คลังเก็บป้ายกำกับ: การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในระหว่างการฝากครรภ์

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในมารดาที่ให้นมลูก

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

          ในมารดาที่มีการให้นมลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงของเต้านม และมักพบการขังของน้ำนมในท่อน้ำนม  ซึ่งจะคลำได้เป็นก้อน แต่ก้อนเหล่านี้ไม่ได้มีการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม ดังนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในมารดาที่ให้นมลูก จะเพิ่มการมีผลบวกลวง ซึ่งก็คือ ตรวจพบผลตรวจคัดกรองมีความผิดปกติแต่เมื่อทำการตรวจยืนยันแล้วไม่พบว่าเป็นมะเร็ง การเพิ่มการมีผลบวกลวง จะเพิ่มความสูญเสียของค่าใช้จ่ายในการตรวจ ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์ว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในมารดาที่ให้นมลูกมีความคุ้มค่าหรือไม่ ปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวตัดสินคือ อุบัติการณ์ของมะเร็งเต้านมในมารดาที่ให้นมลูก หากอุบัติการณ์การพบมะเร็งเต้านมในมารดาที่ให้นมลูกสูง โอกาสที่จะมีความคุ้มค่าในการตรวจคัดกรองในมารดาที่ให้นมลูกทุกรายจะสูง

              อุบัติการณ์ของมะเร็งเต้านมจะขึ้นอยู่กับพันธุกรรมและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม โดยจะพบอุบัติการสูงในมารดาที่อายุมาก และอ้วน มีการศึกษาในสหรัฐอเมริกาในเรื่องการคัดกรองมะเร็งเต้านมระหว่างที่มารดามีการให้นมลูก จากการศึกษานี้ แนะนำว่าควรมีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในมารดาที่ให้นมลูก แม้ว่าจะมีการพบผลบวกลวงจากการตรวจเพิ่มขึ้น แต่น่าจะมีประโยชน์มากกว่าผลเสียจากการตรวจ1 อย่างไรก็ตาม ในประเทศไทยการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในมารดาที่ให้นมลูกควรจะมีการศึกษาเพิ่มเติม เนื่องจากบริบทและอุบัติการณ์ของมะเร็งเต้านมในมารดาที่ให้นมลูกแตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ว่ามีความคุ้มค่าในการลงทุน และเสนอเป็นแนวทางในการตรวจคัดกรองหากพบว่ามีความคุ้มค่า

เอกสารอ้างอิง

  1. Johnson HM, Lewis TC, Mitchell KB. Breast Cancer Screening During Lactation: Ensuring Optimal Surveillance for Breastfeeding Women. Obstet Gynecol 2020;135:194-8.

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในระหว่างการฝากครรภ์

b1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในระหว่างการฝากครรภ์มีความจำเป็นเพื่อตรวจก้อนหรือความผิดปกติอื่นๆ ของเต้านม โดยหากตรวจพบความผิดปกติหรือสงสัยมะเร็งเต้านม การตรวจพิเศษทางรังสีวินิจฉัยสามารถช่วยในการวินิจฉัย อย่างไรก็ตามในระหว่างการตั้งครรภ์และการให้นมบุตรมักพบภาวะแทรกซ้อนของก้อนจากการขังตัวของน้ำนม เต้านมอักเสบ หรือฝีที่เต้านมได้ ซึ่งทำให้เกิดความลำบากในการวินิจฉัย ซึ่งการจะให้ได้การวินิจฉัยที่ชัดเจนจำเป็นต้องได้ชิ้นเนื้อมาตรวจพิสูจน์ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เข็มเจาะดูดเนื้อเยื่อเต้านมมาย้อมสีและตรวจดูลักษณะของเซลล์