การเรียกนมแม่กลับคืน

S__38208264

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?สิ่งมีชีวิตที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีระยะเวลาการเลี้ยงลูกนานเท่าใด มีการศึกษาหลากหลาย ซึ่งระยะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจดูจาก ระยะเวลาที่น้ำหนักตัวของลูกของสิ่งมีชีวิตแรกเกิดมีน้ำหนักเท่ากับ 4 เท่า หรือระยะเวลาเท่ากับ 6 เท่าของระยะเวลาของการตั้งครรภ์ หรือระยะเวลาที่ลูกของสิ่งมีชีวิตมีฟันแท้ขึ้น ซึ่งล้วนแล้วแต่ประมาณ 2 ปีหรือนานกว่านั้น

??????????? อย่างที่ทราบกันดีแล้วว่า นมแม่มีประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะในลดความเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บ ในกรณีที่มีการหยุดให้นมแม่ไปแล้ว เมื่อต้องการจะให้นมแม่ใหม่ จึงต้องมีการเรียกนมแม่กลับคืน (relactation)

? ? ? ? ? ? การเรียกนมแม่กลับคืนสามารถทำได้ แต่ต้องใช้เวลาและความตั้งใจ ยิ่งระยะเวลาที่หยุดนมแม่นาน ความสำเร็จจะลดลง ซึ่งการเริ่มต้นต้องมีการเตรียมมารดา และต้องมีแพทย์เป็นผู้ดูแลช่วยเหลือ

? ? ? ? ?ในกรณีหยุดนมแม่ยังไม่นาน การช่วยเหลือเริ่มต้นด้วย การให้ลูกกระตุ้นดูดนม/บีบหรือปั๊มนมบ่อยๆ วันละ 8-12 ครั้ง หากน้ำนมมาเน้นการดูดให้เกลี้ยงเต้า โดยทั่วไป ระยะเวลาที่น้ำนมจะเริ่มมาใช้เวลาราว 3 สัปดาห์ และน้ำนมจะเริ่มพอที่ให้นมลูกได้เมื่อครบ 1 เดือน สำหรับการใช้ยากระตุ้นน้ำนม อาจใช้ในบางรายที่กระตุ้นดูดนมบ่อย แล้วยังไม่ได้ผล

? ? ? ? ? แต่หากหยุดไปนาน การเตรียมมารดาอาจจะต้องเพิ่มการกินยาคุมกำเนิด เพื่อทำให้มารดามีฮอร์โมนสูงเสมือนมีการตั้งครรภ์ แล้วหยุดยาเพื่อให้เหมือนการคลอด จากนั้นจึงเริ่มกระตุ้นน้ำนมด้วยการให้ลูกกระตุ้นดูดนมในกระบวนการเดียวกันกับกรณีที่หยุดนมแม่ไม่นาน

เอกสารอ้างอิง

การบรรยาย Relactation ของ พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ ในงานประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 5 วันที่ 3 กันยายน 58