได้สัมผัสกับผิวกาย ดูแลให้ทารกอบอุ่น? ในช่วงที่รอมารดาออกมาจากห้องผ่าตัด

??????? หากการให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาทำได้ช้า อาจต้องห่มคลุมทารกให้อบอุ่นก่อน ต่อมาจึงให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาเมื่อมารดาพร้อม โดยการให้ความอบอุ่นต้องไม่ห่อทารกจนแน่นเกินไป ขยับไม่ได้

??????? ทารกที่เกิดก่อนกำหนดหรือยังไม่สมบูรณ์จะได้ประโยชน์จากการให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดา แต่หากอาการทารกยังไม่คงที่และต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด การให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาอาจเริ่มเมื่อทารกมีอาการคงที่

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

บุคลากรทางการแพทย์จะช่วยมารดาและทารกในการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังผ่าตัดคลอดได้อย่างไร?

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280m

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การมีบุคลากรทางการแพทย์ที่สนับสนุนเป็นส่วนสำคัญในการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังการผ่าตัดคลอด โดย

??????????? -กระตุ้นให้มีการให้ทารกได้สัมผัสกับผิวของมารดาตั้งแต่ในระยะแรกเร็วที่สุดที่เป็นไปได้

-การช่วยเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่ผ่าตัดคลอด จะเริ่มเมื่อมารดาและทารกส่งสัญญาณว่ามีความพร้อม โดยมารดาไม่จำเป็นลุกนั่ง โอบกอดหรือต้องขยับเปลี่ยนท่าในการให้นมลูกได้ แต่จะเป็นทารกที่จะค้นหาเต้านมและเริ่มดูดนมเอง การปฏิบัตินี้สามารถทำได้นานตราบเท่าที่มีบุคลากรทางการแพทย์เฝ้าดูอยู่ แม้มารดาจะยังง่วงซึมจะฤทธิ์ของยาดมสลบก็ตาม

-การช่วยให้มารดาอยู่ในท่าที่สบายในการให้นมลูก การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำอาจจะต้องปรับเปลี่ยนตำแหน่งเพื่อให้สามารถจัดท่าทารกเข้าเต้าได้

-ต้องจัดให้มารดาและทารกอยู่ในห้องเดียวกันพร้อมให้การช่วยเหลือเมื่อจำเป็น จนกระทั่งมารดาสามารถดูแลทารกเองได้

-เมื่อมีการสนับสนุนและให้ความรู้กับมารดา การที่นอนโรงพยาบาลนานขึ้นหลังการผ่าตัดคลอด อาจจะช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จมากขึ้น

 

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

?????

?

 

 

การผ่าตัดคลอดมีผลต่อทารกในด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างไร?

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280m

???????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????????? ทารกได้รับผลกระทบจากการผ่าตัดคลอด โดย

??????? ทารกจะมีความเสี่ยงสูงในการที่จะไม่ได้กินนมแม่ หรือกินนมแม่ในช่วงสั้น

??????? ทารกจะมีปัญหาเรื่องการหายใจมากกว่า

??????? ทารกอาจจะต้องการการดูดเสมหะ ซึ่งทำให้ทารกเจ็บปากและลำคอ

??????? ทารกได้รับยาทำให้ง่วงจากยาที่มารดาได้รับ

??????? ทารกจะได้รับการให้สัมผัสกับผิวของมารดาได้น้อยกว่า

??????? ทารกมีโอกาสที่จะได้รับการให้สารอาหารอื่นๆ มากกว่า

??????? ทารกมีโอกาสที่จะย้ายไปหออภิบาลทารกแรกเกิด ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อระหว่างทารกด้วยกันเอง และต้องจำกัดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

 

 

การผ่าตัดคลอดมีผลต่อมารดาในด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างไร?

Family-Moms--Kids-ImageCrop_4_8378-13-11280m

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การผ่าตัดคลอดเป็นการผ่าตัดใหญ่ที่ผ่านเข้าสู่ช่องท้อง มารดามีแนวโน้มจะ

??????? ตื่นกลัวและเครียด

??????? ได้รับการให้น้ำเกลือและสายสวนปัสสาวะ

??????? ถูกจัดให้อยู่บนเตียงและจำกัดการเคลื่อนไหว

??????? งดน้ำและอาหารก่อนและหลังการคลอด ซึ่งทำให้ขาดพลังงานในการจะดูแลทารก

??????? ได้รับยาระงับความรู้สึกและยาแก้ปวด ซึ่งส่งผลต่อมารดาและทารก

??????? มีการเปลี่ยนแปลงระดับของฮอร์โมนออกซิโตซินและโปรแลคติน ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำหรับการให้นม

??????? มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการตกเลือด

??????? มักจะถูกแยกจากทารก

??????? รู้สึกล้มเหลวที่ร่างกายไม่สามารถคลอดลูกได้ตามปกติ

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)