การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในระหว่างการฝากครรภ์

b1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในระหว่างการฝากครรภ์มีความจำเป็นเพื่อตรวจก้อนหรือความผิดปกติอื่นๆ ของเต้านม โดยหากตรวจพบความผิดปกติหรือสงสัยมะเร็งเต้านม การตรวจพิเศษทางรังสีวินิจฉัยสามารถช่วยในการวินิจฉัย อย่างไรก็ตามในระหว่างการตั้งครรภ์และการให้นมบุตรมักพบภาวะแทรกซ้อนของก้อนจากการขังตัวของน้ำนม เต้านมอักเสบ หรือฝีที่เต้านมได้ ซึ่งทำให้เกิดความลำบากในการวินิจฉัย ซึ่งการจะให้ได้การวินิจฉัยที่ชัดเจนจำเป็นต้องได้ชิ้นเนื้อมาตรวจพิสูจน์ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เข็มเจาะดูดเนื้อเยื่อเต้านมมาย้อมสีและตรวจดูลักษณะของเซลล์

มะเร็งเต้านมในสตรีอายุน้อย

w35

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? มะเร็งเต้านมมีสาเหตุมาจากปัจจัยหลักคือ พันธุกรรมและอาหาร ในส่วนของพันธุกรรมในสตรีที่มียีน BRCA หรือมีประวัติครอบครัวที่มารดา พี่สาวหรือน้องสาวเป็นมะเร็งเต้านมในช่วงอายุน้อยกว่า 40 ปีจะมีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม สำหรับอาหารที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่ การดื่มแอลกอฮอล์ การกินอาหารประเภทไขมันและอาหารประเภทเนื้อสัตว์สูง1 แนวโน้มของการเกิดมะเร็งเต้านมในสตรีที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปีเพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยพบความชุกร้อยละ 0.3 และเมื่อคิดเป็นสัดส่วนของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมพบร้อยละ 5-72,3 เนื่องจากความชุกที่พบต่ำ ในทางเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขคำนวณไม่พบความคุ้มค่าในการตรวจคัดกรอง แต่ที่น่าวิตกกังวลคือ ระยะที่พบมะเร็งเต้านมในสตรีที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปีมักพบในระยะที่สูงกว่า และชนิดของมะเร็งมักมีความรุนแรงมากกว่า ทำให้ผลการรักษาและพยากรณ์โรคแย่กว่า4 อย่างไรก็ตามหากสตรีที่อายุน้อยที่เป็นมะเร็งเต้านมหากสามารถตั้งครรภ์ได้หลังการรักษามะเร็ง พยากรณ์โรคไม่มีความแตกต่างจากสตรีที่ไม่ได้ตั้งครรภ์5

หนังสืออ้างอิง

  1. Mourouti N, Kontogianni MD, Papavagelis C, Panagiotakos DB. Diet and breast cancer: a systematic review. Int J Food Sci Nutr 2015;66:1-42.
  2. Assi HA, Khoury KE, Dbouk H, Khalil LE, Mouhieddine TH, El Saghir NS. Epidemiology and prognosis of breast cancer in young women. J Thorac Dis 2013;5 Suppl 1:S2-8.
  3. Brinton LA, Sherman ME, Carreon JD, Anderson WF. Recent trends in breast cancer among younger women in the United States. J Natl Cancer Inst 2008;100:1643-8.
  4. Narod SA. Breast cancer in young women. Nat Rev Clin Oncol 2012;9:460-70.
  5. Cordoba O, Bellet M, Vidal X, et al. Pregnancy after treatment of breast cancer in young women does not adversely affect the prognosis. Breast 2012;21:272-5.

 

การลดความเจ็บปวดจากการฉีดวัคซีนของทารกโดยการให้ทารกกินนมแม่

เมื่อลูกน้อยอาเจียน

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? มีการศึกษาถึงผลของการใช้การลดความเจ็บปวดจากการฉีดวัคซีนของทารกโดยใช้วิธีทางเลือกอื่นๆ ได้แก่ การให้ทารกกินนมแม่ การให้ทารกกินน้ำตาล การให้ความอบอุ่น และการให้ทารกดูดจุกนมหลอก ซึ่งวิธีการเหล่านี้ช่วยลดความเจ็บปวดจากการฉีดวัคซีนของทารกได้1 แต่ยังไม่มีการเปรียบเทียบถึงประสิทธิภาพของแต่ละวิธี อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาตามเหตุผล การให้ทารกกินนมแม่ ทารกได้ทั้งน้ำตาล ได้รับทั้งการโอบกอดให้ความอบอุ่น และยังได้ดูดเต้านมของมารดาด้วย ดังนั้น จึงเกิดสมมติฐานว่า การให้ทารกกินนมแม่น่าจะมีประสิทธิภาพในการลดความเจ็บปวดของทารกจากการฉีดวัคซีนสูงกว่าวิธีอื่น ซึ่งคงต้องมีการศึกษาเปรียบเทียบในรายละเอียดต่อไป

หนังสืออ้างอิง

  1. Gray L, Garza E, Zageris D, Heilman KJ, Porges SW. Sucrose and Warmth for Analgesia in Healthy Newborns: An RCT. Pediatrics 2015.

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกลุ่มประเทศอาเซียน

1410868258888-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีการรณรงค์และมีการตื่นตัวของหลากหลายภาคส่วนในประเทศไทย แต่อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากการสำรวจที่ผ่านมาพบว่ายังมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำ โดยอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดียวในปี พ.ศ. 2549 พบร้อยละ 5.4 และในปี พ.ศ. 2552 พบร้อยละ 15.21,2 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน พบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนในประเทศลาวในปี พ.ศ. 2552 พบร้อยละ 263 อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนในเวียดนามในปี พ.ศ. 2545-2548 พบร้อยละ 15.54 และใน พ.ศ. 2551-2553 พบร้อยละ 4-115 อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนในประเทศกัมพูชาในปี พ.ศ. 2545-2548 พบร้อยละ 60.1 อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนในประเทศฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2545-2548 พบร้อยละ 33.7 อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนในประเทศอินโดนีเซียในปี พ.ศ. 2545-2548 พบร้อยละ 38.94 ?จะเห็นว่าในอัตราการเลี้ยงลูกอย่างเดียวหกเดือนในประเทศไทยเกือบจะรั้งตำแหน่งท้ายของประเทศในกลุ่มเพื่อนบ้านอาเซียน ดังนั้น ในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนให้สูงขึ้น อาจต้องมีการเทียบเคียงกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในวิธีการจัดการแก้ปัญหา ซึ่งในประเทศเวียดนามได้มีการออกกฎหมายให้มารดาลาพักหลังคลอดได้หกเดือนที่น่าจะช่วยแก้ปัญหาในการที่สำคัญในการหยุดเลี้ยงด้วยนมแม่ก่อนหกเดือนคือ การกลับไปทำงานของมารดา ในประเทศไทยคงต้องรีบบริหารจัดการกับสาเหตุนี้เช่นกัน เพื่อไม่ให้กลายเป็นประเทศที่มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำที่สุดในอาเซียน

หนังสืออ้างอิง

  1. Kongsri S, Limwattananon S, Sirilak S, Prakongsai P, Tangcharoensathien V. Equity of access to and utilization of reproductive health services in Thailand: national Reproductive Health Survey data, 2006 and 2009. Reprod Health Matters 2011;19:86-97.
  2. Laisiriruangrai P, Wiriyasirivaj B, Phaloprakarn C, Manusirivithaya S. Prevalence of exclusive breastfeeding at 3, 4 and 6 months in Bangkok Metropolitan Administration Medical College and Vajira Hospital. J Med Assoc Thai 2008;91:962-7.
  3. Lee HM, Durham J, Booth J, Sychareun V. A qualitative study on the breastfeeding experiences of first-time mothers in Vientiane, Lao PDR. BMC Pregnancy Childbirth 2013;13:223.
  4. Senarath U, Dibley MJ, Agho KE. Factors associated with nonexclusive breastfeeding in 5 east and southeast Asian countries: a multilevel analysis. J Hum Lact 2010;26:248-57.
  5. Thu HN, Eriksson B, Khanh TT, et al. Breastfeeding practices in urban and rural Vietnam. BMC Public Health 2012;12:964.

 

 

การให้ลูกกินนมแม่ในเวลากลางคืนกับการพักผ่อนของมารดา

latch3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การที่มารดาให้ลูกกินนมแม่ในเวลากลางคืนจะช่วยให้มีการกระตุ้นและสร้างน้ำนมได้ดีจากผลของการกระตุ้นฮอร์โมนที่ช่วยในการสร้างน้ำนมที่จะมีระดับที่สูงในช่วงเวลากลางคืน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาว่า มารดาที่ให้นมลูกในช่วงกลางคืนจะนอนพักได้นานกว่ามารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมผสมเฉลี่ย 30 นาที1 ซึ่งความสัมพันธ์นี้ยังไม่ทราบกลไกในการอธิบาย แต่การที่มารดาได้พักผ่อนมากกว่าก็น่าจะมีการฟื้นตัวและมีเรี่ยวแรงในการดูแลลูกได้ดีกว่า ซึ่งจะตรงข้ามกับความรู้สึกโดยทั่วไปว่า การให้นมลูกเองมารดาน่าจะได้พักผ่อนน้อยกว่า ดังนั้น การศึกษาในรายละเอียดต่อไปมีความน่าสนใจเพื่อที่จะเข้าใจถึงผลของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อการนอนและการฟื้นตัวของมารดามากขึ้น

หนังสืออ้างอิง

  1. Doan T, Gay CL, Kennedy HP, Newman J, Lee KA. Nighttime breastfeeding behavior is associated with more nocturnal sleep among first-time mothers at one month postpartum. J Clin Sleep Med 2014;10:313-9.

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)