มารดาที่อ้วนจะมีโอกาสที่จะหยุดการให้นมแม่เร็วมากกว่า

S__38208114

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ???การที่มารดาอ้วน ในระหว่างการตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงหลายอย่าง ได้แก่ การเกิดเบาหวานระหว่างการตั้งครรภ์ และการมีความดันโลหิตสูง ซึ่งจะนำไปสู่โอกาสที่จะได้รับการผ่าตัดคลอดสูงขึ้น การที่มารดาได้รับการผ่าตัดคลอดมักเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช้า และจากการที่เสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานมากขึ้น ระดับอินสุลินที่สูงขึ้นจะมีผลทำให้เกิดการล่าช้าของการสร้างน้ำนม ทำให้น้ำนมมาช้า อันนี้ก็อาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มารดากังวล และนำมาซึ่งการใช้นมผงดัดแปลงสำหรับทารก โดยเป็นที่ทราบกันดีว่า หากเริ่มใช้นมผงดัดแปลงสำหรับทารก จะทำให้ระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สั้นลง ดังนั้น การที่มารดามีภาวะอ้วนจึงเป็นความเสี่ยงสำหรับการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาที่เหมาะสม1,2 ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ควรใส่ใจและเอาใจใส่ในการติดตามมารดากลุ่มนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้คำปรึกษาที่เหมาะสมที่จะช่วยลดปัญหาหรืออุปสรรคต่างๆ ในการจะสนับสนุนให้มารดาสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจนครบหกเดือนได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Kair LR, Colaizy TT. When Breast Milk Alone Is Not Enough: Barriers to Breastfeeding Continuation among Overweight and Obese Mothers. J Hum Lact 2016;32:250-7.
  2. Kair LR, Colaizy TT. Obese Mothers have Lower Odds of Experiencing Pro-breastfeeding Hospital Practices than Mothers of Normal Weight: CDC Pregnancy Risk Assessment Monitoring System (PRAMS), 2004-2008. Matern Child Health J 2016;20:593-601.