คลังเก็บหมวดหมู่: การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

การตั้งครรภ์และการคลอด ความเสี่ยงสูงที่ต้องใส่ใจ

หลักการเป็นที่ปรึกษาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ฉบับย่อ)

IMG_0301-1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? เมื่อได้ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แล้ว บุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ที่มีจิตอาสาที่จะทำทางด้านนี้ ควรเริ่มต้นด้วยความใส่ใจและเสริมสร้างความรู้ให้กับตนเองโดยศึกษาความรู้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยเมื่อจะเป็นที่ปรึกษา อาจใช้ฉบับย่อ ?หลัก 3 ส.? ได้แก่ สังเกต สำรวจ ส่งเสริมสนับสนุน

? ? ? ? ? ? ? สังเกต ผู้ที่ให้คำปรึกษา ควรจะสังเกต เก็บข้อมูลของมารดาและครอบครัว เพื่อทำความเข้าใจกับสภาพ สิ่งแวดล้อม และข้อจำกัดของแต่ละครอบครัว ซึ่งจะได้ข้อมูลที่ใช้ในการให้คำปรึกษาได้เหมาะสม

? ? ? ? ? ? ? สำรวจ ผู้ที่ให้คำปรึกษา เมื่อได้ข้อมูลจากการสังเกตมาแล้ว ต้องสำรวจตรวจสอบว่า อะไรเป็นอาการที่พบหรือแสดงออก และอะไรเป็นปัญหา ซึ่งจะทำให้การแก้ปัญหาทำได้ตรงจุดและถูกต้อง เช่น มารดาเจ็บหัวนมขณะให้ลูกดูดนม อาการเจ็บหัวนมเป็นอาการที่พบ แต่ปัญหาอาจเกิดจากการเข้าเต้าที่ไม่เหมาะสม หรืออาจเกิดจากทารกมีภาวะลิ้นติด ดังนั้น อาการที่พบ อาจจะไม่ใช่สาเหตุของปัญหา

? ? ? ? ? ? ส่งเสริมสนับสนุน ผู้ที่ให้คำปรึกษา ควรส่งเสริมการวางแผนการแก้ปัญหาร่วมกับมารดาและครอบครัว เนื่องจากธรรมชาติของแต่ละครอบครัวมีความแตกต่างกัน มารดาและครอบครัวจะเลือกทางเลือกที่เหมาะสมกับตนเองเมื่อได้รับข้อมูลที่เพียงพอและเหมาะสมแล้ว จากนั้น ควรให้การสนับสนุนโดยเป็นแรงคิดและแรงใจในการดูแลพร้อมติดตาม ชื่นชมความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ซึ่งหากผู้ที่มีความตั้งใจที่จะช่วยเหลือมารดาให้สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นำหลักการเป็นที่ปรึกษาฉบับย่อนี้ไปใช้แล้ว ก็น่าจะช่วยให้เด็กไทยได้กินนมแม่มากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

 

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ธรรมชาติหรือสัญชาตญาณ

125663

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? สัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีน้ำนมและมีสัญชาตญาณในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยธรรมชาติ ในยุคโบราณกาลการให้นมลูก มนุษย์จะสามารถให้นมลูกได้เองโดยมีสัญชาตญาณความเป็นแม่ที่จะช่วยให้ต้องสามารถให้นมลูกได้ หากให้ไม่ได้ ทารกจะขาดอาหารและเสียชีวิต แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนแปลงไป สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมได้รบกวนสัญชาตญาณความเป็นแม่ที่ธรรมชาติต้องให้นมลูก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงต้องมีการเรียนรู้ ผ่านการสังเกต ช่วยเหลือหรือได้รับคำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์มาก่อน ซึ่งการเรียนรู้นั้น ผ่านคนในครอบครัวหรือเพื่อนบ้านที่สังคมยังมีความใกล้ชิด ช่วยเหลือจุนเจือกัน ความรู้และทักษะการให้นมลูกจึงถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่งได้

? ? ? ? ? ? ?แต่เมื่อราว 200 ปีที่ผ่านมา เมื่อมีการพัฒนานมผสม การถ่ายทอดทักษะเหล่านี้ค่อยๆ หายไป ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เป็นสังคมครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น การให้นมลูกในปัจจุบัน แม้จะเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่มารดาและครอบครัวจำเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝนทักษะ โดยอาศัยบุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ช่วย ซึ่งหากมารดาให้นมลูกได้ สัญชาตญาณความเป็นแม่กลับมามากขึ้น ความเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่เป็นสิ่งมีชีวิตที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็จะกลับมาด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.

การแก้ไขปัญหาพัฒนาการของเด็กไทยด้วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

32

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ?ปัญหาเรื้อรังของพัฒนาการเด็กไทย คือ พัฒนาการที่ต่ำกว่ามาตรฐาน โดยจากการสำรวจในปี พ.ศ. 2553 เด็กไทยมีพัฒนาการต่ำกว่ามาตรฐานร้อยละ 30 ในปี พ.ศ. 2554 เด็กไทยมีระดับสติปัญญาที่ 98.5 และความฉลาดทางอารมณ์ที่ 45 ในปี พ.ศ. 2556 มีเด็กไทยร้อยละ 10-15 ที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ และคิดไม่เป็น และในปี พ.ศ. 2557 เด็กไทย 0-5 ปี มีพัฒนาการล่าช้าร้อยละ 27 และที่พัฒนาการช้าที่สุดคือ พัฒนาการทางด้านภาษา

? ? ? ? ? ? ? ?การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยควบคู่กับการลดความเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมอื่นๆ จึงเป็นทางออกในการทำงานแบบเชิงรุก เพื่อให้เด็กปฐมวัยได้รับโอกาสที่จะมีชีวิตรอด เติบโต มีระดับสติปัญญาที่ดี มีความเฉลียวฉลาดและพัฒนาการสมวัย เนื่องจากนมแม่ดีต่อการพัฒนาสมอง เพราะมีสารอาหารที่เป็นปัจจัยชีวภาพ (nerve growth factor) ที่ส่งผลต่อการเติบโตของระบบประสาท การดูดนมมีผลต่อการหลั่งฮอร์โมนออกซิโตซิน (oxytocin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความรักที่จะมีผลต่อแม่กับลูก ในด้านสรีระ พฤติกรรม ความรัก และความผูกพัน ร่วมกับการได้มีสัมผัส สบตา ปฏิสัมพันธ์กันระหว่างแม่กับลูก จะทำให้ลูกเกิดการเรียนรู้ในเรื่องของประสาทสัมผัส ดังนั้น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงน่าจะเป็นตอบที่สำคัญของการแก้ปัญหาที่เรื้อรังของพัฒนาการของเด็กไทย

? ? ? ?นอกจากนี้ การให้นมแม่ยังสร้างความสุขทั้งมารดาและทารกซึ่งมีผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ โดยมีการศึกษาพบว่า การให้นมแม่จะช่วยสร้างความผูกพัน (attachment) ระหว่างมารดาและทารก และพบว่า มารดาที่ให้นมลูกจะมีการรับรู้ที่ไวต่อสภาวะทางอารมณ์ของลูก นอกจากนี้ ทารกที่กินนมแม่จะมีพฤติกรรมซึมเศร้าหรือก้าวร้าวลดลง และมีสุขภาพจิตดีตลอดวัยเด็กจนถึงวัยรุ่น

ความรู้พื้นฐานที่ควรทราบ

? ? ? ? ?พันธุกรรม เป็นตัวกำหนดสติปัญญาเบื้องต้น และมีปัจจัยที่นอกเหนือจากพันธุกรรม (epigenetic) จะมีส่วนส่งเสริมได้แก่ อาหารและสิ่งแวดล้อม ที่เป็นตัวกำหนดสติปัญญาเช่นกัน ในช่วงขวบปีแรกจะมีการสร้างจุดเชื่อมต่อเซลล์สมอง (synapse) 700 จุดต่อนาที ดังนั้นต้องได้รับอาหารที่ดี เพื่อให้สามารถสร้างและคงจุดเชื่อมต่อเซลล์สมองที่เชื่อมต่อกันแล้ว ซึ่งการที่สมองจุดเชื่อมต่อกันมากส่งผลต่อการรับรู้ของบุคคลนั้น

? ? ? ? ? คำศัพท์ที่ควรรู้ความหมาย ได้แก่

? ? ? ? ?ความฉลาดหรือระดับสติปัญญา (IQ) คือ การวัดความสามารถการแก้ไขปัญหาบางอย่าง โดยจะใช้ อายุสมอง/อายุตามวันเดือนปีเกิด) X 100 ซึ่งระดับสติปัญญาของเด็กไทยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 90

? ? ? ? ?ความฉลาดทางอารมณ์หรือ EQ คือ ความสามารถในการเข้าใจอารมณ์ของตนเองจัดการกับอารมณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ สามารถตัดสินใจได้ดี มีความอดทน อดกลั้นจากภาวะกดดัน

? ? ? ? ?ความเฉลียวฉลาด (executive function) เป็นหน้าที่ของสมองส่วนหน้า จะบ่งชี้ความสามารถในการจัดการหรือแก้ไขปัญหา ซึ่งทักษะเหล่านี้จะเริ่มเกิดในช่วง 9 เดือนและพัฒนาต่อเนื่องอย่างมากในช่วง 3-6 ปี

เอกสารอ้างอิง

การบรรยาย Breastfeeding and EQ &IQ ของ ศ.พญ.นิตยา คชภักดี, รัตโนทัย พลับรู้การ, รศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 5 วันที่ 4 กันยายน 58

 

 

ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

10

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น มีปัจจัยที่สำคัญหลักคือ การปฏิบัติตามบันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งเน้นการเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ดี ได้แก่ การเริ่มให้ลูกดูดนมแม่ในชั่วโมงแรกหลังเกิด การให้ทารกได้สัมผัสเนื้อแนบเนื้อกับมารดา ประเมินเต้านม ประเมินช่องปากทารกและภาวะลิ้นติด การเข้าเต้า การจัดท่าให้นมที่เหมาะสม จากนั้นประเมินการให้นมของมารดาก่อนกลับบ้าน รวมทั้งวางแผนเตรียมความพร้อมของมารดาเมื่อกลับบ้าน สอนทักษะที่จำเป็น คือ การบีบเก็บน้ำนมด้วยมือ หรือบางรายอาจจำเป็นต้องสอนการป้อนน้ำนมด้วยถ้วย และต้องมีการนัดติดตามเพื่อประเมินผลด้วยเสมอ

??????????? จะเห็นว่า ?บุคลากรที่ทำหน้าที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะเป็นเสมือนผู้ประสานเชื่อมโยง ความสามารถของแม่ให้การตอบสนองความต้องการของลูกได้อย่างเหมาะสม?

เอกสารอ้างอิง

การบรรยาย Key skills for successful breastfeeding ของ รศ.พญ.กุสุมา ชูศิลป์, ผศ.ฉันทิกา จันทร์เปีย, ชญาดา สามารถ, พรปวีณ์ พูนสวัสดิ์ ในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 5 วันที่ 3 กันยายน 58

 

การเรียกนมแม่กลับคืน

S__38208264

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?สิ่งมีชีวิตที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีระยะเวลาการเลี้ยงลูกนานเท่าใด มีการศึกษาหลากหลาย ซึ่งระยะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจดูจาก ระยะเวลาที่น้ำหนักตัวของลูกของสิ่งมีชีวิตแรกเกิดมีน้ำหนักเท่ากับ 4 เท่า หรือระยะเวลาเท่ากับ 6 เท่าของระยะเวลาของการตั้งครรภ์ หรือระยะเวลาที่ลูกของสิ่งมีชีวิตมีฟันแท้ขึ้น ซึ่งล้วนแล้วแต่ประมาณ 2 ปีหรือนานกว่านั้น

??????????? อย่างที่ทราบกันดีแล้วว่า นมแม่มีประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะในลดความเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บ ในกรณีที่มีการหยุดให้นมแม่ไปแล้ว เมื่อต้องการจะให้นมแม่ใหม่ จึงต้องมีการเรียกนมแม่กลับคืน (relactation)

? ? ? ? ? ? การเรียกนมแม่กลับคืนสามารถทำได้ แต่ต้องใช้เวลาและความตั้งใจ ยิ่งระยะเวลาที่หยุดนมแม่นาน ความสำเร็จจะลดลง ซึ่งการเริ่มต้นต้องมีการเตรียมมารดา และต้องมีแพทย์เป็นผู้ดูแลช่วยเหลือ

? ? ? ? ?ในกรณีหยุดนมแม่ยังไม่นาน การช่วยเหลือเริ่มต้นด้วย การให้ลูกกระตุ้นดูดนม/บีบหรือปั๊มนมบ่อยๆ วันละ 8-12 ครั้ง หากน้ำนมมาเน้นการดูดให้เกลี้ยงเต้า โดยทั่วไป ระยะเวลาที่น้ำนมจะเริ่มมาใช้เวลาราว 3 สัปดาห์ และน้ำนมจะเริ่มพอที่ให้นมลูกได้เมื่อครบ 1 เดือน สำหรับการใช้ยากระตุ้นน้ำนม อาจใช้ในบางรายที่กระตุ้นดูดนมบ่อย แล้วยังไม่ได้ผล

? ? ? ? ? แต่หากหยุดไปนาน การเตรียมมารดาอาจจะต้องเพิ่มการกินยาคุมกำเนิด เพื่อทำให้มารดามีฮอร์โมนสูงเสมือนมีการตั้งครรภ์ แล้วหยุดยาเพื่อให้เหมือนการคลอด จากนั้นจึงเริ่มกระตุ้นน้ำนมด้วยการให้ลูกกระตุ้นดูดนมในกระบวนการเดียวกันกับกรณีที่หยุดนมแม่ไม่นาน

เอกสารอ้างอิง

การบรรยาย Relactation ของ พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ ในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 5 วันที่ 3 กันยายน 58