รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?ในช่วงเวลาก่อนให้ลูกกินนมเล็กน้อย ร่างกายมารดาจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และฮอร์โมนตัวหนึ่งที่สำคัญที่มีผลต่ออารมณ์ของมารดา ได้แก่ โดปามีน (dopamine) จะมีระดับที่ลดลง ทำให้มารดารู้สึกเศร้า หดหู่ กระวนกระวาย ร้องไห้ โกรธ ความรู้สึกขาดความช่วยเหลือ หรือขาดความหวังได้ อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่เพียงแค่สองหรือสามนาทีแล้วหายไป อาการเหล่านี้ เกิดจากอารมณ์แปรปรวนก่อนการให้นม ในภาษาอังกฤษเรียกภาวะนี้ว่า Dysphoric Milk Ejection Reflux หรือ D-MER อาการนี้จะแตกต่างจากภาวะซึมเศร้าหลังคลอดที่มารดาจะมีอารมณ์หรืออาการซึมเศร้าต่อเนื่องเป็นเวลานานไม่เฉพาะช่วงก่อนการให้นม อาการของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดจะหายไปได้เองภายในสองสัปดาห์ แต่หากอาการซึมเศร้าของมารดาเป็นนานกว่าสองสัปดาห์ อาการนี้อาจเกิดจากภาวะซึมเศร้ารุนแรง (major depression) ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาและการดูแลเฉพาะจากจิตแพทย์
? ? ? ? ? ? ? สำหรับอาการแปรปรวนก่อนการให้นมนั้น หากมารดามีความรู้และเข้าใจถึงภาวะนี้ มารดาจะไม่วิตกกังวล การฝึกผ่อนคลาย หายใจเข้าออกลึกๆ ฟังดนตรีที่ชอบ หรือใช้กลิ่นบำบัด (aromatherapy) โดยอาจใช้เทียนหอมในกลิ่นลาเวนเดอร์ที่ช่วยให้มารดารู้สึกผ่อนคลายได้ อาการแปรปรวนก่อนการให้นมโดยทั่วไปจะดีขึ้นเองและหายเองเมื่อเวลาผ่านไปราว 2-3 เดือน ความเข้าใจและการเอาใจใส่ของครอบครัวสามารถช่วยลดปัญหาของภาวะนี้และภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ด้วย
เอกสารอ้างอิง
- Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ?เมื่อทารกเติบโตและมีพัฒนาการมากขึ้น ความสนใจสิ่งรอบข้างจะสูงขึ้น โอกาสที่จะถูกดึงดูดจากเสียง แสง สี หรือการเคลื่อนไหวในระหว่างที่ทารกดูดนมอยู่ จะเพิ่มขึ้นด้วย ทารกอาจจะหยุดกินนมและสนใจในสิ่งเร้าที่มากระตุ้น ทำให้กินนมได้ในระยะสั้น หิวบ่อย หรือทำให้มารดาวิตกว่า ทารกอาจได้รับน้ำนมไม่เพียงพอจนทำให้น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ได้ สิ่งเหล่านี้ มักพบในทารกที่มีอายุราว 4 เดือนขึ้นไป ข้อแนะนำสำหรับมารดา คือรู้และเข้าใจทารก หากมารดาต้องการให้ทารกดูดนมได้เต็มที่ ควรเลือกบรรยากาศของการให้นมในห้องที่สงบ ลดการรบกวนจากสิ่งรอบข้างหรือเสียงโทรศัพท์ โดยหลังจากให้นมเสร็จแล้วจึงให้ทารกได้มีกิจกรรมตามปกติที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ของทารก อย่างไรก็ตาม หากว่าการที่ทารกให้ความสนใจกับสิ่งรอบข้างไม่ได้ทำให้เกิดผลเสียต่อทารกจนทำให้น้ำหนักผิดปกติหรือต่ำกว่าเกณฑ์ มารดาอาจเพียงรับรู้ เข้าใจพร้อมติดตามการเจริญเติบโตของทารกโดยไม่จำเป็นต้องมีความวิตกกังวลใดๆ เลย
เอกสารอ้างอิง
1. Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd ed. The American Academy of Pediatrics 2016.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ? ?การที่ทารกนอนร่วมห้องเดียวกันและใกล้ชิดกับมารดาจะช่วยให้มารดาสังเกตอาการหิวของทารกได้ง่าย และสามารถให้นมได้ตามที่ทารกต้องการ โดยมีความสะดวกจากการที่อยู่ใกล้ๆ สำหรับการนอนร่วมเตียงเดียวกันนั้น อาจทำได้ในกรณีที่เตียงมีพื้นที่เพียงพอ ไม่นุ่มเกินไปหรือมีซอกหลีบที่ทารกจะหล่นลงไปและเกิดอันตรายได้ โดยมารดาความมีความพร้อม ไม่เหนื่อยหรืออ่อนเพลียจนเกินไป ไม่กินเหล้า เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือได้รับยาที่ทำให้ง่วงซึม เนื่องจากสิ่งที่วิตกกังวลในการนอนร่วมเตียงเดียวกันกับมารดาคือ การที่มารดาเบียดทับทารก หรือทารกตกลงในซอกหรือร่องข้างเตียง ดังนั้น หากมีความเสี่ยงดังกล่าวแล้ว การเลือกให้ทารกนอนอยู่ที่เตียงเล็กข้างๆ มารดาอาจเหมาะสมกว่า แต่ในกรณีที่ไม่มีเตียงเล็ก การจัดพื้นที่ให้เหมาะสมโดยทารกอาจนอนบนพื้น หรือมารดานอนบนพื้นใกล้กับทารกก็สามารถทำได้โดยที่ยังได้ประโยชน์จากการอยู่ใกล้ชิดกันและปราศจากความเสี่ยงที่จะเบียดทับทารกด้วย
เอกสารอ้างอิง
- Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.
??????????????? รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ในมารดาที่ตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอยู่แล้ว หากต้องการคุมกำเนิด การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ โดยโอกาสของการตั้งครรภ์ระหว่างการให้นมลูกอย่างเดียวพบร้อยละ 2 และถือเป็นวิธีการคุมกำเนิดวิธีหนึ่ง โดยในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Lactation Amenorrhea Method หรือ LAM หากมารดาเลือกการคุมกำเนิดด้วยวิธีนี้จำเป็นต้องทราบรายละเอียดของการคุมกำเนิดวิธีนี้ด้วย ซึ่งมี 3 ข้อ ดังนี้
? ? ? ? ? ? ? ?-มารดาจำเป็นต้องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว โดยให้นมอย่างสม่ำเสมอทุก 2-3 ชั่วโมง
? ? ? ? ? ? ? ?-วิธีนี้ใช้ได้เฉพาะในช่วงหกเดือนแรกหลังคลอด
? ? ? ? ? ? ? ?-มารดาต้องยังไม่มีประจำเดือนมาระหว่างการคุมกำเนิด
? ? ? ? ? ? ? หากมารดาไม่สามารถให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวได้ หรือมีประจำเดือนมาในระหว่างให้นมลูก หรือต้องการคุมกำเนิดนานกว่าหกเดือน การคุมกำเนิดเสริมด้วยวิธีอื่นๆ จะทำให้ประสิทธิภาพของการตั้งครรภ์สูงขึ้น โดยอาจใช้ถุงยางอนามัย หรือการกินยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอย่างเดียวร่วมด้วย มารดาก็ไม่จำเป็นที่จะวิตกกังวลเรื่องการตั้งครรภ์หรือมีบุตรที่จะเกิดใกล้ชิดกันอีกต่อไป และเมื่อครบระยะหลังคลอดหกเดือน การคุมกำเนิดเสริมอาจใช้เป็นการคุมกำเนิดหลักต่อไปได้
เอกสารอ้างอิง
- Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ?โดยทั่วไป หากทารกเข้าเต้าและดูดนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะทารกดูดนมจะไม่ได้ยินเสียงการดูดนมเนื่องจากปากของทารกประกบกับเต้านมได้แนบสนิท แต่จะได้ยินเสียงการกลืนนมของทารกได้ ในกรณีที่ทารกกินนมแล้วมีเสียงดังขณะดูดนม ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการเข้าเต้าที่ไม่เหมาะสม มารดาหรือบุคลากรทางการแพทย์ต้องสังเกตว่าขณะเข้าเต้า ทารกได้อ้าปากกว้าง ริมฝีปากของทารกบานออก หน้าอกของทารกอยู่ชิดลำตัวมารดา และไหล่ ลำตัวและสะโพกของทารกอยู่ในแนวเดียวกัน ซึ่งหากมีการปรับเปลี่ยนท่าการเข้าเต้าได้เหมาะสม การเกิดเสียงดังขณะทารกดูดนมจะหายไป ในกรณีที่ปรับเปลี่ยนท่าแล้ว ทารกยังเข้าเต้าได้ไม่ดี โดยไม่สามารถอมหัวนมและลานนมได้ลึกพอ ควรตรวจดูภาวะลิ้นติดในช่องปากของทารก ซึ่งหากมีภาวะลิ้นติดปานกลางถึงรุนแรงและมารดามีอาการเจ็บหัวนมร่วมด้วย อาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข แต่ในกรณีที่ทารกมีอาการคัดจมูกหรือมีการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน มารดาอาจได้ยินเสียงหายใจขัดหรือหายใจเร็วขณะที่ทารกดูดนมได้ ซึ่งการแก้ไขทำโดยอาจใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูกหรือเสมหะจากจมูก หรือใช้น้ำเกลือล้างจมูกเพื่อลดการอุดตันของน้ำมูกจะทำให้ทารกหายใจได้โล่งขึ้นและดูดนมได้ดีขึ้นด้วย
? ? ? ? ? ? นอกจากนี้ ในกรณีที่มารดามีน้ำนมไหลมากและไหลเร็วจนเกินไป อาจได้ยินเสียงทารกสำลักน้ำนม การแก้ไขอาจบีบน้ำนมออกก่อน ให้เต้านมคัดตึงน้อยลง น้ำนมจะไหลช้าลง ทารกก็จะดูดนมได้ดีขึ้นโดยไม่สำลัก ดังนั้นจะเห็นว่า การสังเกตเสียงที่ผิดปกติขณะทารกดูดนม การปรับเปลี่ยนลักษณะการเข้าเต้าให้เหมาะสม ร่วมกับการตรวจในช่องปากทารกมีความสำคัญ โดยจะช่วยให้ทารกสามารถกินนมแม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้
เอกสารอ้างอิง
- Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)