การให้ทารกนอนร่วมเตียงเดียวกัน

obgyn

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? -การให้ทารกนอนร่วมเตียงเดียวกันจะทำให้มารดาและทารกพักผ่อนได้มากขึ้น และมีการให้นมลูกได้บ่อยขึ้น

??????????? -การให้ทารกนอนร่วมเตียงเดียวกัน ไม่แนะนำในกรณีที่มารดาหรือบิดามีลักษณะดังต่อไปนี้

??????? สูบบุหรี่

??????? ดื่มแอลกอฮอล์หรือทำได้ยาที่ทำให้ง่วงซึม

??????? เหนื่อยมากจนไม่ตอบสนองต่อปฏิกิริยาของทารก

??????? ป่วยหรือมีภาวะที่ส่งผลต่อการรับรู้ ได้แก่ ภาวะชัก หรืออาการเบาหวานที่ไม่คงที่

??????? อ้วนมาก

??????? ป่วยมากหรือมีเด็กที่ป่วยมากอยู่ร่วมเตียงเดียวกัน

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

 

ประโยชน์ของการให้มารดาอยู่กับทารกตลอด 24 ชั่วโมง

16572_610634085624510_945281707_n

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

???????????????? -การให้มารดาอยู่กับทารกตลอด 24 ชั่วโมงจะมีประโยชน์ต่อมารดา ทารกและโรงพยาบาล ซึ่งจะช่วยเรื่องเหล่านี้ได้ในระยะแรก

??????? ทารกจะได้รับการตอบสนองต่อปฏิกิริยาต่างๆ ได้รวดเร็วกว่า การร้องไห้ของทารกน้อยกว่า การใช้พลังงานที่สะสมไว้น้อยกว่า ทำให้โอกาสในการเสริมนมผสมน้อยกว่าด้วย

??????? การให้นมทารกได้บ่อยจะลดโอกาสเกิดภาวะตัวเหลืองและค่าบิลลิรูบินไม่ขึ้นถึงระดับที่สูง

??????? การเข้าเต้าทำได้ดีกว่า และโอกาสการทอดทิ้งทารกน้อยกว่า

??????? ลดการติดเชื้อจากบุคลากรทางการแพทย์ เพิ่มการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ที่ได้จากมารดา และได้รับภูมิคุ้มกันผ่านทางน้ำนม

??????? ลดการติดเชื้อ ลดการป้อนนมผสม ลดการใช้พื้นที่ของหออภิบาลทารกแรกเกิด และลดค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล

??????? มารดามั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนกลับบ้าน ทำให้ลดการใช้ทรัพยากรในการติดตามมารดาหลังกลับบ้าน

???????????? -ในมารดาที่มีการติดเชื้อเอชไอวียังได้ประโยชน์จากการการให้มารดาอยู่กับทารกตลอด 24 ชั่วโมง แม้ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจากจะทำให้มารดาได้เรียนรู้จักทารกและมั่นใจในการดูแลทารกเมื่อกลับบ้าน

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

 

 

 

 

 

ทำไมจึงมีการแนะนำไม่ให้ให้จุกนมเทียมหรือหัวนมหลอกกับทารกที่กินนมแม่

d39e60e64e45109452e0d4a1d8e3c770

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

???????? ?? -ทารกจะมีพัฒนาการในการเลือกจุกนมเทียมหรือหัวนมหลอกมากกว่าการดูดนมจากเต้า ทำให้การฝึกกินนมจากเต้ายากขึ้น

??????????? -หากทารกหิวได้รับหัวนมหลอก ทารกจะได้รับนมน้อยและทำให้เจริญเติบโตช้า

??????????? -จุกนมเทียม ขวดนม หรือหัวนมหลอกจะแหล่งที่มีความเสี่ยงในการทำให้ทารกติดเชื้อ แม้ว่าจะเป็นทารกที่ไม่ได้กินนมแม่ การติดเชื้อที่หูและปัญหาทางด้านฟันพบบ่อยในทารกที่ใช้จุกนมเทียมหรือหัวนมหลอก นอกจากนี้ยังอาจพบปัญหาการทำงานของกล้ามเนื้อในปากผิดปกติในทารกกลุ่มนี้ได้ด้วย

??????????? -มีส่วนน้อยที่จำเป็นต้องให้นมเสริม การเสริมควรใช้การป้อนด้วยถ้วย เนื่องจากถ้วยสามารถทำความสะอาดได้ง่ายกว่า และขณะป้อนนมมารดาอุ้มและดูแลอยู่ด้วยตลอด การใช้การป้อนด้วยถ้วยส่วนใหญ่จะเป็นการใช้ระยะสั้นๆ แตกต่างจากการใช้ขวดนมป้อนทารก

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

ทำไมบุคลากรทางการแพทย์ไม่แนะนำให้เสริมอาหารอื่นให้กับทารก

images2

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? มีเหตุผลอื่นเพิ่มเติมว่า ทำไมบุคลากรทางการแพทย์ไม่แนะนำให้เสริมอาหารอื่นให้กับทารกนอกเหนือจากนมแม่ ได้แก่

??????? มารดาที่เสริมอาหารอื่นให้กับทารกบ่งบอกว่ามีความลำบากในการดูแลและให้นมลูก จะเป็นการดีกว่าที่จะช่วยให้มารดาเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้และไม่วางเฉยให้มารดาแก้ปัญหาด้วยการเสริมอาหารอื่น

??????? หากบุคลากรทางการแพทย์แนะนำให้มารดาให้อาหารเสริมกับทารก บ่งบอกถึงการขาดความรู้และทักษะในการดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นอกจากนี้ หากมีการให้อาหารเสริมกับทารกบ่อยยังแสดงถึงบรรยากาศที่ตึงเครียดในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้รับการหาทางออกแบบเร่งด่วนชั่วคราวโดยไม่เหมาะสม

??????? การเริ่มต้นให้นมผสมในมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีที่ต้องการให้ลูกกินนมแม่ จะทำให้มีความเสี่ยงในการเชื้อไวรัสจะผ่านไปสู่ทารกสูงขึ้น จึงต้องเน้นย้ำว่า หากไม่ทราบผลเลือดตรวจการติดเชื้อเอชไอวีของมารดา การให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวจะลดความเสี่ยงของทารกในการติดเชื้อเอชไอวีได้

??????????? ในกรณีที่หากมารดาได้รับการตรวจการติดเชื้อเอชไอวีแล้วพบว่ามีการติดเชื้อ หลังได้รับการให้คำปรึกษาแล้วมารดาเลือกให้ทารกกินนมผสม สิ่งนี้ถือเป็นข้อบ่งชี้ทางการแพทย์? คือ ให้นมผสมทดแทนการให้นมแม่ (ย้ำในที่นี้ว่า ?ไม่ได้เป็นการให้เสริม?)

?หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

?

???????????

 

 

 

อันตรายของการเสริมอาหารอื่นนอกเหนือจากนมแม่

images4

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????????? การให้ทารกกินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือนเป็นข้อแนะนำที่ได้รับการยอมรับ การเสริมอาหารอื่นจะทำให้

??????? กระเพาะทารกเต็ม แน่น และไม่อยากกินนมแม่

??????? ปริมาณน้ำนมของมารดาลดลงจากการที่ทารกไม่ดูดนม และยังทำให้เต้านมคัดด้วย

??????? อาจทำให้ทารกน้ำหนักขึ้นได้ไม่ดี หากให้น้ำ ชา หรือน้ำหวานแทนนมแม่

??????? ลดผลในการป้องกันการติดเชื้อของนมแม่ ทำให้ทารกเกิดท้องเสียหรือเจ็บป่วยอื่นๆ

??????? เพิ่มโอกาสที่ทารกจะได้รับสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งจะทำให้ทารกเป็นผื่นแพ้และเป็นหอบหืดได้

??????? ลดความมั่นใจของมารดา โดยการตีความหมายว่า การเสริมอาหารจะทำให้ทารกหยุดร้อง

??????? เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นและอาจเป็นอันตรายได้

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)