คำถามที่ใช้สำหรับทารกไม่ยอมนอนตอนกลางคืน

IMG_0690

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?การที่ทารกไม่ยอมนอนในตอนกลางคืน อาจพบเป็นปัญหาเมื่อสิ่งนี้ไม่ได้เป็นที่คาดหวังของมารดาและครอบครัว การที่ทารกตื่นและไม่นอนในช่วงกลางคืน บุคลากรทางการแพทย์ควรสอบถามว่า

? ? ? ?-ทารกขณะนี้อายุเท่าไหร่

? ? ? ?-อาการที่ทารกไม่ยอมนอนตอนกลางคืนเป็นมานานแค่ไหนแล้ว

? ? ? ?-ลักษณะที่ทารกไม่ยอมนอนตอนกลางคืนเป็นอย่างไร

? ? ? ?-ทารกนอนช่วงกลางคืนนานกี่ชั่วโมง และนอนช่วงกลางวันนานกี่ชั่วโมง

? ? ? ?-ทารกง่วงหลับระหว่างกลางคืนเมื่อไร

? ? ? ?-ทารกตื่นมากินนมเมื่อไร

? ? ? -ทารกน้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์หรือไม่

? ? ? ?จากนั้น บุคลากรควรมาทบทวนดูถึงสาเหตุที่ทำให้ทารกไม่ยอมนอนในช่วงเวลากลางคืน จะทำให้สามารถแนะนำการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม?

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

ทารกที่ปฏิเสธขวดนมหรือการป้อนจากถ้วย

DSC00123

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ในทารกที่เริ่มต้นด้วยการกินนมแม่และกินนมแม่ได้ดี การให้กินนมจากขวดนมหรือป้อนนมจากถ้วย บางครั้งทารกจะปฏิเสธ เนื่องจากขณะที่กินนมแม่ ทารกจะได้สัมผัสกับอกมารดา ความอบอุ่นและกลิ่นที่คุ้นเคย จะทำให้ทารกสงบและรู้สึกปลอดภัย ทำให้ทารกกินนมได้อย่างอิ่มทั้งใจและอิ่มทั้งกาย

? ? ? ? ? ? ในกรณีที่ทารกปฏิเสธการป้อนนมจากถ้วยหรือจากขวดนมในกรณีมีความจำเป็นต้องให้ บุคลากรทางการแพทย์ควรสอบถามว่า

? ? ? ? -การป้อนนมนั้นใครเป็นคนป้อน มารดา บิดา ปู่ย่าตายาย หรือพี่เลี้ยงเด็ก

? ? ? ? -ป้อนนมอะไรให้แก่ทารก นมแม่ที่บีบเก็บไว้ นมผสม หรืออาหารอื่นๆ

? ? ? ? -การป้อนนมป้อนในที่ใด ที่บ้าน นอกบ้าน ที่โรงพยาบาลหรือสถานที่อื่นๆ

? ? ? ? -ป้อนนมเมื่อไร ป้อนนมเมื่อทารกมีอาการบ่งบอกถึงการหิวหรือไม่

? ? ? ? -เหตุผลในการที่ต้องป้อนนมด้วยถ้วยหรือขวดนม

? ? ? ? ?เมื่อสอบถามถึงรายละเอียดของปัญหาแล้ว การสังเกตขณะให้การป้อนนมมีความสำคัญ เพื่อจะช่วยให้สามารถเข้าใจสภาวการณ์ที่เกิดกับทารกได้ โดยที่ไม่ควรมีความเชื่อว่า การปล่อยให้ทารกหิวมากๆ ทารกก็จะยอมกินเอง เนื่องจากทารกบางคนอาจจะอ่อนเพลียและอ่อนแรงจนไม่สามารถกินนมได้ตามที่ต้องการและอาจเกิดอันตรายได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

มารดาบีบเก็บน้ำนมได้น้อยควรทำอย่างไร

hand expression11

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? โดยทั่วไป นมแม่จะเพียงพอสำหรับทารกในแต่ละช่วงเวลา การให้นมแม่ตามความต้องการของทารกจะดีที่สุด แต่ในกรณีที่มารดาต้องไปทำงานนอกบ้าน การบีบน้ำนมเก็บไว้ให้ทารกอาจมีความจำเป็น การบีบเก็บน้ำนมตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดสามารถทำได้ แต่มารดาไม่ควรคาดหวังว่าจะสามารถบีบน้ำนมเก็บได้เต็มแก้วหรือเต็มขวดในครั้งแรก นมแม่เมื่อได้รับการกระตุ้นบ่อยๆ และให้ทารกดูดหรือบีบออกจนเกลี้ยงเต้า น้ำนมจะผลิตเพิ่มขึ้น

? ? ? ? ? ? ?หากในช่วงหลังคลอดใหม่ มารดาให้ทารกกินนมแล้ว บีบเก็บน้ำนมได้น้อย ทารกยังเจริญเติบโตตามเกณฑ์ ขับถ่ายปกติ ไม่ควรวิตกกังวลเรื่องการบีบเก็บน้ำนมได้น้อย การบีบเก็บน้ำนม ควรเริ่มต้นด้วยการบีบน้ำนมด้วยมือก่อนในระยะแรกหลังคลอด โดยอาจบีบน้ำนมในเต้านมข้างที่ทารกไม่ได้ดูดนมขณะเดียวกันกับให้ทารกดูดเต้านมอีกข้าง การดูดนมของทารกจะกระตุ้นฮอร์โมนออกซิโตซินที่จะช่วยให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้น เมื่อน้ำนมไหลได้ดี การปั๊มนมจากเต้าทั้งสองพร้อมกันในระหว่างมื้อของการให้นมทารก จะให้ได้น้ำนมมากขึ้นโดยใช้เวลาในการปั๊มน้อยลง ยิ่งกระตุ้นบีบน้ำนมเก็บบ่อยๆ น้ำนมก็ยิ่งผลิตมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ?มารดาควรระลึกไว้เสมอว่า การให้นมจากเต้าที่สดใหม่ย่อมดีกว่าการให้น้ำนมที่บีบเก็บหรือแช่เย็นไว้ และการให้นมแม่ที่แช่เย็นไว้ก็ยังดีกว่าการให้นมผสม?

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

ภาวะลิ้นติด

moderat tongue-tie1

เอกสารประกอบการสอนภาวะลิ้นติด

tongue-tie review

กระบวนการให้คำปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกสุขภาพดี 8 ขั้นตอน(ตอนที่ 2)

S__38207905

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

รายละเอียดของขั้นตอน ได้แก่

? ? ? ? ? ? ? ? ?ขั้นตอนที่ 1 ซักประวัติอย่างสมบูรณ์

??????????????? ขั้นตอนที่ 2 ประเมินมารดา ทารก และการกินนมแม่

??????????????? ขั้นตอนที่ 3 จัดลำดับรายการของอาการ

??????????????? ขั้นตอนที่ 4 จัดลำดับรายการของปัญหา

??????????????? ขั้นตอนที่ 5 ร้อยเรียงประวัติ การประเมิน อาการและปัญหาเข้าด้วยกัน

??????????????? ขั้นตอนที่ 6 สร้างและจัดเรียงลำดับของวิธีการในการแก้ไขปัญหา และวางแผนการจัดการ

??????????????? ขั้นตอนที่ 7 ร้อยเรียงลำดับของวิธีการแก้ปัญหาและแผนการจัดการเข้ากับปัญหา

??????????????? ขั้นตอนที่ 8 ประเมินผลวิธีการแก้ไขปัญหาและการจัดการ

? ? ? ? ? ? ? ? ในขั้นตอนที่ 1-4 จะเป็นขั้นตอนที่มีการเชื่อมโยงกันเป็นวงรอบ โดยการซักประวัติ การประเมินมารดาและทารก การจัดลำดับรายการของอาการและปัญหา จะเปลี่ยนแปลงเมื่อมีข้อมูลในขั้นตอนเพิ่มขึ้น เมื่อคิดว่ามีข้อมูลเพียงพอ ขั้นตอนที่ 5-7 จะได้รับการดำเนินการต่อ ซึ่งจะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ทั้งหมด เพื่อให้มองเห็นปัญหาอย่างชัดเจน ในขั้นตอนนี้ ควรมีการสอบถามมารดาถึงความเข้าใจปัญหาของผู้ให้คำปรึกษาว่าตรงประเด็นกับของมารดาหรือไม่ หากได้ประเด็นปัญหาแล้ว การดำเนินการขั้นตอนการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและการวางแผนการจัดการ ศึกษาผลกระทบของแนวทางการแก้ปัญหาว่า มีผลเสียใดๆ ต่อมารดาหรือทารกหรือไม่ และแนวทางการแก้ปัญหาแต่ละทางมีผลกระทบต่อปัญหาหลายปัญหาหรือมีผลกระทบระหว่างกันหรือไม่ พร้อมกับจัดลำดับของวิธีการแก้ปัญหาและแผนการจัดการ ซึ่งในขั้นตอนนี้ควรจะมีการพูดคุยกับมารดาถึงความเป็นไปได้และการจัดลำดับของวิธีการแก้ไขปัญหา เพื่อให้ได้ลำดับและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่มารดายอมรับและนำไปปฏิบัติได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)