รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ???การใช้ยาปฏิชีวนะในระหว่างการให้นมบุตรในขณะที่มารดามีเต้านมอักเสบนั้นควรเลือกใช้อย่างสมเหตุสมผล การใช้ยาปฏิชีวนะจะมีประโยชน์หากมีการติดเชื้อที่เต้านมและทำให้เต้านมอักเสบ หรือมีการอักเสบของเต้านมอยู่ก่อนและมีภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมเข้าไปด้วย เนื่องจากบางส่วนของการอักเสบของเต้านมเกิดจากการคั่งจากการขังของน้ำนมไปกดเบียดทำลายเยื่อบุผิวแล้วกระตุ้นกลไกที่ทำให้เกิดการอักเสบโดยยังไม่มีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย โดยจะเห็นได้จากผลของการศึกษาการใช้ยาปฏิชีวนะในระหว่างที่มารดาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเต้านมอักเสบที่พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันของผลการรักษาระหว่างการใช้ยาปฏิชีวนะกับไม่ใช้ แต่จะใช้การช่วยระบายน้ำนมที่คั่งหรือขังเป็นหลักแทน 1 ดังนั้น การที่แพทย์จะเลือกใช้ยาปฏิชีวนะในมารดาที่มีภาวะเต้านมอักเสบ ควรพิจารณาให้ในมารดาที่มีความเสี่ยงจะมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย โดยดูจากการมีไข้สูงนานเกิน 24 ชั่วโมง มารดามีแผลอักเสบและติดเชื้อที่หัวนม หรือในกรณีที่ให้การรักษาโดยการช่วยระบายน้ำนมออกจากเต้านมแล้วไม่ดีขึ้น ซึ่งเป็นข้อแนะนำที่ควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการเลือกใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล
เอกสารอ้างอิง
Jahanfar S, Ng CJ, Teng CL. Antibiotics for mastitis in breastfeeding women. Sao Paulo Med J 2016;134:273.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ???การที่มารดาอ้วน ในระหว่างการตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงหลายอย่าง ได้แก่ การเกิดเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ และการมีความดันโลหิตสูง ซึ่งจะนำไปสู่โอกาสที่จะได้รับการผ่าตัดคลอดสูงขึ้น การที่มารดาได้รับการผ่าตัดคลอดมักเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช้า และจากการที่เสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานมากขึ้น ระดับอินสุลินที่สูงขึ้นจะมีผลทำให้เกิดการล่าช้าของการสร้างน้ำนม ทำให้น้ำนมมาช้า อันนี้ก็อาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มารดากังวล และนำมาซึ่งการใช้นมผงดัดแปลงสำหรับทารก โดยเป็นที่ทราบกันดีว่า หากเริ่มใช้นมผงดัดแปลงสำหรับทารก จะทำให้ระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สั้นลง ดังนั้น การที่มารดามีภาวะอ้วนจึงเป็นความเสี่ยงสำหรับการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาที่เหมาะสม 1,2 ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ควรใส่ใจและเอาใจใส่ในการติดตามมารดากลุ่มนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้คำปรึกษาที่เหมาะสมที่จะช่วยลดปัญหาหรืออุปสรรคต่างๆ ในการจะสนับสนุนให้มารดาสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจนครบหกเดือนได้
เอกสารอ้างอิง
Kair LR, Colaizy TT. When Breast Milk Alone Is Not Enough: Barriers to Breastfeeding Continuation among Overweight and Obese Mothers. J Hum Lact 2016;32:250-7.
Kair LR, Colaizy TT. Obese Mothers have Lower Odds of Experiencing Pro-breastfeeding Hospital Practices than Mothers of Normal Weight: CDC Pregnancy Risk Assessment Monitoring System (PRAMS), 2004-2008. Matern Child Health J 2016;20:593-601.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ???นมผงดัดแปลงสำหรับทารกเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในสังคมตั้งแต่ยุคที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่งเทียบได้กับในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นของไทย เมื่อประเทศไทยได้มีการค้าขายกับต่างชาติมากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมต่างๆ รวมถึงค่านิยมการให้ลูกกินนมผงดัดแปลงสำหรับทารก ที่เป็นค่านิยมที่บ่งถึงฐานะของผู้ที่สามารถจะให้ลูกกินนมผงดัดแปลงสำหรับทารกได้ว่า ??เป็นผู้ที่มีอันจะกินหรือมีฐานะที่ร่ำรวย? ทั้งๆ ที่รากฐานของการผลิตนมผงดัดแปลงสำหรับทารกคือการพยายามเลียนแบบนมแม่ และโฆษณาว่ามีการใส่สารต่างๆ ที่มีอยู่ในนมแม่อยู่แล้วให้ผู้รับฟังข้อมูลรู้สึกว่ามีความแตกต่างกันในนมแต่ละยี่ห้อ ค่านิยมที่ผิดนี้ ทำให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลงทั่วโลก อัตราการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดสูงขึ้นจากการไม่ได้กินนมแม่ที่มีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อที่พบบ่อย ได้แก่ ท้องเสีย และการติดเชื้อทางเดินหายใจ นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาที่พบว่า เมื่อมีการใช้นมผงดัดแปลงสำหรับทารกแล้ว มารดาจะหยุดให้ลูกกินนมแม่ก่อนระยะเวลาที่เหมาะสม นั่นคือให้นมแม่ในระยะเวลาที่สั้นลง 1 ดังนั้น องค์การอนามัยโลกร่วมกับหน่วยงานหลายภาคส่วนจึงร่วมมือกันรณรงค์ส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ร่วมกันการปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยพยายามให้ความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องการใช้นมผงดัดแปลงสำหรับทารก ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการร่วมแบ่งปันข้อมูลให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่กว้างขวาง และสร้างวัฒนธรรมค่านิยมที่ดีในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แทน
เอกสารอ้างอิง
Kearns AD, Castro MC, Lourenco BH, Augusto RA, Cardoso MA, Team AS. Factors Associated with Age at Breastfeeding Cessation in Amazonian Infants: Applying a Proximal-Distal Framework. Matern Child Health J 2016;20:1539-48.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ???ระหว่างการฝากครรภ์ การให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความจำเป็น แต่เนื่องจากบทบาทของแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์มีหลายหน้าที่ กระบวนการให้ความรู้แก่มารดาจึงอาจได้รับการปรับเปลี่ยนจากการให้คำปรึกษารายบุคคลเป็นการให้คำปรึกษารายกลุ่ม และรวมถึงการให้ความรู้ในรูปแบบวิดีโอ ซึ่งจะใช้แรงงานของบุคลากรที่น้อยกว่าและสามารถที่จะให้ข้อมูลได้อย่างครบถ้วนตามหัวข้อที่กำหนด อย่างไรก็ตาม ความน่าสนใจหรือการเอาใจใส่ของมารดาอาจมีน้อยกว่าการให้คำปรึกษาที่มีการเผชิญหน้ากันและสามารถสอบถามโต้ตอบกันได้ โดยมี การศึกษาที่ให้ข้อมูลความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วยสื่อวิดีโอในระยะก่อนคลอดแก่มารดา แล้วติดตามผลต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขณะที่มารดาอยู่ที่โรงพยาบาล พบว่า การให้ความรู้ด้วยสื่อวิดีโอนั้น ไม่ได้เพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 1 ดังนั้น แม้ความคิดเรื่องการใช้สื่อต่างๆ มาช่วยในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีความน่าสนใจ แต่การที่จะทำให้สามารถที่จะมีผลต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจต้องมีการเสริมการพูดคุย ร่วมกับการให้คำปรึกษาเพิ่มเติมในมารดาบางรายที่มีความเสี่ยงในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาที่เหมาะสม ซึ่งอาจจะช่วยเพิ่มอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
เอกสารอ้างอิง
Kellams AL, Gurka KK, Hornsby PP, et al. The Impact of a Prenatal Education Video on Rates of Breastfeeding Initiation and Exclusivity during the Newborn Hospital Stay in a Low-income Population. J Hum Lact 2016;32:152-9.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ???ในปัจจุบัน ผู้หญิงมีบทบาทในสังคมมากขึ้น รวมทั้งทำหน้าที่ในการทำงานเพื่อหารายได้ให้แก่ครอบครัว การแต่งงานจึงเกิดขึ้นช้ากว่าในสมัยก่อน และการตั้งครรภ์แรกจึงเกิดเมื่อสตรีมีอายุมาก เป็นที่ทราบกันดีว่า การตั้งครรภ์ท้องแรกนั้นมารดายังไม่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จึงถือเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่ง เช่นเดียวกันกับการตั้งครรภ์เมื่อมารดาอายุมาก ความเสี่ยงต่างๆ ในระหว่างการตั้งครรภ์ก็สูงขึ้น โอกาสที่จะผ่าตัดคลอดก็สูงขึ้น และเมื่อเป็นเช่นนั้น การตั้งครรภ์ลูกคนแรกเมื่ออายุมากจึงเป็นอุปสรรคในการที่จะเริ่มต้นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยมีการศึกษามารดาท้องแรกที่มีอายุมากกว่า 35 ปีเมื่อเทียบกับมารดาท้องหลังที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี พบว่า มีเริ่มต้นเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้น้อยกว่าถึงเกือบ 6 เท่า (Odd ratio 5.9, 95%CI 3.0-11.9) 1 ก่อนมารดาได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน ดังนั้น การให้การเอาใจใส่ต่อมารดากลุ่มนี้จึงมีความจำเป็นที่บุคลากรทางการแพทย์ต้องให้ความสนใจมากขึ้น
เอกสารอ้างอิง
Kitano N, Nomura K, Kido M, et al. Combined effects of maternal age and parity on successful initiation of exclusive breastfeeding. Prev Med Rep 2016;3:121-6.
เรื่องนำทาง
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)