บทบาทของพ่อในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

w42

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? พ่อมีส่วนในการช่วยสนับสนุนและให้กำลังใจแม่ระหว่างการคลอดได้ ซึ่งจะทำให้แม่มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการคลอดปกติได้สูงกว่า และการช่วยดูแลแม่ในช่วงหลังคลอดยังลดโอกาสการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของแม่ลง นอกจากนี้ ในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การสนับสนุนของพ่อให้ลูกกินนมแม่จะทำให้แม่มีโอกาสที่จะเริ่มนมแม่ได้เร็วกว่าและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นานกว่าด้วย1

หนังสืออ้างอิง

  1. Hunter T, Cattelona G. Breastfeeding initiation and duration in first-time mothers: exploring the impact of father involvement in the early post-partum period. Health Promot Perspect 2014;4:132-6.

 

การสั่งนมแม่พาสเจอร์ไรซ์จากออนไลน์

DSC00123

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อมารดาและทารก และเป็นกระแสของการดูแลทางสุขภาพที่คนในสังคมหันมาใส่ใจกับสิ่งนี้มากขึ้น แม่ที่ไม่สามารถจะให้นมตนเองแก่ลูกได้ก็ต้องการให้ลูกได้กินนมแม่ ในปัจจุบันจึงมีการสั่งนมแม่พาสเจอร์ไรซ์จากออนไลน์ ซึ่งคุณภาพของนมแม่พาสเจอร์ไรซ์ออนไลน์นั้นยังคงเป็นคำถาม ในประเทศแคนาดาจึงมีการศึกษานมแม่ที่พาสเจอร์ไรซ์ที่สั่งจากออนไลน์ พบว่านมแม่ที่พาสเจอร์ไรซ์ที่สั่งจากออนไลน์มีเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ เชื้อแบคทีเรีย coliform และเชื้อ Staphylococcus มากกว่านมแม่พาสเจอร์ไรซ์จากธนาคารนมแม่ ซึ่งในการศึกษานี้เชื่อว่าน่าจะเกิดจากกระบวนการการเก็บน้ำนม การดูแลรักษาและการจัดส่ง1

? ? ? ? ? ? ในประเทศไทยยังไม่พบข้อมูลว่ามีการสั่งนมแม่ออนไลน์ อย่างไรก็ตามในอนาคตอาจเป็นไปตามกระแสโลก ดังนั้นการเลือกที่จะซื้อนมแม่ออนไลด์ควรระมัดระวัง

หนังสืออ้างอิง

  1. St-Onge M, Chaudhry S, Koren G. Donated breast milk stored in banks versus breast milk purchased online. Can Fam Physician 2015;61:143-6.

 

 

การใช้ตัวชี้วัดเป็นกลไกพัฒนาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

1410868492600

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอนหรือการรณรงค์ในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ข้อมูลหรือการเก็บสถิติมีความสำคัญ บุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องทราบข้อมูลเหล่านี้เพื่อสร้างเป้าหมายและกำหนดตัวชี้วัดในการทำงาน มีการศึกษาถึงการใช้ตัวชี้วัดเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาเป็นกลไกในการพัฒนาสุขภาพของเมืองไฟรา เดอ ซานตานา ในประเทศบราซิล ซึ่งใช้ตัวชี้วัดการที่ทารกได้กินนมแม่ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด การกินนมแม่อย่างเดียวของทารกในหกเดือนแรก และการกินนมแม่ของทารกอายุ 9-12 เดือน ซึ่งหลังจากการกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจน การเปลี่ยนแปลงของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็มีแนวโน้มในการพัฒนาดีขึ้น1

? ? ? ? ? ? ? ?ในประเทศไทย หากจะส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถาบันผลิตแพทย์ คงต้องกำหนดตัวชี้วัดในเรื่องนี้ไว้ในการประเมินคุณภาพการศึกษา โดยกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือหากเป็นในด้านการบริการ ต้องกำหนดไว้ในตัวชี้วัดเบื้องต้นของสถาบันรับรองและพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ร่วมกับการกำหนดที่ชัดเจนในแผนงานด้านสุขภาพ ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติด้วย ?ซึ่งหากทำได้ อนาคตเด็กไทยคงได้กินนมแม่มากขึ้น

หนังสืออ้างอิง

  1. Vieira GO, Reis MR, Vieira TO, Oliveira NF, Silva LR, Giugliani ER. Trends in breastfeeding indicators in a city of northeastern Brazil. J Pediatr (Rio J) 2015.

 

 

การสอนแพทย์ประจำบ้านเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

1410868261278-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในโรงเรียนแพทย์เริ่มมีการบรรจุหัวข้อนี้ลงในเกณฑ์การประกอบวิชาชีพเวชกรรม ปี พ.ศ. 2555 แต่หัวข้อนี้ในการสอนแพทย์ประจำบ้านยังมีอยู่น้อยและยังขาดความชัดเจนในวัตถุประสงค์การเรียนรู้และการประเมิน ซึ่งแพทย์ประจำบ้านเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาแพทย์ มีการศึกษาถึงการเรียนการสอนของแพทย์ประจำบ้านในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศสวีเดน พบว่า แพทย์ประจำบ้านมีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในเรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้อยกว่าที่ควรจะเป็น จึงมีการกำหนดวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ไว้ดังนี้1

เมื่อสิ้นสุดการเรียนรู้หัวข้อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แพทย์ประจำบ้านควรจะสามารถ

  1. ประเมินเทคนิคการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
  2. ช่วยมารดาให้มีเทคนิคการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เหมาะสมได้
  3. อธิบายปัญหาที่พบในมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
  4. สรุปประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อมารดาและทารกได้
  5. ส่งต่อมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้กับหน่วยงานที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชนได้อย่างเหมาะสม

? ? ? ? ? ในประเทศไทยอาจนำวัตถุประสงค์เหล่านี้ ไปจัดเกณฑ์การประเมินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของแพทย์ประจำบ้านในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

หนังสืออ้างอิง

  1. Pound CM, Moreau KA, Hart F, Ward N, Plint AC. The planning of a national breastfeeding educational intervention for medical residents. Med Educ Online 2015;20:26380.

 

 

 

การเริ่มเป็นสาวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

1410868347197-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในปัจจุบันพบว่าเด็กหญิงเริ่มเป็นสาวเร็วขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นจากภาวะโภชนาการ ภาวะอ้วนที่วินิจฉัยโดยดัชนีมวลกายเป็นสิ่งที่จะบ่งบอกและทำนายอายุที่เริ่มเป็นสาวของเด็กหญิงได้ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวป้องกันภาวะอ้วนเมื่อทารกอายุมากขึ้น1 จึงมีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวกับการเริ่มเป็นสาว ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่า ทารกที่กินนมผสมจะมีการพัฒนาของเต้านมในช่วงเป็นสาวเร็วกว่าทารกที่กินนมแม่อย่างเดียว2 ดังนั้นการพบเด็กหญิงเข้าสู่วัยสาวเร็วขึ้นในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งอาจสัมพันธ์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่น้อยลงจนนำมาสู่ปัญหา ?คุณแม่วัยรุ่น??ซึ่งขาดความพร้อมในด้านต่างๆ ในการเป็นมารดา การป้องกันโดยการรณรงค์ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนอกจากประโยชน์ในด้านอื่นแล้วยังอาจมีส่วนในการลดปัญหาที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ได้

หนังสืออ้างอิง

  1. Jensen SM, Ritz C, Ejlerskov KT, Molgaard C, Michaelsen KF. Infant BMI peak, breastfeeding, and body composition at age 3 y. Am J Clin Nutr 2015;101:319-25.
  2. Kale A, Deardorff J, Lahiff M, et al. Breastfeeding versus formula-feeding and girls’ pubertal development. Matern Child Health J 2015;19:519-27.

 

 

 

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)