ลักษณะที่น่าเชื่อถือที่บ่งบอกว่าน้ำนมมีเพียงพอ

Baby boy (9-12 months) breast feeding, looking up, close-up

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

-ลักษณะที่น่าเชื่อถือที่บ่งบอกว่าน้ำนมมีเพียงพอ ได้แก่

??????? สังเกตเห็นน้ำนมไหลออกมาเวลาที่ปัสสาวะหรืออุจจาระ

??????? หลังวันที่สอง ทารกจะปัสสาวะและต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมมากกว่า 6 ครั้งต่อวัน แต่หากมีการให้น้ำร่วมกับการให้นมแม่ ทารกอาจปัสสาวะบ่อย แต่น้ำหนักขึ้นน้อยกว่าปกติ

??????? มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ 3-8 ครั้งใน 24 ชั่วโมงอาจสังเกตจากการถ่ายอุจจาระ โดยหากทารกที่อายุมากกว่าหนึ่งเดือนจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระจะลดลง

??????? ทารกดูตื่นตัวดี ขยับแขนขาได้ดี ผิวดูสดใส และตัวใหญ่ขึ้นสังเกตจากเสื้อผ้าที่ใช้อยู่คับ

-น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอบ่งบอกว่าทารกได้รับน้ำนมเพียงพอ แต่มารดาอาจไม่สามารถจะชั่งดูน้ำหนักทารกได้บ่อยๆ แต่หากสงสัยเรื่องปริมาณน้ำนม การชั่งน้ำหนักทารกสัปดาห์ละหนึ่งครั้งจะช่วยบอกได้

-การรู้ลักษณะที่น่าเชื่อถือว่ามีปริมาณน้ำนมเพียงพอจะช่วยสร้างความมั่นใจกับมารดา บุคลากรทางการแพทย์ควรชี้ถึงสิ่งที่มารดาทำได้ดีและการสนับสนุนที่มีที่จะช่วยเหลือมารดาได้

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

ความวิตกกังวลเรื่องนมแม่ไม่พอ

obgyn3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? –ความวิตกกังวลเรื่องปริมาณน้ำนมไม่พอเป็นสาเหตุที่พบบ่อยของการหยุดนมแม่ หรือการเสริมอาหารเสริมให้กับทารกพร้อมกับให้นมแม่โดยมีความเชื่อว่านมแม่มีไม่เพียงพอ

??????????? -มารดาและครอบครัวอาจมีความคิดว่า มีปริมาณน้ำนมไม่เพียงพอ หากพบลักษณะดังต่อไปนี้

??????? ทารกร้องไห้บ่อย

??????? ทารกไม่หลับเป็นช่วงเวลานาน

??????? ทารกไม่อยู่นิ่งที่เต้านมและให้นมยาก

??????? ทารกดูดนิ้วมือหรือกำปั้น

??????? ทารกตัวใหญ่หรือเล็กเกินไป

??????? ทารกต้องการอยู่ที่เต้านมบ่อยๆ หรืออยู่เป็นเวลานาน

??????? มารดาหรือคนในครอบครัวรู้สึกว่าน้ำนมจาง

??????? มีน้ำนมออกน้อยหรือไม่ออกขณะที่มารดาพยายามบีบน้ำนม

??????? เต้านมไม่คัดหรือรู้สึกนิ่มกว่าแต่ก่อน

??????? มารดาไม่เห็นน้ำนมไหลออกมาหรือเห็นกลไกออกซิโตซิน

??????? ทารกกินนมผสมหรืออาหารเสริมที่ให้

??????????? -ลักษณะเหล่านี้อาจตีความหมายว่ามีน้ำนมไม่เพียงพอ แต่ไม่ได้เป็นข้อบ่งชี้ที่น่าเชื่อถือทางการแพทย์

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

 

 

โคลิค

obgyn3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

????????????? โคลิคหรืออาการร้องกวนโดยไม่ทราบสาเหตุ ตีความหมายแตกต่างกันในแต่ละคน ก่อนอื่นต้องตรวจดูสาเหตุอื่นที่เป็นไปได้ก่อน ทารกที่มีอาการร้องกวนโดยไม่ทราบสาเหตุจะมีการเจริญเติบโตดีและมีเวลาที่เฉพาะเจาะจงในการร้องกวน โดยมากมักเป็นเวลาเย็น ส่วนเวลาอื่นดูปกติดี ควรตรวจสอบเรื่องการให้นมทารกว่าทารกมีการอ้าปากอมหัวนมและลานนมได้ดีหรือไม่ เนื่องจากการอ้าปากอมหัวนมและลานนมไม่ดีอาจทำให้ดูดลมเข้าไปในท้องทารกมาก ซึ่งทำให้ทารกท้องอึดและไม่สบายตัว การที่น้ำนมไหลเร็วเกินไปหรือทารกได้รับน้ำนมส่วนหน้ามากเกินไปอาจทำให้ทารกไม่สบาย การจัดการเกี่ยวกับการบริหารนมแม่ที่เหมาะสมจะลดปัญหาเหล่านี้ได้

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

สาเหตุของการร้องไห้ของทารก

pregnant7

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? สาเหตุของการร้องไห้ของทารกมีหลากหลาย มีข้อแนะนำถึงวิธีการปฏิบัติดังนี้

??????????? -ความอ้างว้างโดดเดี่ยวและความเบื่อหน่าย ข้อแนะนำการปฏิบัติคือ อุ้มและพูดคุยกับทารก

??????????? -ความหิว ข้อแนะนำการปฏิบัติคือ มารดาอาจลังเลใจที่จะให้ทารกดูดนมจากเต้าบ่อยๆ หากตั้งเป้าหมายว่าจะให้ทุก 3-4 ชั่วโมง ทารกส่วนใหญ่จะไม่มีรูปแบบการกินนมที่กำหนดชัดเจน กระตุ้นให้มารดาให้ลูกดูดนมจากเต้าหากทารกร้องไห้

??????????? -ความไม่สบายตัวของทารก ข้อแนะนำการปฏิบัติคือ ตอบสนองต่อความต้องการของทารก เช่น เช็ดตัว ทำความสะอาดผ้าอ้อม ทารกอาจจะร้อนหรืออากาศอาจจะเย็นเกินไป

??????????? -การเจ็บหรือความเจ็บป่วย ข้อแนะนำการปฏิบัติคือ รักษาหรือส่งต่อตามความเหมาะสม

??????????? -ความเหนื่อยล้า ข้อแนะนำการปฏิบัติคือ อุ้มหรือโยกทารกในสถานที่ที่เหมาะสม สงบเงียบที่ช่วยให้ทารกได้หลับและพักผ่อน ลดการเยี่ยม การกระตุ้นสัมผัส

??????????? -สารบางอย่างในอาหารมารดา เรื่องนี้พบได้น้อย โดยปกติไม่ได้แนะนำให้มารดาหลีกเลี่ยงอาหารใด แต่หากทดสอบโดยการกินอาหารนั้นแล้วทารกร้องไห้ อาจลงพิจารณาหยุดอาหารประเภทนั้นไปก่อน

??????????? -ผลของตัวยาบางชนิด หากมารดากินเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือเครื่องดื่มประเภทโคล่า คาเฟอีนสามารถจะผ่านน้ำนมและทำให้ทารกนอนไม่หลับ กระสับกระส่าย นอกจากนี้การสูบบุหรี่ก็ยังมีสารกระตุ้นทารกด้วย ข้อแนะนำการปฏิบัติคือ มารดาควรงดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ในบ้านหรือบริเวณใกล้บ้าน

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

 

 

แนวทางการปฏิบัติในการให้ทารกนอนร่วมเตียงเดียวกันสำหรับบุคลากรทางการแพทย์

01_22

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????? อภิปรายข้อดีและข้อเสียของการให้ทารกนอนร่วมเตียงเดียวกันให้มารดาและครอบครัวทราบ

??????? ควรใช้ที่นอนที่ไม่นุ่มหรือยุบตัวเกินไป ไม่ความมีรอยต่อหรือช่องว่างที่ทารกอาจตกลงไป และไม่ควรนอนหลับบนโซฟาหรือเบาะพิงที่ไม่ปลอดภัยสำหรับทารก

??????? ผ้าห่มไหมพรมจะปลอดภัยกว่าผ้าห่มสำลี

??????? แต่งตัวทารกให้เหมาะสม โดยไม่พันหรือห่อทารกมากเกินไปหากนอนร่วมเตียงเดียวกัน เพราะร่างกายมารดาจะให้ความอบอุ่นกับทารก

??????? มารดาควรนอนใกล้ชิดกับทารกโดยหันหน้าเข้าหาทารก ขณะที่ทารกนอนหงายยกเว้นขณะให้นม

??????? ต้องมั่นใจว่าทารกจะไม่ลื่นตกเตียงหรือลื่นลงไปในซอกข้างเตียงหรือผนัง

??????????? -นอกจากนี้ การให้ทารกนอนร่วมเตียงเดียวกันขณะอยู่ในโรงพยาบาล ควร

??????? ต้องมั่นใจว่า มารดาสะดวกในการขอความช่วยเหลือหากมารดาลำบากที่จะลุกจากเตียง

??????? มีการตรวจดูมารดาและทารกบ่อยๆ เพื่อดูว่าไม่มีผ้าปิดหน้าหรือคลุมศีรษะทารก และทารกนอนหงายหากไม่ใช่ช่วงเวลาที่ให้นม

??????? มีการส่งการดูแลมารดาและทารกที่มีการนอนร่วมเตียงเดียวกัน หากมีการเปลี่ยนเวรการดูแลของบุคลากรทางการแพทย์

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)