คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การเริ่มการให้นมแม่ตั้งแต่ในระยะแรกในมารดาที่มีภาวะอ้วนกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว

รูปภาพ25

 

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?การเริ่มให้นมแม่ การเริ่มให้นมแม่ตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดจะช่วยกระตุ้นฮอร์โมนโปรแลคตินที่มีผลต่อการสร้างน้ำนมได้ดี และยังกระตุ้นออกซิโตซินที่จะช่วยในการหลั่งของน้ำนม การหดรัดตัวของมดลูกซึ่งลดการเสียเลือดหลังคลอด หากมีการเริ่มให้นมลูกช้ากว่า 6 ชั่วโมงแรกหลังคลอดจะมีผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่(1) ดังนั้นการกระตุ้นให้มีการเริ่มให้นมแม่ตั้งแต่ระยะแรกจะช่วยให้น้ำนมมาเร็ว
? ? ? ? ? ? ? ?สำหรับมารดาที่มีดัชนีมวลกายก่อนการตั้งครรภ์สูงมีผลลบต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่(2) และในมารดาที่ดัชนีมวลกายต่ำกว่าเกณฑ์หรืออยู่ในเกณฑ์อ้วนยังมีอัตราการเริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำกว่าในมารดาที่มีดัชนีมวลกายปกติ(3) ในมารดาที่มีภาวะอ้วนหรือมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากระหว่างการตั้งครรภ์ที่มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่ำกว่า อาจเนื่องจากส่วนหนึ่งมารดาเหล่านี้จะมีความเสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอด ภาวะแทรกซ้อนระหว่างคลอดและการติดเชื้อหลังคลอดสูงกว่าด้วย(4-6) ซึ่งการมีการผ่าตัดคลอดมารดาจะเริ่มให้นมลูกได้ช้ากว่า หรือมีการเคลื่อนไหวหลังคลอดได้น้อยกว่าเนื่องจากในระหว่างการผ่าตัดคลอดมักได้รับยาระงับความรู้สึกเข้าไขสันหลัง นอกจากนี้ในมารดาที่มีภาวะอ้วนมีความเสี่ยงที่จะเกิดการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวสูงกว่า(7-9) โดยมีความเสี่ยงมากกว่ามารดาน้ำหนักปกติถึง 1.38 เท่า [adjusted Odds ratio เท่ากับ 1.38 (95%CI 1.10-1.73](10) และมีการเริ่มต้นในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ต่ำกว่า(11) ร่วมกับมีการสร้างน้ำนมช้ากว่า(12,13) จึงส่งผลต่อระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่สั้นกว่า(14-16) ดังนั้นหากบุคลากรทางการแพทย์ช่วยเหลือมารดาให้เริ่มให้นมลูกได้เร็วตั้งแต่ในระยะแรก อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่มีภาวะอ้วน น่าจะดีขึ้น

เอกสารอ้างอิง
1. Chaves RG, Lamounier JA, Cesar CC. Factors associated with duration of breastfeeding. J Pediatr (Rio J) 2007;83:241-6.
2. Zhu P, Hao J, Jiang X, Huang K, Tao F. New Insight into Onset of Lactation: Mediating the Negative Effect of Multiple Perinatal Biopsychosocial Stress on Breastfeeding Duration. Breastfeed Med 2012.
3. Thompson LA, Zhang S, Black E, et al. The Association of Maternal Pre-pregnancy Body Mass Index with Breastfeeding Initiation. Matern Child Health J 2012.
4. Al-Kubaisy W, Al-Rubaey M, Al-Naggar RA, Karim B, Mohd Noor NA. Maternal obesity and its relation with the cesarean section: a hospital based cross sectional study in Iraq. BMC Pregnancy Childbirth 2014;14:235.
5. Graham LE, Brunner Huber LR, Thompson ME, Ersek JL. Does amount of weight gain during pregnancy modify the association between obesity and cesarean section delivery? Birth 2014;41:93-9.
6. Leth RA, Uldbjerg N, Norgaard M, Moller JK, Thomsen RW. Obesity, diabetes, and the risk of infections diagnosed in hospital and post-discharge infections after cesarean section: a prospective cohort study. Acta Obstet Gynecol Scand 2011;90:501-9.
7. Hauff LE, Leonard SA, Rasmussen KM. Associations of maternal obesity and psychosocial factors with breastfeeding intention, initiation, and duration. Am J Clin Nutr 2014;99:524-34.
8. Kronborg H, Vaeth M, Rasmussen KM. Obesity and early cessation of breastfeeding in Denmark. Eur J Public Health 2013;23:316-22.
9. Donath SM, Amir LH. Does maternal obesity adversely affect breastfeeding initiation and duration? J Paediatr Child Health 2000;36:482-6.
10. Donath SM, Amir LH. Maternal obesity and initiation and duration of breastfeeding: data from the longitudinal study of Australian children. Matern Child Nutr 2008;4:163-70.
11. Mehta UJ, Siega-Riz AM, Herring AH, Adair LS, Bentley ME. Maternal obesity, psychological factors, and breastfeeding initiation. Breastfeed Med 2011;6:369-76.
12. Amir LH, Donath S. A systematic review of maternal obesity and breastfeeding intention, initiation and duration. BMC Pregnancy Childbirth 2007;7:9.
13. Nommsen-Rivers LA, Chantry CJ, Peerson JM, Cohen RJ, Dewey KG. Delayed onset of lactogenesis among first-time mothers is related to maternal obesity and factors associated with ineffective breastfeeding. Am J Clin Nutr 2010;92:574-84.
14. Oddy WH, Li J, Landsborough L, Kendall GE, Henderson S, Downie J. The association of maternal overweight and obesity with breastfeeding duration. J Pediatr 2006;149:185-91.
15. Kitsantas P, Pawloski LR. Maternal obesity, health status during pregnancy, and breastfeeding initiation and duration. J Matern Fetal Neonatal Med 2010;23:135-41.
16. Kugyelka JG, Rasmussen KM, Frongillo EA. Maternal obesity is negatively associated with breastfeeding success among Hispanic but not Black women. J Nutr 2004;134:1746-53.

 

มารดากลับไปทำงาน อุปสรรคที่ยิ่งใหญ่สำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

 

bf53

รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การกลับไปทำงานของมารดา พบเป็นปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่1 แม้ในองค์การอนามัยโลกที่ดูแลในเรื่องสุขภาพ พนักงานสตรีร้อยละ 44 หยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เนื่องจากการกลับไปทำงาน2 การแก้ไขปัญหาในส่วนนี้จำเป็นต้องมีความร่วมมือของหลายภาคส่วน ได้แก่ ภาคการเมืองหรือภาครัฐ ควรมีการขับเคลื่อนผลักดันให้มี ?การลาพักหลังคลอดหรือการลาเพื่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่? ให้ได้หกเดือนหรือนานขึ้นโดยมารดายังคงได้รับค่าจ้างแรงงาน (อาจจะให้เต็มจำนวนหรือลดลงเป็นสัดส่วนตามระยะเวลา) ซึ่งกฎหมายควรมีการบังคับใช้ได้อย่างจริงจัง ภาคเอกชนควรเห็นประโยชน์ของการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในองค์กร เพื่อช่วยให้บุตรของพนักงานมีความสมบูรณ์และแข็งแรง ลดความวิตกกังวลของพนักงานและการลาพักเพื่อดูแลทารกที่ป่วย เพิ่มกำลังใจ ความจงรักภักดีและการรับรู้ว่าองค์กรให้ความสำคัญกับพนักงานและครอบครัว ซึ่งจะช่วยให้พนักงานมีความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อองค์การดีขึ้น ภาคส่วนของสังคม ควรมีค่านิยมสำหรับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ว่าเป็นสิ่งปกติ และเป็นอาหารทางเลือกแรกที่ดีที่สุดและเหมาะสมสำหรับลูก ซึ่งต้องมีการเผยแพร่เพิ่มเติมถึงประโยชน์ในการให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวในหกเดือนแรก และให้ได้ต่อเนื่องพร้อมอาหารเสริมตามวัยไปจนถึงสองปีหรือนานกว่านั้น ซึ่งการจะสื่อให้ทั่วถึงมารดาและครอบครัวจำเป็นต้องใช้สื่อที่หลากหลายเหมาะสมกับจริตของมารดาและครอบครัวที่เข้าถึงได้ เช่น โทรทัศน์ สื่ออินเตอร์เน็ต และสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ เพื่อสร้างการรับรู้และก่อให้เกิดกระแสทางสังคมที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Manolerdthewan W, Raungrongmorakot K, Ketsuwan S, Wongin S. Factor effecting on breastfeeding success in infants up to 6 month of age in Nakhon Nayok province. J Med Health Sci 2009;16:116-23.
  2. Iellamo A, Sobel H, Engelhardt K. Working mothers of the World Health Organization Western Pacific offices: lessons and experiences to protect, promote, and support breastfeeding. J Hum Lact 2015;31:36-9.

 

 

ความสำคัญของระยะเวลาการให้การวินิจฉัยและรักษาภาวะลิ้นติด

bf17

รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ภาวะลิ้นติดเป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให้เกิดความยากลำบากในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทารกที่มีลิ้นติดขณะที่อ้าปากอมหัวนมและลานนม จะมีการจำกัดการเคลื่อนที่ของลิ้นที่จะเคลื่อนไปด้านหน้า ทำให้การช่วยกดและทำให้น้ำนมไหลเข้าปากทารกผิดปกติ กลไกการดูดนมเกิดได้ไม่ดี ซึ่งจะส่งเสริมให้ทารกออกแรงดูดและกดบีบเต้านมมากขึ้น เป็นผลให้มารดาเจ็บเต้านม? ปัญหานี้หากได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรกคลอด ซึ่งพบว่า ทารกที่มีภาวะลิ้นติดปานกลางถึงรุนแรง (จากเกณฑ์การวินิจฉัยของ Kotlow) มักมีความเสี่ยงในการเข้าเต้าและดูดนมมากขึ้น1 การให้การรักษาโดยการผ่าตัด frenotomy ซึ่งทำได้ง่าย สามารถทำได้ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก โดยไม่จำเป็นต้องใช้การดมยาสลบทารก จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ แต่หากมีการวินิจฉัยและรักษาที่ล่าช้าเกิน 4 สัปดาห์หลังคลอด มักจะสัมพันธ์กับการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปแล้ว2 การให้ความสำคัญในการตรวจช่องปากทารกดูปัญหาภาวะลิ้นติดของทารกตั้งแต่ระยะแรกหลังคลอดจึงควรทำเป็นประจำ หากไม่สามารถทำให้รักษาในสถานพยาบาลที่ตรวจวินิจฉัยได้ การส่งต่อไปสถานพยาบาลตติยภูมิที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนี้ ควรทำโดยรวดเร็ว

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.
  2. Donati-Bourne J, Batool Z, Hendrickse C, Bowley D. Tongue-tie assessment and division: a time-critical intervention to optimise breastfeeding. J Neonatal Surg 2015;4:3.

 

การตั้งครรภ์โดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์มีความเสี่ยงสูงในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

BUSIN198

รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในสตรีที่ตั้งครรภ์โดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ส่วนใหญ่สตรีจะมีความผิดปกติของการตกไข่หรือการยากลำยากในการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิ และในกระบวนการช่วยเหลือมักมีการกระตุ้นไข่ เก็บไข่ ฉีดน้ำอสุจิ หรือการช่วยปฏิสนธิในหลอดทดลอง และใส่เซลสืบพันธุ์หรือตัวอ่อนเข้าไปที่ท่อนำไข่หรือในโพรงมดลูก ในขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ มักสร้างความวิตกกังวลหรือความเครียดให้กับมารดาและครอบครัวได้ นอกจากนี้ในมารดาเหล่านี้ยังมีโอกาสที่จะพบโรคประจำตัวที่มีร่วมกับการมีบุตรยาก และมารดามักมีอายุที่มาก ทำให้มีความเสี่ยงที่จะคลอดโดยการผ่าตัดคลอดสูงกว่า ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาที่พบว่ามารดาที่ตั้งครรภ์มีความเสี่ยงในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรกสูงกว่ามารดาที่มีการตั้งครรภ์เองถึง 65.3 เท่า (95% confidence interval: 1.5-2889.3)1 ดังนั้น หากบุคลากรต้องดูแลมารดาที่ตั้งครรภ์โดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ นอกจากต้องระมัดระวังในความเสี่ยงจากการมีโรคประจำตัวต่างๆ แล้ว ยังต้องเอาใจใส่ดูแลและติดตามเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างใกล้ชิด โดยควรมีการนัดติดตามในสัปดาห์แรกเพื่อช่วยแก้ปัญหาที่พบบ่อย ลดความวิตกกังวลและสร้างความมั่นใจซึ่งจะเป็นปัจจัยเสริมที่ช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Cromi A, Serati M, Candeloro I, et al. Assisted reproductive technology and breastfeeding outcomes: a case-control study. Fertil Steril 2015;103:89-94.

 

 

ความอ้วนของมารดากับความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

bf23

รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? มีการศึกษาถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาที่อ้วนที่คลอดบุตรที่มีน้ำหนักมาก พบว่า ในมารดากลุ่มนี้จะมีการเริ่มต้นและความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้อยกว่ากลุ่มมารดาที่มีน้ำหนักปกติ1 ซึ่งเหตุผลในการที่มีการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่น้อยกว่ามารดากลุ่มที่มีน้ำหนักปกติน่าจะเกิดจากมารดาที่อ้วนและคลอดบุตรที่มีน้ำหนักมากจะมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคลอดและหลังคลอดได้มากกว่ากลุ่มมารดาและทารกที่มีน้ำหนักปกติ โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบได้แก่ การคลอดยาก การคลอดที่ยาวนาน การใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก การผ่าตัดคลอด การใช้หัตถการในการทำคลอด การตกเลือดหลังคลอด ทารกติดไหล่ ทารกเกิดภาวะขาดออกซิเจนระหว่างการคลอด และทารกมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำ ทำให้มารดาหรือทารกอ่อนเพลีย บาดเจ็บ เสียเลือดหรืออยู่ในภาวะที่ไม่มีความพร้อมจะเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อไม่มีความพร้อมความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงน้อยกว่าด้วย สิ่งนี้สื่อให้เห็นว่า ในการเตรียมตัวสำหรับการมีบุตรและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หากมารดาได้มีการวางแผน ควบคุมน้ำหนักให้ดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ นอกจากจะทำให้โอกาสมีการตั้งครรภ์สูงขึ้นแล้ว ผลของการตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะดีกว่า ซึ่งจะทำให้ได้ทารกที่มีคุณภาพที่จะสร้างสรรค์สังคมที่ดีต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. Cordero L, Oza-Frank R, Landon MB, Nankervis CA. Breastfeeding Initiation Among Macrosomic Infants Born to Obese Nondiabetic Mothers. Breastfeed Med 2015;10:239-45.