กระบวนการให้คำปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกสุขภาพดี 8 ขั้นตอน(ตอนที่ 1)

S__38208304

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?กระบวนการให้คำปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกสุขภาพดี 8 ขั้นตอน เป็นกระบวนการหนึ่งที่ออกแบบเพื่อใช้เป็นวิธีในการให้คำปรึกษาที่บุคลากรทางการแพทย์สามารถเลือกใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาและวางแผนการแก้ปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้กับมารดาและครอบครัวได้

? ? ? ? ? โดยในกระบวนการ จะมีการรวบรวมความรู้และความคิดวิเคราะห์ไว้ร่วมกัน การช่วยหาทางออกจากความหลากหลายของสาเหตุของปัญหา และพัฒนามองมุมที่เปิดกว้างโดยช่วยสร้างการบริการที่มีความเห็นอกเห็นใจและเข้าใจมารดาและทารก ในแต่ละขั้นตอน ต้องหาคำตอบ จะข้ามขั้นตอนหรือไม่ตอบในส่วนใดส่วนหนึ่งของขั้นตอนแต่ละขั้นตอนไม่ได้ เนื่องจากอาจนำไปสู่คำตอบที่ผิด ไม่สมบูรณ์ หรือไม่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหา รายละเอียดของขั้นตอน ได้แก่

??????????????? ขั้นตอนที่ 1 ซักประวัติอย่างสมบูรณ์

??????????????? ขั้นตอนที่ 2 ประเมินมารดา ทารก และการกินนมแม่

??????????????? ขั้นตอนที่ 3 จัดลำดับรายการของอาการ

??????????????? ขั้นตอนที่ 4 จัดลำดับรายการของปัญหา

??????????????? ขั้นตอนที่ 5 ร้อยเรียงประวัติ การประเมิน อาการและปัญหาเข้าด้วยกัน

??????????????? ขั้นตอนที่ 6 สร้างและจัดเรียงลำดับของวิธีการในการแก้ไขปัญหา และวางแผนการจัดการ

??????????????? ขั้นตอนที่ 7 ร้อยเรียงลำดับของวิธีการแก้ปัญหาและแผนการจัดการเข้ากับปัญหา

??????????????? ขั้นตอนที่ 8 ประเมินผลวิธีการแก้ไขปัญหาและการจัดการ

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

เหตุใดนมแม่ในมารดาบางคนจึงมาน้อย

S__38207899

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?นมแม่ส่วนใหญ่จะเพียงพอสำหรับทารก แต่ในมารดาบางรายนมแม่มีน้อย การตรวจหาสาเหตุมีความจำเป็น เพื่อการแก้ไขที่เหมาะสมให้น้ำนมกลับมาเป็นปกติ สาเหตุที่ทำให้มารดามีน้ำนมน้อย ได้แก่

? ? ? -การให้ลูกเริ่มกระตุ้นดูดนมช้า ความถี่ในการดูดนมน้อยเกินไป การดูดนมที่ไม่เกลี้ยงเต้า (พบเป็นสาเหตุได้บ่อย)

? ? ? -การให้นมผสมเสริมจากนมแม่

? ? ? -มารดาเปลี่ยนใจจากการให้ลูกกินนมผสมเปลี่ยนมาให้นมแม่

? ? ? -มารดาสูบบุหรี่

? ? ? -มารดาที่ได้รับยาที่ทำให้น้ำนมมาน้อย ได้แก่ pseudoephedrine โดยอาจได้รับร่วมกับยา antihistamine

? ? ? -โรคหรือภาวะแทรกซ้อนบางอย่างระหว่างการตั้งครรภ์ การคลอดหรือหลังคลอด ได้แก่ การตกเลือดหลังคลอด มารดามีภาวะไทรอยด์ผิดปกติ มารดาเคยได้รับการผ่าตัดเต้านม หรืออาจเกิดจากมารดามีการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อเต้านมผิดปกติ (พบน้อย)

? ? ? ? ? ? ? ดังนั้น จะเห็นว่า สาเหตุที่พบส่วนใหญ่สามารถแก้ไขได้ หากมารดาตั้งใจ เอาใจใส่ และได้รับการให้คำปรึกษาที่เหมาะสม มารดากลุ่มนี้ จะประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd ?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

ทารกหลังคลอดไม่ควรน้ำหนักลดเกินเท่าไหร่

IMG_0718

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในสัปดาห์แรกหลังคลอด ทารกจะมีน้ำหนักลด แต่มีข้อแนะนำว่า น้ำหนักของทารกที่ลดไม่ควรเกินร้อยละ 7 จากน้ำหนักแรกคลอดในที่ 5 หลังคลอด เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และมารดาระมัดสาเหตุที่ทำให้ทารกน้ำหนักลดอาจเป็นอันตรายแก่ทารกได้ ดังนั้น จึงเขียนตารางเทียบน้ำหนักตัวของทารกและน้ำหนักที่ไม่ควรลดเกินในวันที่ 5 หลังคลอด เพื่อให้ง่ายและสะดวกในการดูแลในเรื่องน้ำหนักทารกที่ลดลง

น้ำหนักแรกคลอด (กิโลกรัม) ในวันที่ห้าหลังคลอด น้ำหนักที่ลดไม่ควรเกิน (กรัม)?
2.5 175
2.75 192.5
3 210
3.25 227.5
3.5 245
3.75 262.5
4 280
4.25 297.5
4.5 315

 

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

 

ตารางประมาณค่าความต้องการนมแม่ของทารกปกติต่อวัน

IMG_0712

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในทารกปกติ มารดาหรือบุคลากรทางการแพทย์อาจใช้สูตรคำนวณปริมาณน้ำนมที่ทารกต้องการต่อวันได้ดังนี้

น้ำหนักทารก(กิโลกรัม)คูณด้วย 5.5 จะเท่ากับปริมาณน้ำนม(ออนซ์)ที่ทารกควรจะได้รับต่อวัน

?ซึ่งเพื่อให้ดูง่าย ได้จัดทำเป็นตารางน้ำหนักทารกและความต้องการน้ำนม แสดงในตาราง

น้ำหนักทารก?(กิโลกรัม)

ความต้องการนมแม่?(ออนซ์) ต่อวัน นมแม่ (ออนซ์) ต่อมื้อ?(8 มื้อต่อวัน) น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นหลังกินนมแม่(กรัม)
2.5 13.75 1.72 52
2.75 15.125 1.89 57
3 16.5 2.06 62
3.25 17.875 2.23 67
3.5 19.25 2.41 72
3.75 20.625 2.58 77
4 22.0 2.75 83
4.25 23.375 2.92 88
4.5 24.75 3.09 93
4.75 26.125 3.27 98
5 27.5 3.44 103

? ? ? ? ? ? ?หรืออาจใช้น้ำหนักทารก (กิโลกรัม) คูณด้วย 20.6 เท่ากับน้ำหนักของทารกที่เพิ่มขึ้นหลังกินนม (กรัม) หากให้นมทารก 8 มื้อต่อวัน ซึ่งข้อมูลนี้จะช่วยให้มารดาหรือบุคลากรทางการแพทย์ประเมินการให้นมทารกได้อย่างง่ายๆ

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

 

การคำนวณการกินนมของทารกจากน้ำหนักก่อนและหลังกินนม

IMG_0738

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ทารกที่กินนมแม่ การสังเกตว่าทารกกินนมได้เพียงพอสามารถสังเกตได้จาก หลังกินนม ทารกดูรู้สึกอิ่มสบาย นอนหลับได้นาน ไม่กระสับกระส่าย ขับถ่ายได้ดี โดยหลังสัปดาห์แรกแล้วทารกควรปัสสาวะวันละ 6-8 ครั้ง อุจจาระวันละ 3 ครั้ง ไม่มีลักษณะอาการขาดน้ำ น้ำหนักทารกขึ้นได้ดีตามเกณฑ์ ซึ่งมารดาจำเป็นต้องมีการติดตามน้ำหนักทารกเทียบกับกราฟการเจริญเติบโตมาตรฐานของทารกที่กินนมแม่ ในกรณีที่สงสัยว่าทารกอาจได้รับนมไม่เพียงพอ การชั่งน้ำหนักทารกก่อนและหลังการกินนมและคำนวณปริมาณน้ำนมที่ทารกได้รับอาจช่วยในการประเมินได้

? ? ? ? ?หลักในการคำนวณ ต้องคำนวณความต้องการของทารกต่อวันก่อน โดยนำ

น้ำหนักทารก (กิโลกรัม) คูณด้วย 5.5 จะเท่ากับปริมาณน้ำนม (ออนซ์) ที่ทารกควรจะได้รับต่อวัน

? ? ? ? ?ตัวอย่างน้ำหนักทารก 3 กิโลกรัม ทารกควรได้รับน้ำนมเท่ากับ 3×5.5 = 16.5 ออนซ์

? ? ? ? ?หากแบ่งให้ทารกวันละ 8 มื้อ มื้อหนึ่งควรได้ราว 2.06 ออนซ์ หรือราว 60 มิลลิลิตร (น้ำหนักน้ำนม 1 มิลลิลิตรจะหนักราว 1 กรัม) ดังนั้นหากทารกชั่งน้ำหนักเพิ่มขึ้นน้อยกว่า 60 กรัม (เครื่องชั่งที่ใช้วัดควรมีความละเอียดของการวัดเพียงพอ) แสดงว่าทารกอาจได้รับนมน้อยเกินไปในมื้อนั้น อย่างไรก็ตาม ในแต่ละมื้อที่ทารกกินนมแม่ ปริมาณอาจแตกต่างกัน การประเมินปริมาณเฉลี่ยต่อวันจะมีความแม่นยำมากกว่า

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)