คลังเก็บป้ายกำกับ: ความท้าทายในการเรียนการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่ความสำเร็จ

ความท้าทายในการเรียนการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่ความสำเร็จ(2)

?อีกประเด็นหนึ่งที่มีความสำคัญ คือ พระราชบัญญัติควบคุมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก ปี พ.ศ. 2560 ที่บุคลากรทางการแพทย์ควรทราบถึงเนื้อหาและรายละเอียด ได้แก่

  • ไม่มีการโฆษณานมดัดแปลงสำหรับทารก นมดัดแปลงสูตรต่อเนื่อง และอาหารตามวัยของทารกและเด็กเล็กในที่สาธารณะ
  • ไม่มีการแจกตัวอย่างผลิตภัณฑ์แก่แม่
  • ไม่ส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ ในโรงพยาบาลและสถานบริการสุขภาพ
  • ห้ามผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้จำหน่ายหรือตัวแทน จัดหรือให้การสนับสนุนในการจัดการประชุม อบรม หรือสัมมนาด้านวิชาการ เกี่ยวกับอาหารสำหรับทารกหรืออาหารสำหรับเด็กเล็กแก่หน่วยบริการสาธารณสุข บุคลากรด้านสาธารณสุข หญิงตั้งครรภ์ หรือหญิงที่มีบุตรซึ่งเป็นทารกหรือเด็กเล็ก

? ? ? ? ? ? ? หากพิจารณาถึงปัญหาและอุปสรรคของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากส่วนของบุคลากรทางในต่างประเทศ ตัวอย่างของสหรัฐอเมริกา พบว่า ปัญหาเกิดจาก

  • ความรู้และการปฏิบัติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของแพทย์ไม่เพียงพอในระบบบริการ
  • แพทย์ขาดความมั่นใจการให้สุขศึกษาและการให้คำปรึกษาแก่หญิงตั้งครรภ์
  • แพทย์มีทัศนคติและความรู้ที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เช่น เชื่อว่านมผสมเป็นโภชนาการที่สมบูรณ์แบบสำหรับทารก

? ? ? ? ? ?ดังนั้น ความท้าทายในการจัดการเรียนการสอน คือ ต้องทำให้นิสิต/นักศึกษาแพทย์มีความรู้และทักษะโดย

  • สามารถอธิบายปัจจัยเชิงสังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • มีโอกาสซักประวัติมารดา การให้อาหารทารกและประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหอผู้ป่วยหรือทางคลินิก
  • ตระหนักถึงคุณค่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และน้ำนมแม่ และความเสี่ยงของการได้รับนมแม่โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
  • ได้รับการฝึกอบรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทางคลินิก

? ? ? ? ? ? การฝึกอบรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทางคลินิก ที่ควรมีการจัดการเรียนการสอน ได้แก่

  • ค้นหาปัจจัยให้พ่อแม่ตัดสินใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติและการตรวจเต้านม
  • เข้าใจผลกระทบการเจ็บครรภ์และวิธีการคลอด
  • บอกผลกระทบของหัตถการและการให้ยาแก่มารดาระหว่างการคลอดและทันทีหลังคลอดต่อการสร้างและหลั่งน้ำนม
  • กระตุ้นช่วยเหลือการให้นมแม่ทันทีหลังคลอด
  • สังเกตการเอาลูกเข้าเต้าอย่างถูกต้องและการดูดนมแม่จากเต้าอย่างมีประสิทธิภาพ
  • อธิบายวิธีการช่วยเหลือให้แม่ยังคงมีน้ำนมเพียง พอแม้ว่าแม่ลูกต้องแยกจากกัน
  • ให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับคู่แม่ลูก เกี่ยวกับการให้ยามารดา การวางแผนครอบครัว
  • อธิบายสาเหตุของปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่พบบ่อย
  • อธิบายแนวปฏิบัติการให้อาหารตามวัยที่ถูกต้องและเหมาะสม

? ? ? ? ? ? ? ? นอกจากนี้ นักศึกษาแพทย์ควรมีความเข้าใจถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย ได้แก่ การผ่าตัดคลอด การให้นงดัดแปลงสำหรับทารก การแจกนมตัวอย่างสำหรับทารก กฎหมายเรื่องการลาพักหลังคลอด การให้เวลาพักในระหว่างการทำงานเพื่อให้นมทารกหรือบีบเก็บน้ำนม การจัดมุมนมแม่ การให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวในโรงเรียนพ่อแม่ บันไดสิบขั้นส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่ป่วย และการบริการเชิงรุกในชุมชน ซึ่งต้องพยายามลดปัจจัยที่มีผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และส่งเสริมปัจจัยที่มีผลบวกต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำให้โอกาสที่มารดาจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จสูงขึ้น

ที่มาจาก การประชุมเรื่องความท้าทายในการเรียนการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่ความสำเร็จ ในการประชุมเครือข่ายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภาคเหนือ ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 30 พฤศจิกายน- 1 ธันวาคม 2560

 

ความท้าทายในการเรียนการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่ความสำเร็จ(1)

รศ.พญ.กุสุมา ชูศิลป์

???? วัตถุประสงค์ของการนำเสนอ

  • อธิบายเหตุผลการจัดการเรียนการสอนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับนักศึกษาแพทย์
  • อธิบายสาระการเรียนรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับนักศึกษาแพทย์
  • อธิบายแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ?โดยเมื่อพิจารณาถึงหัวข้อที่กำหนดในเกณฑ์ของแพทยสภา

  • Infancy and childhood:
    • 3.2.1 infant feeding and breast-feeding
  • Adulthood:
    • 3.4.4 lactating mother
  • Pregnancy, Childbirth, and The Puerperium:
    • (1) breast infection associated with childbirth
    • (2) disorders of breast and lactation associated with childbirth

? ? ? ? ?หากดูข้อแนะนำเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขององค์การอนามัยโลกและยูนิเซฟ จะมีข้อแนะนำตาม 162 คือ

  • 1 Hour = early initiation of breastfeeding within 1 hour of birth;
  • 6 Months = exclusive breastfeeding for the first 6 months of life; and
  • 2 Years = introduction of nutritionally-adequate and safe complementary (solid) foods at 6 months together with continued breastfeeding up to 2 years of age or beyond.

? ? ? ? ? ? การที่จะดำเนินการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ประสบผลสำเร็จนั้น พื้นฐานการจัดการบริการที่เหมาะสมและเป็นแบบอย่างที่ดีมีความสำคัญ ซึ่งการจัดบริการที่ควรดำเนินการให้เกิดในสถานบริการที่มีการจัดการเรียนการสอน คือ การจัดบริการตามโครงการสายสัมพันธ์แม่ลูก หรือเกณฑ์ส่วนหนึ่งของโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว หรือในปัจจุบันจะอยู่ในเกณฑ์อนามัยแม่และเด็ก ซึ่งควรมีการบูรณาการเกณฑ์เข้ากับระบบงานประจำ โดยในระยะฝากครรภ์เน้นสร้างความมั่นใจให้แก่มารดาว่า มารดาทุกคนสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ แม้มีเต้านมหรือหัวนมที่มีความแตกต่างกัน มีการอธิบายถึงความสำคัญและความจำเป็นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ที่ห้องคลอดพยายามจัดให้การคลอดใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด หลีกเลี่ยงการผ่าตัดคลอดที่ไม่จำเป็น และเน้นการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังการคลอด ส่งเสริมให้มีการโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อนาน 1 ชั่วโมงเพื่อให้ทารกได้คลืบคลานเข้าหาเต้านมและดูดนมด้วยตนเอง ที่หอผู้ป่วยหลังคลอด ส่งเสริมให้มารดาและทารกอยู่ด้วยกันตลอด 24 ชั่วโมง มีการประเมินการให้ทารกกินนมแม่ และสอนการบีบเก็บน้ำนมสำหรับช่วยเหลือในกรณีที่มารดาและทารกต้องแยกจากกัน สร้างให้มารดาเกิดความมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนการอนุญาตให้กลับบ้าน พร้อมการนัดติดตามส่งเสริมเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่คลินิกหลังคลอด คลินิกนมแม่ คลินิกเด็กสุขภาพดี หรือมีการโทรศัพท์หรือออกเยี่ยมบ้าน และส่งเสริมให้มีการส่งต่อการดูแลต่อเนื่องในชุมชน

ที่มาจาก การประชุมเรื่องความท้าทายในการเรียนการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่ความสำเร็จ ในการประชุมเครือข่ายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภาคเหนือ ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 30 พฤศจิกายน- 1 ธันวาคม 2560