อุปสรรคในการให้มารดาและทารกอยู่ร่วมกันตลอด 24 ชั่วโมงและวิธีการช่วยเหลือที่ทำได้ (ตอนที่ 4)

16572_610634085624510_945281707_n

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????????? ไม่มีพื้นที่ที่วางเตียงเล็กสาหรับทารก ทารกสามารถจะนอนร่วมเตียงกับมารดาได้ ซึ่งจะช่วยให้มารดาได้พักไปพร้อมๆ กับทารกและการให้นมลูกทำได้บ่อยขึ้น แต่อาจจำเป็นต้องมีราวกั้นเตียง เก้าอี้ หรืออาจวางเตียงติดกำแพงเพื่อป้องกันทารกตกเตียง

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

 

 

 

อุปสรรคในการให้มารดาและทารกอยู่ร่วมกันตลอด 24 ชั่วโมงและวิธีการช่วยเหลือที่ทำได้ (ตอนที่ 3)

16572_610634085624510_945281707_n

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????????? ความเชื่อที่ว่าทารกแรกเกิดต้องได้รับการสังเกตการ โดยปกติการสังเกตการทารกขณะที่อยู่ใกล้เตียงมารดาสามารถง่ายเช่นเดียวกับอยู่ในหออภิบาลทารก นอกจากนี้ มารดาที่อยู่ใกล้ลูกมักสังเกตความผิดปกติของทารกได้รวดเร็วกว่า และบ่อยครั้งที่สังเกตได้ดีกว่าพยาบาลที่ยุ่งอยู่ในหออภิบาลทารกแรกเกิด เช่นเดียวกันกับการสังเกตการใกล้ชิดไม่สามารถเป็นไปได้ที่หออภิบาลทารกแรกเกิด

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

อุปสรรคในการให้มารดาและทารกอยู่ร่วมกันตลอด 24 ชั่วโมงและวิธีการช่วยเหลือที่ทำได้ (ตอนที่ 2)

16572_610634085624510_945281707_n

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การนำทารกไปที่หออภิบาลทารกแรกเกิดเพื่อทำหัตถการ วิธีการในการช่วยเหลือ ได้แก่ การดูแลทารกควรทำที่ข้างเตียงมารดาหรือขณะที่อยู่กับมารดา ซึ่งจะเป็นโอกาสที่จะสร้างความมั่นใจและสอนมารดาในการดูแลทารกที่มีภาวะเครียด

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

 

อุปสรรคในการให้มารดาและทารกอยู่ร่วมกันตลอด 24 ชั่วโมงและวิธีการช่วยเหลือที่ทำได้ (ตอนที่ 1)

101019213

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

???????? -อุปสรรคต่างๆ ในการให้มารดาและทารกอยู่ร่วมกันตลอด 24 ชั่วโมงอาจเกิดขึ้นจาก

??????????? ความวิตกกังวลว่ามารดาเหนื่อย วิธีการในการช่วยเหลือ ได้แก่ การดูแลในลักษณะงานประจำโดยให้มารดาได้พักในบรรยากาศที่สงบเงียบปราศจากการเข้าไปทำความสะอาด การเข้าเยี่ยมของเพื่อนหรือญาติ และการตรวจหรือการทำหัตถการทางการแพทย์ที่ไม่จำเป็น ร่วมกับการทบทวนการดูแลในระหว่างคลอดที่อาจทำให้มารดาเหนื่อยและอ่อนเพลีย ได้แก่ การคลอดที่เนิ่นนาน การงดน้ำงดอาหาร การให้ยาแก้ปวดและการตัดฝีเย็บ ซึ่งความเครียดเหล่านี้จะทำให้มารดารู้สึกเหนื่อยมากเกินไปและไม่สบายตัว

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

ความสำคัญของการให้มารดาและทารกอยู่ร่วมกันตลอด 24 ชั่วโมง

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????? บันไดขั้นที่ 7 สู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กล่าวถึง ?การให้มารดาและทารกอยู่ร่วมกันตลอด 24 ชั่วโมง? โดยหลีกเลี่ยงการแยกมารดาและทารก ยกเว้นมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

?????????? ความสำคัญของการให้มารดาและทารกอยู่ร่วมกันตลอด 24 ชั่วโมง ได้แก

??????????? -ทารกจะหลับได้ดีกว่าและร้องไห้น้อยกว่า

??????????? -ก่อนการเกิดมารดาและทารกจะพัฒนาช่วงจังหวะของการนอน ซึ่งการแยกมารดาและทารกจะรบกวนกลไกนี้

??????????? -การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะทำได้ดีกว่าและต่อเนื่องนานกว่า ร่วมกับทารกน้ำหนักขึ้นเร็วกว่าด้วย

??????????? -การป้อนนมที่ตอบสนองต่อการแสดงออกของทารกจะทำได้ง่ายเมื่อทารกอยู่ใกล้ ซึ่งเป็นผลให้การสร้างน้ำนมทำได้ดี

??????????? -มารดาจะมั่นใจในการดูแลทารก

??????????? -มารดาจะมองเห็นทารกได้ดีและไม่วิตกกังวลว่าทารกที่ร้องที่ห้องอภิบาลทารกแรกเกิดเป็นลูกของตนเอง

??????????? -การสุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อในทารกจะน้อยกว่าทารกที่อยู่ในห้องอภิบาลทารกแรกเกิด

??????????? -สิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนสายสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารก แม้ว่าจะไม่ได้มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

 

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)