รศ.พญ.กุสุมา ชูศิลป์
???? วัตถุประสงค์ของการนำเสนอ
อธิบายเหตุผลการจัดการเรียนการสอนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับนักศึกษาแพทย์
อธิบายสาระการเรียนรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับนักศึกษาแพทย์
อธิบายแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
? ? ? ?โดยเมื่อพิจารณาถึงหัวข้อที่กำหนดในเกณฑ์ของแพทยสภา
Infancy and childhood:
3.2.1 infant feeding and breast-feeding
Adulthood:
Pregnancy, Childbirth, and The Puerperium:
(1) breast infection associated with childbirth
(2) disorders of breast and lactation associated with childbirth
? ? ? ? ?หากดูข้อแนะนำเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขององค์การอนามัยโลกและยูนิเซฟ จะมีข้อแนะนำตาม 162 คือ
1 Hour = early initiation of breastfeeding within 1 hour of birth;
6 Months = exclusive breastfeeding for the first 6 months of life; and
2 Years = introduction of nutritionally-adequate and safe complementary (solid) foods at 6 months together with continued breastfeeding up to 2 years of age or beyond.
? ? ? ? ? ? การที่จะดำเนินการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ประสบผลสำเร็จนั้น พื้นฐานการจัดการบริการที่เหมาะสมและเป็นแบบอย่างที่ดีมีความสำคัญ ซึ่งการจัดบริการที่ควรดำเนินการให้เกิดในสถานบริการที่มีการจัดการเรียนการสอน คือ การจัดบริการตามโครงการสายสัมพันธ์แม่ลูก หรือเกณฑ์ส่วนหนึ่งของโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว หรือในปัจจุบันจะอยู่ในเกณฑ์อนามัยแม่และเด็ก ซึ่งควรมีการบูรณาการเกณฑ์เข้ากับระบบงานประจำ โดยในระยะฝากครรภ์เน้นสร้างความมั่นใจให้แก่มารดาว่า มารดาทุกคนสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ แม้มีเต้านมหรือหัวนมที่มีความแตกต่างกัน มีการอธิบายถึงความสำคัญและความจำเป็นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ที่ห้องคลอดพยายามจัดให้การคลอดใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด หลีกเลี่ยงการผ่าตัดคลอดที่ไม่จำเป็น และเน้นการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังการคลอด ส่งเสริมให้มีการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อนาน 1 ชั่วโมงเพื่อให้ทารกได้คลืบคลานเข้าหาเต้านมและดูดนมด้วยตนเอง ที่หอผู้ป่วยหลังคลอด ส่งเสริมให้มารดาและทารกอยู่ด้วยกันตลอด 24 ชั่วโมง มีการประเมินการให้ทารกกินนมแม่ และสอนการบีบเก็บน้ำนมสำหรับช่วยเหลือในกรณีที่มารดาและทารกต้องแยกจากกัน สร้างให้มารดาเกิดความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนการอนุญาตให้กลับบ้าน พร้อมการนัดติดตามส่งเสริมเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่คลินิกหลังคลอด คลินิกนมแม่ คลินิกเด็กสุขภาพดี หรือมีการโทรศัพท์หรือออกเยี่ยมบ้าน และส่งเสริมให้มีการส่งต่อการดูแลต่อเนื่องในชุมชน
ที่มาจาก การประชุมเรื่องความท้าทายในการเรียนการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่ความสำเร็จ ในการประชุมเครือข่ายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภาคเหนือ ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 30 พฤศจิกายน- 1 ธันวาคม 2560
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? จากการนำเสนอประสบการณ์การเรียนการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของสถาบันผลิตแพทย์ 4 สถาบัน ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า คณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่ โรงพยาบาลชลบุรี และสถาบันสุขภาพเด็ก โดยสถาบันผลิตแพทย์แต่ละสถาบันได้นำเสนอรูปแบบตัวอย่างในการจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยบางสถาบันมีการเรียนการสอนเพื่อการเตรียมความพร้อมตั้งแต่ชั้นพรีคลินิกในปีที่ 3 มีการจัดการบรรยายเรื่อง lactation และ breast milk composition เมื่อขึ้นชั้นคลินิกได้มีการจัดการเรียนการสอนตามหน่วยบริการที่คลินิกฝากครรภ์ ห้องคลอด หอผู้ป่วยหลังคลอด หอผู้ป่วยทารกแรกเกิด คลินิกนมแม่ คลินิกทารกสุขภาพดี โดยมีการเก็บ case ในสมุด logbook การเขียนเรื่องการให้การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในรายงานผู้ป่วย มีการประเมินการเรียนการสอนภาคทฤษฎีและปฏิบัติด้วย MCQ และ OSCE โดยในบางสถาบันมีพยาบาล บางสถาบันเป็นแพทย์ประจำบ้านมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการเรียนการสอน และมีการใช้สื่อที่ได้จากมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยมาใช้ในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ สำหรับปัญหาที่พบ ได้แก่ การขาดแคลนอาจารย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ช่วยสอนและการมีภาระงานที่มาก นอกจากนี้ บางแห่งยังมีความจำกัดในเรื่องสถานที่ในการจัดการเรียนการสอน
ที่มาจาก การประชุมนำเสนอประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ใน 4 สถาบัน คือ คณะแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า คณะแพทยศาสตร์เชียงใหม่ โรงพยาบาลชลบุรี สถาบันสุขภาพเด็ก ในการประชุมเครือข่ายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภาคเหนือ ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 30 พฤศจิกายน- 1 ธันวาคม 2560
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ?เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มีต่อทั้งมารดา ทารก ชุมชนและประเทศชาติ ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีมากมาย ยกตัวอย่าง ได้แก่ ความรู้และทัศนคติของมารดาเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การให้บริการในระบบสุขภาพ สามี ญาติ เพื่อน สังคม ที่ทำงานหรือสถานประกอบการ ขนบธรรมเนียมประเพณี เศรษฐกิจ สื่อสารมวลชน เป็นต้น
??? โดยในประเทศไทย อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หกเดือนในปี 2548 ร้อยละ 5.4 ซึ่งต่ำเป็นอันดับที่สามจากสุดท้ายของโลก จากสถานการณ์เดิมที่เป็นอยู่ ทำให้มีการตื่นตัว ร่วมมือ รณรงค์ส่งเสริม สนับสนุน และปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จนได้มีการสำรวจอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อีกครั้งในปี 2559 พบว่าเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 23 อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เริ่มต้นที่โรงพยาบาล ดังนั้น การพัฒนาให้บุคลากรทางการแพทย์มีความรู้และเจตคติที่ดีต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงมีความสำคัญ เพื่อช่วยให้การสนับสนุนมารดาและครอบครัวให้สามารถดูแลและเลี้ยงดูทารกได้ก่อนได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน นั่นคือ การพัฒนาสร้างให้มีครูแพทย์/ครูพยาบาลที่สนใจและเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงมีความสำคัญด้วย นอกจากนี้ ครูแพทย์ยังจำเป็นต้องมีความรู้ การปฏิบัติที่ทันสมัย สื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและมีเพียงพอ ร่วมกับมีการจัดการเรียนการสอน การบริหารหลักสูตรและการประเมินผลที่ชัดเจนและเหมาะสม จึงได้เกิดโครงการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถาบันผลิตแพทย์ โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการในการดำเนินงาน เริ่มต้นในปี 2551 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งการดำเนินที่ผ่านมา ได้แก่
การพัฒนาอาจารย์สูติแพทย์และกุมารแพทย์
การจัดหลักอบรมอาจารย์ทั้ง basic และ advanced course
ผลักดันให้แพทยสภา เพิ่มเกณฑ์ความรู้ความสามารถของบัณฑิตแพทย์ จนได้มีการเขียนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่ในเกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประเมินเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2555 (Medical Competency Assessment Criteria for National License 2012 )
จัดทำแผนการเรียนรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับนิสิต/นักศึกษาแพทย์ในปี 2556 โดยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนทางคลินิก มีแนวทางการดำเนินงานตามบันไดสิบขั้นสู่ความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หลักสำคัญคือ การชี้แจงขอบเขตการจัดการเรียนการสอน
การจัดแผนการเรียนการสอน
การแนะนำสื่อและวิธีการเข้าถึงสื่อ
การประเมินผลในขณะปฏิบัติงานและการสอบลงกอง
? ? ? ? ? ? ? ?ตัวอย่างเช่น การเรียนรู้ในห้องฝากครรภ์ให้ทราบบันไดขั้นที่ 3 การเรียนรู้ที่ห้องคลอดให้ทราบบันไดขั้นที่ 4 การเรียนรู้ที่หอผู้ป่วยหลังคลอดและหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดให้ทราบถึงบันไดขั้นที่ 5-9 การเรียนรู้ที่คลินิกเด็กสุขภาพดีให้ทราบถึงบันไดขั้นที่ 10
ผลิตสื่อและอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ ตำรา ภาพพลิก powerpoint วิดีโอ CAI อุปกรณ์สอนข้างเตียงและหุ่นที่ใช้สอนแสดง
เยี่ยมสถาบันที่จัดการเรียนการสอนเพื่อรับทราบปัญหาและหาทางช่วยเหลือแก้ไข
จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการเรียนการสอน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ให้แก่สถาบันผลิตแพทย์ในภูมิภาค ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 ครั้ง และภาคใต้ 2 ครั้ง
สำหรับผลผลิตที่ต้องการได้แก่ ?Smart doctor on breastfeeding? ที่ต้องมีความเก่ง พอเหมาะ ถูกต้อง กำลังดี และมีประสิทธิภาพ โดยร่วมมือกับพยาบาลมี teamwork ที่ดี ที่จะนำสู่เป้าหมาย ? 162 คือ เพื่อให้แม่ได้เริ่มให้นมลูกตั้งแต่ใน 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวใน 6 เดือนแรก และหลังจากนั้นให้ลูกกินนมแม่ร่วมกับอาหารตามวัยจนถึงอายุ 2 ปี หรือมากกว่า ?
ที่มาจากการบรรยายของ ศ.คลินิก เกียรติคุณ สุวชัย อินทรประเสริฐ และอาจารย์ยุพยง แห่งเชาวนิช ในงานประชุมพัฒนาเครือข่ายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภาคเหนือ วันที่ 30 พฤศจิกายน-1 ธันวาคม 2560
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)