รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? อาการซึมเศร้าพบได้เมื่อมีสถานการณ์ที่ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป การคลอดเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งของสตรีที่ต้องผ่านความยากลำบากในการเจ็บครรภ์และเบ่งคลอด โดยหลังคลอด มารดามักเหนื่อยและอ่อนล้า ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่างๆ ที่ลดลงในระหว่างหลังคลอด จึงมักพบอาการซึมเศร้าได้บ่อยในมารดาหลังคลอด
? ? ? ? ? ?แพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์อาจแยกอาการซึมเศร้าที่พบหลังคลอดเป็น 4 ลักษณะตามความรุนแรงของอาการ ระยะเวลาการเกิดอาการซึมเศร้า และผู้ที่มีอาการ ได้แก่1 ,2
อารมณ์เศร้าก่อนการให้นม หรือ Dysphoric Milk Ejection Reflux (D-MER) มารดาจะมีอาการเศร้า หดหู่ กระวนกระวาย ร้องไห้ โกรธ ความรู้สึกขาดความช่วยเหลือ หรือขาดความหวังก่อนที่จะให้นมบุตร อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่เพียงแค่สองหรือสามนาทีแล้วหายไป สาเหตุของอาการซึมเศร้าเชื่อว่าเกิดจากโดปามีน (dopamine) จะมีระดับที่ลดลง
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือ Postpartum blues หรือ baby blues มารดาจะมีอาการเศร้า กระวนกระวาย ร้องไห้ ขาดสมาธิ นอนไม่หลับ อาการนี้มักพบในช่วง 2-3 วันหลังคลอด โดยอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปในสองสัปดาห์ สาเหตุเชื่อว่าเป็นจากการลดระดับของฮอร์โมนในช่วงหลังคลอด
โรคซึมเศร้าหลังคลอด หรือ Postpartum depression มารดาจะมีอาการซึมเศร้า ร้องไห้ ขาดสมาธิ นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ไม่มีแรงเลี้ยงดูทารก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ร่วมกับมารดาอาจรู้สึกผิด โทษตัวเอง รู้สึกตัวเองไม่มีคุณค่า ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจทำร้ายตัวเองและทำร้ายบุตรได้ อาการนี้เกิดได้ในช่วงหลังคลอดเช่น แต่อาการมักยาวนานและต่อเนื่องกันนานกว่าสองสัปดาห์
โรคซึมเศร้าหลังคลอดของบิดา หรือ Paternal postpartum depression เป็นอาการซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในบิดาในช่วงหลังคลอด ลักษณะจะมีอาการซึมเศร้า อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาการนี้มักพบในช่วงสามเดือนแรกหลังคลอด แต่มีรายงานว่าอาจพบได้ถึงในช่วง 1 ปีหลังคลอด เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายที่เกิดจากการเผชิญเหตุการณ์หลังคลอดร่วมกับความเสี่ยงจากบุคลิกภาพ1
เอกสารอ้างอิง
Paulson JF, Bazemore SD. Prenatal and postpartum depression in fathers and its association with maternal depression: a meta-analysis. JAMA 2010;303:1961-9.
Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd ed. The American Academy of Pediatrics 2016.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?โดยทั่วไป ขณะมารดาให้นมบุตรจะมีความกังวลเมื่อเจ็บป่วยและจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา ความวิตกกังวลของมารดาส่วนใหญ่จะกลัวผลของยาที่ผ่านน้ำนมไปสู่ลูกจนเกิดอันตราย ซึ่งมีหลักการที่บุคลากรทางการแพทย์รวมทั้งมารดาสามารถนำไปใช้ในการใช้ยาในช่วงให้นมบุตร ดังนี้
? ? ? ? ? ? ?1.ทบทวนความจำเป็น โดยพิจารณาว่า การใช้ยานั้นจำเป็นต้องใช้หรือไม่ และมีทางเลือกอื่นๆ ในการรักษาหรือไม่ โดยการปรึกษาแพทย์ รวมทั้งต้องแจ้งแพทย์ว่า ?มารดาให้นมบุตรอยู่? และขอให้แพทย์ช่วยพิจารณาในการเลือกใช้ยาตามความจำเป็น
? ? ? ? ? ? ?2.เลือกใช้ยาที่ออกฤทธิ์สั้น ไม่มีผลเสียต่อทารกหรือมีอาการข้างเคียงที่พบในทารกได้น้อย
? ? ? ? ? ? ?3.เลือกใช้ยาที่ผ่านน้ำนมน้อย ซึ่งทำให้ปริมาณที่ทารกได้รับน้อย ซึ่งจะลดโอกาสการเกิดอันตราย
? ? ? ? ? ? ?4.หากจำเป็นต้องใช้ยา ควรรับประทานยาหลังการให้นมบุตร ซึ่งการเลือกรับประทานยาในช่วงนี้จะทำให้ร่างกายของมารดาสามารถจะกำจัดยาได้ในระยะเวลาราว 2-3 ชั่วโมงก่อนจะถึงเวลาที่จะให้นมมื้อต่อไป ขนาดของยาที่มารดารับประทานที่อยู่ในกระแสเลือดจะลดลง ทำให้ปริมาณยาที่ทารกจะได้รับ ลดลงด้วย
? ? ? ? ? ?ในกรณีที่มารดามีข้อสงสัยเรื่องข้อมูลของยาและผลกระทบต่อทารกในมารดาที่ใช้ยาในระหว่างการให้นมบุตร หากต้องการศึกษาถึงรายละเอียด บุคลากรทางการแพทย์หรือมารดาอาจศึกษาจากเว็บไซด์ LactMed ซึ่งเป็นฐานของมูลที่ใช้ทางการแพทย์และมีความน่าเชื่อถือ ข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงข้อมูล (ยกเว้นค่าอินเตอร์เน็ต) อย่างไรก็ตาม อาจมีข้อจำกัดในเรื่องภาษาที่เป็นภาษาอังกฤษและการใช้ศัพท์ทางการแพทย์ซึ่งหากไม่คุ้นเคย อาจทำความเข้าใจยาก
เอกสารอ้างอิง
Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd ?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?เชื้อซิก้าไวรัสเป็นไวรัสที่มีการติดต่อผ่านพาหะคือ ยุงสายพันธุ์ Aedes aegypti ?และ Aedes albopictus ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ร้อยละ 80 ไม่มีอาการ ในกรณีที่มีอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตัว เป็นผื่นแดง ปวดข้อ และมีตาแดง สำหรับอาการที่รุนแรงพบน้อย มีรายงานการติดเชื้อซิก้าไวรัสผ่านมารดาไปยังทารกระหว่างการตั้งครรภ์โดยอาจทำให้เกิดภาวะศรีษะเล็กในทารกและเกิดการแท้งได้โดยมีการพบไวรัสซิก้าในสมองของทารกที่ติดเชื้อและทารกที่เสียชีวิตจากการแท้ง มีรายงานว่าพบเชื้อไวรัสซิก้าในน้ำนม แต่ยังไม่มีรายงานการติดเชื้อผ่านการกินนมแม่ ดังนั้น จากข้อมูลทั้งหมด ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (center for disease control) จึงยังแนะนำให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในพื้นที่ที่มีการติดเชื้อซิก้าไวรัส เนื่องจากประโยชน์ของนมแม่มีมากกว่าความเสี่ยงจากการติดเชื้อซิก้าไวรัส1
เอกสารอ้างอิง
Staples JE, Dziuban EJ, Fischer M, et al. Interim Guidelines for the Evaluation and Testing of Infants with Possible Congenital Zika Virus Infection – United States, 2016. MMWR Morb Mortal Wkly Rep 2016;65:63-7.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?โอเมก้า-3 และน้ำมันปลามีประโยชน์ในช่วงที่มารดาให้นมบุตร โดยเฉพาะในมารดาที่มีการขาดกรดไขมันเหล่านี้ ในสหรัฐอเมริกามีการสำรวจอาหารมารดาขณะตั้งครรภ์ให้นมบุตร พบว่ามีปริมาณโอเมก้า-3 น้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้นการให้เสริมจะได้ประโยชน์ อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวังเนื่องจากโอเมก้า-3 และน้ำมันปลาจะได้จากปลาทะเลซึ่งในปัจจุบันมีการปนเปื้อนสารปรอทค่อนข้างมาก การจะรับประทานจำเป็นต้องทราบว่ามีการผ่านการตรวจสอบสารปรอทแล้วหรือยัง มิฉะนั้น สารปรอทอาจเป็นพิษต่อทารก และจะเกิดโทษมากกว่าผลดีที่ได้ สำหรับแหล่งของโอเมก้า-3 และน้ำมันปลาที่มักพบสารปรอทสูง ได้แก่ ปลาทู king mackerel ปลาทูน่าครีบสีฟ้า ปลาฉลาม ปลาปากดาบ ปลา albacore และปลา tilefish
เอกสารอ้างอิง
Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd ?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?ในสมัยโบราณ มีการใช้สมุนไพรที่ช่วยเพิ่มน้ำนมหลายชนิดทั้งในและต่างประเทศ สำหรับในประเทศไทยมีการใช้หัวปลี ขิง พริกไทยอ่อน นมวัว นมนาง หรือน้ำนมราชสีห์ และพืชผักอีกหลายชนิด ในต่างประเทศมีการใช้ลูกซัด (fenugreek) ซึ่งเป็นเครื่องเทศชนิดหนึ่งที่มีใช้ในประเทศจีน อินเดีย และแถบเมดิเตอเรเนียน นอกจากนี้ยังมี blessed thistle, alfalfa, red clover น้ำข้าวบาร์เล่ย์ และราก marshmallow แต่น่าเสียดายที่ยังขาดข้อมูลหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงขนาด ปริมาณและระยะเวลาที่ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อควรระวังและอาการข้างเคียงที่ต้องติดตาม ดังนั้น มารดาที่มีน้ำนมน้อยไม่ควรหวังพึ่งพาสมุนไพรเหล่านี้เป็นหลัก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแก้ไขให้ตรงกับสาเหตุจะดีกว่า สำหรับอาหารหรือสมุนไพรเน้นการรับประทานให้หลากหลายครบทุกหมู่ เน้นผัก ผลไม้สีเขียว ข้าวโอ๊ตและธัญพืชเสริมน่าจะเหมาะสมกว่า
เอกสารอ้างอิง
Bunik M. Breastfeeding telephone triage and advice. 2nd ?ed. The American Academy of Pediatrics 2016.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)